ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจาการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องจัดทำ คือ การค้นคว้าอิสระ หรือการทำ is (independent study)
ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคการตั้งหัวข้อ is อย่างไรถึงผ่านง่าย เป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง
พบ 4 เทคนิคตั้งหัวข้อ is ตั้งอย่างไรถึงผ่านง่าย
เทคนิคที่ 1 คิดหัวข้อจากปัญหาและความสงสัยในเรื่องที่ตนเองสนใจ
การตั้งหัวข้อ is เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว หรือมีสิ่งที่คุณสงสัยต้องการหาคำตอบของเรื่องนั้นๆ โดยเริ่มต้นจากตัวของผู้ที่จะทำนั่นเอง หัวข้อที่ดีต้องไม่ซ้ำกับเรื่องที่มีผู้ทำก่อนนี้แล้ว เนื่องจากจะไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาของตนเองที่ต้องการรู้ได้
ซึ่งบางครั้งมีผู้ตั้งหัวข้อนั้นๆ ไว้ก่อนแล้ว แม้ว่าจะสนใจอยากจะทำเรื่องนั้นๆ มากเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากจะทำให้ไม่ได้แนวความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการตั้งหัวข้อ is นั้น เป็นการลดคุณค่าของการทำ is ที่จะทำด้วย
เทคนิคที่ 2 ชื่อเรื่องที่แปลกใหม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การตั้งหัวข้อ is นอกจากจะเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจและคิดขึ้นมาเองแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่ หัวข้อที่แสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เมื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้แล้ว แสดงให้เห็นได้ว่าจะมีองค์ความรู้ใหม่ แนวคิด ทฤษฎีใหม่เกิดขึ้น
ดังนั้น หัวข้อที่มีความแปลกใหม่และแตกต่างจากเรื่องที่เคยมีผู้ทำมาแล้ว มีโอกาสที่จะทำให้การเสนอหัวข้อ is ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการขออนุมัติได้ง่ายขึ้น เพราะการตั้งหัวข้อแบบเดิมๆ ที่มีคนทำมาแล้วไม่สามารถดึงดูดความสนใจและเห็นความแตกต่างจึงทำให้มีโอกาสผ่านการอนุมัติได้ยาก
เทคนิคที่ 3 หัวข้อเรื่องต้องมีความชัดเจนว่าต้องการค้นคว้าอะไร
หัวข้อการทำ is จะต้องกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นคว้าให้ชัดเจน เช่น ศึกษาอะไร มีกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่ ทำที่ไหน อย่างไร ระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้ามีว่าอย่างไรบ้าง
หัวข้อ is ที่มีความชัดเจนตั้งแต่แรก จะนำไปสู่การศึกษาค้นคว้าแบบมีแบบแผน มีหลักการและมีขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อถึงเวลาดำเนินการจริง สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามหลักกระบวนการตามหลักวิชาการ การศึกษาค้นคว้าจะไม่สับสนวกวน ช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินการ
เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางที่กำหนดแผนการในการทำงานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากไม่มีแนวทางที่ดีและชัดเจน ในการลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความสับสน ทำงานซ้ำซ้อนไปมา ทำให้เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ ยิ่งกว่านั้นอาจจะต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ทำให้งบประมาณที่ใช้เกินความจำเป็น และระยะเวลาในการทำ is ล้าช้าตาม
ดังนั้นการตั้งหัวข้อ is จึงต้องชัดเจนว่าจะทำอะไร เกี่ยวข้องกับอะไร มีแนวทางอย่างไรตั้งแต่แรก เพื่อตัดปัญหาต่างๆ ที่จะตามมา
เทคนิคที่ 4 เป็นหัวข้อเรื่องที่มีประโยชน์ และสร้างคุณค่า
การตั้งหัวข้อการทำ is นอกจากเป็นเรื่องที่ทำเพื่อให้จบการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว สิ่งที่บ่งบอกว่างานศึกษาค้นคว้านั้น เป็นเรื่องที่ทำแล้วไม่สูญเปล่า คือ เป็นเรื่องที่สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคม และประเทศชาติ สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาสังคมให้ดีขึ้น
หัวข้อเรื่องมีความสำคัญอย่างยิ่งจะต้องมองให้เห็นผลลัพธ์ในด้านประโยชน์จากการศึกษาในเรื่องที่ทำ ว่าจะส่งผลต่อคนในสังคมให้ได้รับประโยชน์จากเรื่องที่ทำด้วยหรือไม่
หากการตั้งหัวข้อการทำ is โดยที่ไม่คำนึงผลลัพธ์และประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาแล้ว การศึกษาค้นคว้าในครั้งนั้นๆ คงเป็นแค่การรวบรวมข้อมูลใส่กระดาษแล้วนำมารวมเล่มกันเท่านั้น การศึกษานั้นไม่มีคุณค่าใดๆ เลยก็ว่าได้
การตั้งหัวข้อการทำ is เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะนำทางไปสู่การค้นพบคำตอบที่ตนเองต้องการรู้ หากหัวข้อที่จะศึกษามีความถูกต้องตามหลักวิชาการ มีความชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร ชัดเจนเรื่องระเบียบวิธีวิจัย จะทำให้มีความเป็นระบบระเบียบในการดำเนินการ และบรรลุตามความต้องการของผู้ทำ
รวมทั้งการตั้งหัวข้อ is จะต้องยึดหลักความมีประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ทำเอง และสังคม ประเทศชาติด้วย โดยเมื่อดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นหัวข้อที่สามารถนำมาปรับใช้ในการช่วยแก้ปัญหาสังคมให้ดีขึ้นได้อีกทางหนึ่งด้วย
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)