การตั้งหัวข้อวิจัย คือ ด่านแรกที่ผู้วิจัยส่วนใหญ่จะต้องประสบปัญหาพบเจอ และติดปัญหามากที่สุด เพราะขาดความรู้ในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา และแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
ซึ่งในบทความนี้ ทางเรามี เทคนิคการตั้งหัวข้อวิจัย ที่นักวิจัยมืออาชีพเลือกใช้มานำเสนอ ที่จะทำให้คุณใช้เป็นแนวทางในการตั้งหัวข้อวิจัยสำหรับการนำเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา ก่อนเริ่มทำงานวิจัย
พบกับ “2 เทคนิคง่ายๆ ที่นักวิจัยมืออาชีพเลือกใช้ คือ…”
เทคนิคที่ 1: การตั้งหัวข้อที่เกิดจากตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างประเทศ
สิ่งแรกที่นักวิจัยมืออาชีพเลือกใช้ในการตั้งหัวข้อวิจัยคือ การตั้งหัวข้อจากตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ ที่เขามีการศึกษาค้นคว้าผลการวิจัยเรียบร้อยแล้ว และมีการนำข้อเสนอแนะมาเผยแพร่ว่าควรจะศึกษาวิจัยต่อยอดใน ประเด็นใด? เรื่องไหน? อย่างไร?
การตั้งหัวข้อวิจัยจากข้อเสนอแนะเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยมือใหม่สมควรจะทําการศึกษาค้นคว้า เพื่อนํามาคิดเป็นประเด็นในการตั้งเป็นหัวข้อวิจัย ในการที่จะศึกษาต่อยอดจากงานวิจัยเรื่องดังกล่าว หรือประเด็นปัญหาอื่นที่สอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาพัฒนาต่อยอด ปรับปรุงเป็นหัวข้อวิจัยของตนเอง
เนื่องจาก ทฤษฎีหรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการสนับสนุนตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนั้น มีขอบเขตด้านเนื้อหาที่จะทําเป็นตัวอย่างอ้างอิงในการสนับสนุน และสังเคราะห์อย่างเพียงพอ
ซึ่ง เทคนิคนี้มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งสําหรับการตั้งหัวข้อวิจัย และทําให้สามารถประหยัดเวลาในการศึกษาได้ง่ายเป็นอย่างยิ่ง
เทคนิคที่ 2: ศึกษาจากสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อนำมาต่อยอดกับงานวิจัย
และเทคนิคที่ 2 คือ การศึกษาค้นคว้าต่อยอดจากสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อนำมาต่อยอดงานวิจัยที่กำลังสนใจอยู่ก่อนแล้ว
โดยศึกษาจากปัญหาสถานการณ์ปัจจุบัน หรือปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในทุกช่วงขณะ
เนื่องจาก ปัญหานั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และพร้อมที่จะต้องใช้กระบวนการวิจัยมาทำการศึกษา และพัฒนาปรับปรุงแก้ไขเพื่อดําเนินการแก้ไขสถานการณ์
ดังนั้น การกําหนดหัวข้อวิจัย จึงสามารถที่จะเลือกจากสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้
อาทิเช่น ช่วงสถานการณ์ของ ‘ไวรัสโคโรน่า’ หรือ ‘โควิด-19’ จะสามารถตั้งหัวข้อวิจัยได้อย่างไรบ้าง?
ในสถานการณ์นี้ผู้วิจัยควรจะศึกษาเกี่ยวกับ “ความตระหนักของประชาชนต่อการป้องกัน ‘ไวรัสโคโรน่า’ หรือ ‘โควิด-19’ ในเขตกรุงเทพมหานคร” หรือ ในเขตพื้นที่อื่นๆ
เพื่อที่จะนำผลการวิจัยดังกล่าว ไปพัฒนาต่อยอด ในการประยุกต์ใช้สำหรับการป้องกันเชื้อไวรัส หรือการแพร่ระบาดของ ‘ไวรัสโคโรน่า’ หรือ ‘โควิด-19’
จากตัวอย่างปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันเป็นปัญหาที่สามารถเก็บกลุ่มตัวอย่างได้อย่างครอบคลุม เพราะ ทฤษฎีที่เกี่ยวกับ ‘การตระหนักรู้’ นั้น มีการศึกษาวิจัยไว้เป็นจำนวนมากอยู่
ฉะนั้น หากเราต้องการศึกษาต่อยอดเกี่ยวกับทฤษฎีการตระหนักรู้ เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบันจะทําให้สามารถทำการกําหนดหัวข้อวิจัยที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีทฤษฎีสังเคราะห์อย่างเพียงพอ
สําหรับ 2 เทคนิค การตั้งหัวข้อ ที่ทางเราได้แนะนําไปข้างต้นนี้ เป็นเทคนิคที่นักวิจัยมืออาชีพส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้ในการตั้งหัวข้อวิจัย…