ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งถือว่าเป็นการยืนยันการ Save ข้อมูล SPSS ที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ เมื่อกดปุ่ม Save แล้วคุณสามารถปิดโปรแกรมได้ทันทีหากไม่ได้ใช้แล้ว
ในการ Save ข้อมูล SPSS ทุกครั้งสิ่งที่หลายๆ คนมักพลาดคือการเพิ่มเติมข้อมูลแล้วไม่กดปุ่ม Save ทับ ดังนั้นสิ่งที่ควรสังเกตทุกครั้งคือ หากพบว่าปุ่ม Save ในโปรแกรม SPSS ยังเป็นสีฟ้าอยู่แสดงว่าคุณยังไม่ได้ Save งาน นั่นเอง
ถ้าพูดถึงสถิติ T – test หลายคนๆ คงจะคุ้นๆ หู กับคำว่า T – test dependent และ T – test independent กันมาบ้างแล้ว
ในบทความนี้จะมาบอกถึงความแตกต่างของสถิติ T – test ทั้ง 2 ตัวนี้ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และ สถิติ T – test dependentกับ สถิติ T – test independent ควรนะไปใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง โดยสามารถแยกย่อยเป็น 2 ประเด็น ดังนี้…
1. สถิติ T – test dependent
สถิติ T – test dependent เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ในกลุ่มเดียวกัน ที่มีขนาดน้อยกว่า 30 คน (n<30) ส่วนใหญ่จะใช้ในงานวิจัยเชิงทดลอง
และในบางครั้ง สถิติ T – test dependent สามารถเรียกอีกชื่อว่า “สถิติ Paired Samples T-test” สาเหตุนี้มากจาก Paired Samples T-test นั้นเป็นชื่อคำสั่งบนแถบเมนูในโปรแกรม SPSS เวลาที่ผู้วิจัยเริ่มทำการวิเคราะห์สถิติ T – test dependent ซึ่งเป็นภาษาที่นักวิจัยพูดกันเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน นั่นเอง
ดังนั้น สถิติ T – test dependent ส่วนใหญ่จะใช้ในงานวิจัยของ สาขาวิชาครูทุกสาขาวิชา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์บางสาขาวิชา ที่ต้องมีการเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลอง เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการทำงาน
สูตรของสถิติ T – test dependent จึงสามารถแสดงได้ ดังนี้
2. สถิติ T – test independent
ส่วน สถิติ T – test independent เป็นสถิติที่ใช้ในการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน โดยข้อตกลงเบื้องต้นของสถิตินี้ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มจะต้องไม่สัมพันธ์กันหรือเป็นอิสระต่อกัน อีกทั้งค่าของตัวแปรตามในแต่ละหน่วยต้องเป็นอิสระต่อกัน
ส่วนใหญ่ผู้วิจัยจะเห็นการใช้ สถิติ T – test independent ได้ในทุกสาขาวิชา เช่น การเปรียบเทียบปัจจัยประชาศาสตร์ ด้านเพศ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในเซเว่น สาขาบางนา แตกต่างกัน
สูตรของสถิติ T – test independent จึงสามารถแสดงได้ ดังนี้
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สถิติ T – test dependent และ T – test independent แตกต่างกันที่ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ความเป็นอิสระของตัวแปร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน