ภาพจาก www.pixabay.com
ในปัจจุบันการที่จะเข้าถึงการศึกษาในระดับปริญญาโทไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ง่าย เมื่อคุณมีความพร้อมในด้านเวลา และมีทุนทรัพย์สำหรับการเรียนที่เพียงพอต่อการศึกษา คุณก็สามารถเลือกแผนการศึกษาได้ตามความสนใจทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ซึ่งสถาบันการศึกษาทุกหลักสูตรจะมีการกำหนดให้ตัวผู้เรียนต้องสร้างผลงานทางวิชาการอย่างน้อยๆ 1 ชิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปพัฒนาประเทศ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แต่หลายๆ คนก็ต้องเสียน้ำตาให้กับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท อาจเป็นเพราะระยะเวลาที่จำกัดในการทำวิทยานิพนธ์ ติดภาระจากงานที่รับผิดชอบอยู่ หรือแม้กระทั่งปัญหาที่กวนใจหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่องวิจัยที่ไม่ชัดเจน การตั้งคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ไม่ตรงประเด็น การทบทวนวรรณกรรมที่ปีเก่าเกินไป แบบสอบถามที่ยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย จนต้องรื้อเล่มวิทยานิพนธ์ทำใหม่ ทำให้เราเสียเวลาไปกับการทำวิทยานิพนธ์ จนไม่เสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เขียนจึงมีเคล็ดลับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่ไม่ยากอย่างที่คิดมาสรุปให้อ่านดังนี้
ภาพจาก www.pixabay.com
ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าวิทยานิพนธ์นั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ส่วนนำของเรื่อง ส่วนของเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบท้ายเรื่อง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบผู้เขียนจะสรุปและให้เคล็ดลับแทรกเข้าไปเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ นะคะ
ภาพจาก canva.com
1. ส่วนนำของเรื่อง (Preliminary Section)
จะมีองค์ประกอบได้แก่ ปกนอก ใบรองปก และปกใน และมีส่วนที่สำคัญในส่วนนำ คือ บทคัดย่อจะเป็นส่วนที่สรุปของวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะกล่าวถึงสาเหตุของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย และข้อเสนอแนะแบบย่อ จะทำการจัดพิมพ์ในรูปแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรที่จะทำแบบแยกหน้ากัน ต่อมาจะตามด้วยสารบัญเนื้อหา สารบัญตาราง และสารบัญภาพ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนท้ายสุดที่เราจะทำเมื่อส่วนของเนื้อความเสร็จแล้ว
บทที่ 1 บทนำ (Introduction) ควรเขียนให้เห็นถึงประเด็นที่สำคัญของเนื้อเรื่องว่าเรื่องที่คุณสนใจนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้ก่อเกิดปัญหาจนทำให้นำมาทำการวิจัยพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนประกอบของบทนำความที่จะมีเนื้อหาในการนำเสนอดังนี้
ที่มาและความสำคัญ เป็นการกล่าวถึงสาเหตุ หรือที่มาของการศึกษาค้นคว้าวิจัย บอกถึงปัญหาที่ต้องจะทำ
คำถามของการวิจัย กำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบของคำถาม ซึ่งนำไปสู่การหาวิธีแก้ไขปัญหา กำหนดคำถามให้ชัดเจนไม่กำกวมเขียนจากสภาพความเป็นจริง และสื่อถึงปัญหาโดยตรง
วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ มีการวัดประเมินระบุสิ่งที่ต้องกดำเนินการให้ชัดเจนมีความเป็นเหตุเป็นผล มีขอบเขตในเรื่องของเวลาที่แน่นอน
สมมุติฐานการวิจัย บรรยายสรุปโดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่คุณจะทำการศึกษาพร้อมนำเสนอประเภทของงานออกแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา ต้องมีความสอดคล้อง หรือเหมาะสมที่จะใช้ทฤษฏีเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหาอย่างไร
ขอบเขตของการวิจัย ให้พิจารณาจากปัญหา และวัตถุประสงค์ที่ทำการศึกษาเรื่องนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องกำหนดจำนวนเรื่องที่จะทำเป็นสิ่งอ้างอิงหรือยืนยันได้ว่าผลของการศึกษาเรื่องนั้นมีความน่าเชื่อถือ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การเขียนในเรื่องนี้ให้พิจารณาจากการเขียนวัตถุประสงค์เป็นข้อๆ หรือเขียนพรรณนาไม่ต้องแบ่งเป็นข้อก็ได้
นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการกำหนดคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยขึ้นมา ให้ความหมายเฉพาะเจาะจงกับประเด็นของงานที่ทำ และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย
กรอบแนวคิดการวิจัย ผลจากการสรุปการศึกษา และทดลองทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับปัญหา
บทที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Literature) เป็นการที่ผู้เขียนสรุปผลการศึกษาของงานวิจัยที่คล้ายกับเรื่องที่จะศึกษามาสอดคล้องให้เห็นถึงปัญหา และวิธีพัฒนาในแต่ละแบบของงานวิจัย ซึ่งแต่ละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะมีประเด็นการศึกษา และพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถหยิบยกเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัยของเรามาวิเคราะห์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการที่จะเขียนบทที่ 2 นั้นมีอยู่ 3 ส่วนดังนี้
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะทำประวัติของเรื่องนั้นๆ ข้อมูลของประเด็นปัญหาที่เกี่ยวของกับระบบงานที่จะศึกษา
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือกลุ่มของความสัมพันธ์ของแนวคิดนิยาม และองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างๆ โดยจะเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิจัยเป็นงานที่สำคัญของผู้วิจัยที่มีประสบการณ์จะทำเป็นสิ่งแรกเมื่อได้ปัญหาวิจัยมาผลจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่านักวิจัยท่านอื่นๆ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาวิจัยของตนไว้อย่างไรบ้าง งานที่นักวิจัยท่านอื่นเคยทำมาก่อนนำมาอ้างอิงกับการศึกษาของตนเอง
บทที่ 3 วิธีการวิจัย (Research Methodology) เป็นการอธิบายวิธีขั้นตอนในการทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดว่าต้องใช้เครื่องมืออย่างไร รวมไปถึงการอธิบายถึงขั้นตอนการคำนวณต่างๆ ในส่วนของบทที่ 3 จะเป็นขั้นตอน การกำหนดปัญหา วางแผนออกแบบ กำหนดกลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลสรุป และรายงาน ตีความหมาย แล้วจึงจะทำการเขียนรายงานการวิจัยถือว่าเป็นการเสร็จงานในขั้นตอนของบทที่ 3 อย่างสมบูรณ์
บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลการวิจัยให้ชัดเจนโดยอาจจะใช้ กราฟ ตาราง หรืออื่นๆ ที่เหมาะสม การเขียนบทที่ 4 ให้กำหนดหัวข้อตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ใบบทที่ 1 โดยจะต้องเสนอผลไปตามลำดับของวัตถุประสงค์ โดยการเขียนจะเป็นแบบบรรยายให้เข้าใจง่าย การเขียนข้อมูลในบทนี้จะเป็นการนำไปใช้สำหรับการสร้างสรรค์การออกแบบเพื่อเป็นการแก้ปัญหาตามโจทย์ของการวิจัย
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions Discussion and Recommendations) ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษามาทั้งหมดโดยจะต้องอ้างอิงถึงวัตถุประสงค์ อ้างอิงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงเสนอแนะแนวทางเพื่อการศึกษาวิจัยในเรื่องเดียวกันนี้ต่อไป
3. ส่วนประกอบท้ายเรื่อง (Reference Section) ประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่
รายการอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงถึงชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นำมาประกอบการในการเขียนวิทยานิพนธ์
ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระของเรื่องนั้นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ตามความเหมาะสม
ประวัติผู้เขียน (Biography) เป็นประวัติโดยย่อของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์
ซึ่งเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิดหากคุณนำเคล็ดลับที่เราได้ให้ในบทความนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ของคุณ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะสามารถทำให้งานวิทยานิพนธ์ของคุณมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับได้จนนำออกตีพิมพ์วารสารต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ไม่มากก็น้อย
ช่องทางติดต่อ Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย อีเมล: ichalermlarp@gmail.com LINE: @impressedu (หยุดทุกวันอาทิตย์)