ในการว่าจ้างทำการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ เป็น 4 ประเด็นคำถามที่ใครหลายๆ คนอาจกำลังประสบพบเจออยู่ ณ ตอนนี้ ต้องการหาทางออก แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นหรือตั้งคำถามยังไง
1. ไม่ใช่แค่ไม่มีเวลา แต่ไม่เข้าใจกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทำให้อธิบายสถิติไม่ได้ ทำไงดี?
ไม่ว่าจะดำเนินกิจกรรมใดๆ ปัจจัยและข้อจำกัดหลักๆ ก็คือ “เวลา” แต่จริงๆ แล้วเวลาก็อาจจะไม่ใช่ปัญหาหลักเสมอไป
ซึ่งในไวข้อนี้ปัญหาคือเรื่องความรู้และพื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ที่ไม่มีเข้าใจและไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อน อาจลองทำตามขึ้นตอน เทคนิคที่ระบุตามสื่อการสอนต่างๆ ก็ยังไม่เข้าใจ และไม่สำเร็จ และทำให้เสียเวลามาก
หรืออาจทำการวิเคราะห์ออกมาแล้ว แต่กลับไม่เข้าใจผลการวิเคราะห์ที่ทำ ไม่สามารถอ่านค่าที่แปรผลได้ ส่งผลทำให้ไม่สามารถอธิบายสถิติที่แปรออกมาได้ ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลต่ออาจารย์ที่ปรึกษาในงานวิจัยของคุณให้เข้าใจได้ สร้างความไม่มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้ทำการวิเคราะห์นั้นถูกต้องหรือไม่ และสามารถนำไปใช้ตอบคำถามในการวิจัยได้หรือไม่
2. หากต้องการว่าจ้างวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ แต่เห็นราคาค่อนข้างสูง มีเงื่อนไขในการประเมินราคาจากอะไร?
เรื่อง “ราคา” นั้นนับว่าเป็นปัญหารองลงมา โดยการประเมินราคาในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น มีเงื่อนไขการประเมินตามเนื้อหาข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ หากเป็นสถิติขั้นสูง ราคาในการประเมินก็จะมีราคาสูงตาม และที่สำคัญคือระยะความเร่งด่วนในการกำหนดส่งงานซึ่งราคาจะสูงขึ้นมากกว่าปกติ
ในส่วนราคาค่าบริการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติ ทางบริษัทฯ ประเมินราคาตามความเหมาะสมกับคุณภาพกับผลงานที่ทำ ระดับการศึกษา และระยะเวลากำหนดรับงาน
3. ต้องใช้ระยะเวลาในการวิเคราะห์กี่วัน นานไหม วิเคราะห์เสร็จแล้วมีการสอนหรืออธิบายเพิ่มไหม?
ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิตินั้น จะมีระยะเริ่มทำการวิเคราะห์ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป แต่ไม่เกิน 30 วัน และขึ้นอยู่กับความเร่งด่วนในการว่าจ้าง ยิ่งมีระยะในการวิเคราะห์ที่มากและเหมาะสมจะส่งผลให้ได้รับข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น
เพราะในขั้นตอนการวิเคราะห์นั้นมีความซับซ้อนอยู่หลากหลายขั้นตอน ต้องใส่ใจทุกรายละเอียด และการตรวจทานซ้ำ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสถิตินำไปใช้ในการตอบคำถามการวิจัยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และสมบูรณ์มากที่สุด
4. แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่าข้อมูลที่ทำการวิเคราะห์มีประสิทธิภาพ?
ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่มีประสิทธิภาพนั้นสามารถวัดได้จาก ข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์แปรผลจะต้องตรงตามวัตถุประสงค์และสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ ทำการวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือที่ได้กำหนดไว้ สามารถนำข้อมูลทางสถิตินั้นมาชี้แจง และใช้ในการตอบคำถามในการวิจัยได้อย่างชัดเจน
ไม่เพียงแค่คำถามที่ 4 ประเด็นที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเท่านั้น ยังมีคำถามที่เกิดจากปัญหาในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการวิจัยอีกมากมายที่ต้องเผชิญ แต่ไม่ว่าจะเป็นคำถามที่ก่อให้เกิดปัญหามากมายแค่ไหน ขอให้เชื่อเถอะว่า “ทุกปัญหานั้น มีทางออกเสมอ”
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)