ยังคงเป็นข้อสงสัยของหลายๆ คน ถึงความต่างที่ว่า…
สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์นั้นแตกต่างกันอย่างไร?
สารนิพนธ์นั้นยากหรือง่ายกว่าวิทยานิพนธ์อย่างไร?
บทความนี้ เราจะช่วยไขข้อข้องใจที่ถึง 3 ความแตกต่างที่จะทำให้คุณเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
วิทยานิพนธ์ Thesis
งานวิทยานิพนธ์ คือ การศึกษาค้นคว้างานวิจัย หรือการเขียนงานวิชาการที่ผู้เรียนในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต
สารนิพนธ์ (Independent Study)
สารนิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ (IS) คือ การศึกษาวิจัยอิสระโดยการค้นคว้าทำความเข้าใจกับความรู้นั้น ๆ แบบไม่จำกัดรูปแบบของการศึกษา กลั่นกรองความรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว นำมาสรุปใหม่ให้อยู่ในหัวข้อเรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน และ ศึกษาได้ง่ายกว่า
ฉะนั้น สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์นั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของ…
แนวคิด (Concept) และ ตัวแปร (Variable) ที่ใช้ในการวิเคราะห์
ในการทำงานสารนิพนธ์จะศึกษาแนวคิด (Concept) หรือตัวแปร (Variable) ที่มักจะมีตัวแปรต้น 2 ตัวแปร หรือตัวแปรตาม 1 ตัวแปร ให้เหมาะกับการใช้สถิติ หรือการวิเคราะห์อย่างง่าย
และงานวิทยานิพนธ์นั้นจะศึกษาแนวคิดความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship) และมีจำนวนตัวแปรที่มากกว่าสารนิพนธ์ ซึ่งมักจะมี 4-5 ตัวแปรขึ้นไป และจะมีการใช้สถิติที่ซับซ้อนในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น T-test independent และหรือ F-test
และในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นั้น จะมีความเข้มข้นของความถูกต้อง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) ที่แตกต่างกัน
ความเข้มข้นในการตั้งโจทย์คำถามการวิจัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ
ในขั้นตอนของกระบวการวิเคราะห์งานวิทยานิพนธ์ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีความสอดคล้องงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ฉะนั้นในการตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย (Research Question) เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องมีความถูกต้องเหมาะสม
คำถามที่ตั้งควรเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง เพราะการทำงานนิพนธ์คือการหาคำตอบเพื่อใช้ในการคำถามการวิจัยในประเด็นหัวข้อปัญหาที่ได้ตั้งไว้ให้ครบถ้วน หากตั้งคำถามในการวิจัยไม่ชัดเจนหรือมากเกินไป คำตอบที่ได้รับอาจจะไม่ชัดเจนหรือหลาดเคลื่อนได้เช่นกัน
อีกทั้งคำถามที่ตั้งนั้นจะต้องมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลการวิจัย ซึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะมี 2 ประเภท คือ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการวัดผล คือมาตรประมาณค่า (Rating Scale) และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ (Interview Form) เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล
ดังนั้นการตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัยสำหรับการเก็บข้อมูลงานวิทยานิพนธ์จึงมีความเข้มข้นกว่างานสานิพนธ์ หรือการทำ IS เป็นอย่างมาก เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ที่ได้ทำการศึกษานั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการแก้ไขปัญหาได้จริง
ประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาที่แตกต่างกัน
หากคุณต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก คุณควรจะเลือกทำงานวิทยานิพนธ์ เพราะกระบวนการศึกษางานวิทยานิพนธ์มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ต้องค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ในการสนับสนุนเนื้อหางานที่แน่นหนา ทำให้ผู้ศึกษามีความรู้เพิ่มพูนมากขึ้นเป็นที่ยอมรับทางวิชาการ จึงทำให้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกได้ง่ายกว่า
เพราะกระบวนการในการศึกษาค้นคว้าสารนิพนธ์นั้นไม่ไม่ซับซ้อนและยุ่งยาก ทำให้จบง่าย แต่จะทำให้ผู้ศึกษาไม่ได้รับประสบการณ์ในการศึกษางานวิจัยที่เต็มที่ และอาจไม่ได้รับการยอมรับ หากต้องทำหน้าในที่ทางวิชาการ
ดังนั้น สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์ แตกต่างกันอย่างเป็นได้ชัดคือ หลักการของการทำงานสารนิพนธ์สารนิพนธ์จะมีเฉพาะในบางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อในหลักสูตรต่างๆ และจะต้องทำการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการเช่นเดียวการทำงานวิทยานิพนธ์ ซึ่งอาจจะมีกระบวนการในการศึกษาวิจัยที่ไม่ซับซ้อนหรือเข้มข้นเท่ากับการทำงานวิทยานิพนธ์
แม้ความเข้มข้นในกระบวนการวิจัยจะแตกต่างกัน แต่มุ่งเน้นไปคำตอบของการวิจัยที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)