อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี แก้ไขปัญหาอย่างไรดี?

ภาพจาก pexels.com

หลายครั้งที่ทางทีมงานมักจะได้ยินคำบ่นปนเสียงท้อ ของนักศึกษาระดับปริญญาโทเสมอว่า “ที่ปรึกษาผมไม่ค่อยสนใจเลย ไม่เคยชี้แนะแนวทางอะไรในงาน บางครั้งทำให้คลุมเครือ จนคุยกันไม่ได้ เพราะท่านไม่ฟังแนวคิดของผมเลย บางครั้งส่งงานไปท่านก็ไม่อ่าน บางครั้งนัดเจอเพื่อคุยงานก็ทำให้รู้เลยว่าไม่ได้ดูงานที่ส่งไปเลยครับ”

ดังนั้นการที่จะทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีความรู้ที่เพียงพอในเรื่องวิทยานิพนธ์ก็จำเป็นที่จะต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ ไว้คอยให้คำปรึกษาในขั้นตอนต่างๆ เช่น การนำเสนอร่างวิทยานิพนธ์ การเก็บข้อมูลวิจัย การสรุปผลการวิจัยให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา รวมไปถึงการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งขั้นตอนการแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นที่นักศึกษาต้องการได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษา นักวิจัยมือใหม่ที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่อาจจะพบเจอปัญหาตามที่ได้เกริ่นนำเรื่องมาข้างต้น คือ การเจออาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ดี ทำให้มีความเห็นต่องานที่ไม่ตรงกัน ทำให้เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ในการทำวิทยานิพนธ์จึงไม่รู้ว่าควรที่จะแก้ไขตรงไหนดี แล้วจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถชี้แนะแนวทางให้งานวิทยานิพนธ์ของเราให้ผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งบทความนี้จะพาท่านมาหาคำตอบที่สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาเมื่อพบเจออาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีกันค่ะ

วิธีการแก้ปัญหาอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี

1. ต้องเริ่มแสวงหาความรู้ด้วยตนเองก่อน

ในขั้นตอนแรกตัวของผู้วิจัยควรที่จะศึกษาทำความเข้าใจกับระเบียบของสถาบันทางการศึกษาของผู้วิจัยทำการศึกษาอยู่เสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของงานวิจัยที่ต้องการทำ และจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลให้ครบถ้วน สำหรับเตรียมตัวที่จะเข้าพบเพื่อพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ว่าท่านยังพบปัญหาใดบ้างในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ที่ปรึกษา จากประเด็นที่ผู้วิจัยยังไม่สามารถเข้าใจเองได้ ดังนั้นในการขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในด้านการเขียนงานวิชาการมากกว่าตัวท่านเอง ผู้วิจัยจึงไม่ควรมีอคติหรือตั้งความคิดของตัวเองเป็นหลัก และควรที่จะทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อจะได้นำมาพัฒนาต่อยอดวิทยานิพนธ์ที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของมหาลัยในการผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ  คือ  

– การสร้างผู้ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และรักการเรียนรู้

– การสร้างผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน

– การสร้างผู้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์

– การสร้างผู้มีความสามารถในการสื่อสารทั้งในการพูด เขียน การนำเสนอ

– การสร้างผู้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ซึ่งบางครั้งอาจารย์ที่ปรึกษาอยากจะให้ท่านได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองก่อน เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่ใช่มัวแต่จะคอยถามอาจารย์ที่ปรึกษาทุกอย่างโดยไม่เคยสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเองก่อนเลย อาจารย์ที่ปรึกษาท่านจึงให้คำปรึกษาแบบเปิดกว้าง เพื่อให้ท่านได้นำข้อมูลที่ค้นหามาคิดต่อยอดในงานวิทยานิพนธ์ของท่านเอง แต่กระนั้นแล้วหากท่านเกิดปัญหาในขณะทำวิทยานิพนธ์จริงๆ โดยที่หาคำตอบแล้วยังไม่เข้าใจในคำตอบนั้น แล้วอยากให้ที่ปรึกษาอธิบาย ท่านควรลิสรายการข้อปัญหาต่างๆ ที่ท่านพบเจอในการทำวิทยานิพนธ์ออกมาเป็นรายการ และทำการนัดขอพบเจอท่านหรืออีเมลหาท่านเพื่อหาคำตอบในครั้งนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาระหว่างท่านและอาจารย์ที่ปรึกษาในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ และการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ดีให้แก่ผู้วิจัยเองอีกด้วย 

ภาพจาก pexels.com

2. เชื่อมั่นในประสบการณ์ของอาจารย์ที่ปรึกษา  การที่อาจารย์ท่านหนึ่งจะสามารถมาเป็นที่ปรึกษาได้นั้น ท่านจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่พร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และบุคลิกภาพเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานวิชาการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความรู้ ติดตามวิทยาการและรู้แหล่งข้อมูลในศาสตร์นั้นๆ เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่อง/หัวข้อที่ดูแล จนสามารถแสดงจุดยืนหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะให้นักศึกษาประจักษ์ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรเชื่อมั่น และรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิมากกว่าผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นตัวช่วย และปรับใช้ในกระบวนการวิจัยของผู้วิจัยให้เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

3. ไม่ควรที่จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียว

การมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวในการทำวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่อาจจะไม่ใช่ทางออกเส้นทางเดียวของท่านก็เป็นได้ หากความรู้ของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักยังไม่สามารถสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและการศึกษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการให้ข้อมูลในหัวข้อที่ท่านกำลังศึกษาอยู่อาจไม่ครอบคลุมประเด็นที่เพียงพอต่อการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ จึงเป็นปัญหาระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ได้  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าท่านได้ที่ปรึกษาร่วมที่มีความรู้ตรงกับหัวข้อที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่ เพื่อนำความรู้และข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมมาสนับสนุนข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ของท่านให้สมบูรณ์ และมีหนักมากขึ้นได้ เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาหลักอาจจะมีความคิดเห็นบางสิ่งที่ไม่สอดคล้องหรือแก้ไขปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ของท่านได้ วิธีแก้ไขคือการนำเอาความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาอีกท่านนำมาช่วยสนับสนุนงานข้อมูลเดิมของท่าน ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ดีขึ้นมาได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นอีกวิธีที่เข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์ในเรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีขึ้นมาได้บ้าง ทั้งตัวผู้วิจัยและตัวของอาจารย์ที่ปรึกษาเองก็ควรที่จะมีการปรับทัศนคติมุมมองในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและนำความคิดเห็นมาพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างไม่มีอคติหรือทิฐิได้อีกทางหนึ่ง

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *