เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ ให้มีความกระชับได้ใจความสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดีจะเป็นจุดดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจที่จะหยิบวิทยานิพนธ์เล่มนั้นขึ้นมาอ่าน ซึ่งการที่ตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ไม่ซ้ำกับคนอื่น มีการตั้งชื่อที่ชัดเจนสอดคล้องกับสาขาที่ศึกษา จะทำให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านน่าอ่านมากยิ่งขึ้น เทคนิคในบทความนี้จึงที่จะมาเป็นตัวช่วยใหม่ ในการตั้งชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้วิทยานิพนธ์การตั้งหัวข้อสมบูรณ์แบบมากขึ้น

ภาพจาก pexels.com

วิธีง่ายๆ สำหรับการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

1.ความสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน

ตัวของผู้วิจัยเองต้องรู้ตัวเองว่าสาขาที่เรียนมีหัวข้ออะไรบ้างที่น่าสนใจ เหมาะสมที่จะนำมาศึกษา การตั้งชื่อเรื่องหรือไม่ จึงเป็นแนวทางในการตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบโดยใช้กระบวนการวิจัยนั้นเอง และส่วนประกอบของชื่อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสาขาวิชาที่ที่วิจัยเรียนมานั่นเอง

2.การสะท้อนปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา

ก่อนที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ จะต้องรู้ปัญหาที่ต้องการอยากจะรู้ ซึ่งก่อนมีการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้นั้น ท่านต้องทำการศึกษาหรือทฤษฏีที่จะนำมาศึกษามาก่อนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเด็้นที่จะศึกษา และใช้ประเด็นดังกล่าวในการประกอบการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าo

3.หัวข้อต้องมีความทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์

การเลือกหัวข้อให้ทันสมัย เป็นอีกปัญหาที่ต้องพอเจอ สำหรับคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องเลือกหัวข้อที่กำลังเป็นประเด็นปัญหาที่ร้อนแรงอยู่ ณ ตอนนั้นเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการดึงดูดให้คนทั่วไปหันมาสนใจงานของท่าน

4.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการศึกษาให้ชัดเจน 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรบางส่วนที่ท่านสนใจจะศึกษา ส่วนพื้นที่ในการศึกษา คือ ขอบเขตของงานที่จะศึกษา ท่านสามารถนำกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่ในการศึกษาไประบุต่อท้ายในหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่านได้ เพื่อให้หัวข้อข้อวิทยานิพนธ์มีความชัดเจนในขอบเขตการทำงานมากยิ่งขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

5.การลงมือทำได้จริง

หัวข้อวิทยานิพนธ์ควรที่จะตั้งอยู่บนความเป็นจริง และเกิดปัญหานั้นขึ้นจริง  เช่น การตั้งหัวข้อชื่อเรื่อง “ความสัมพันธ์การใช้อำนาจบริหารของผู้นำในองค์กรบริษัท  ABC จำกัด (มหาชน)” ซึ่งการตั้งหัวข้อเช่นนี้ ผู้วิจัยสามารถลงมือทำหัวข้อวิทยานิพนธ์นี้ได้จริง เนื่องจากเกิดปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงต้องศึกษาสาเหตุปัญหา และสัมภาษณ์ทั้งพนักงานฝ่ายปฏิบัติว่าอยากได้ผู้นำในรูปแบบไหน และสัมภาษณ์ผู้นำว่ามีการสร้างสัมพันธ์ในสถานที่ทำงานอย่างไร ซึ่งนำมาถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การตั้งหัวข้อชื่อเรื่องดังกล่าวจึงเกิดขึ้น   

จึงสรุปได้ว่า การมีเทคนิคการตั้งหัวข้อที่ดี ถือว่าตัวของผู้วิจัยเองมีความรู้ในเรื่องที่ศึกษา และยังเป็นการลดเวลาในการทำส่วนอื่นๆ ซึ่งทำให้งานเสร็จทันเป็นไปตามแผนการของผู้วิจัย ตรงตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การตั้งชื่อวิทยานิพนธ์ต้องมีความน่าสนใจ มีความเฉพาะตัวของเรื่องที่ทำการศึกษา แต่ต้องไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป และหัวข้อตรงบ่งชี้ถึงสาระสำคัญได้อย่างชัดเจน

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *