คลังเก็บป้ายกำกับ: ANOVA

โปรแกรม SPSS_SPSS_ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย

5 กฎข้อห้ามของ SPSS ที่หลายคนยังไม่รู้!

ในโปรแกรม SPSS มีกฎมากมายที่หลายยังไม่รู้ซ่อนอยู่ หากคุณเป็นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มใช้ SPSS แน่นอนคุณอาจจะไม่มีทางรู้เลยว่ามีกฎนี้อยู่ด้วย 

ในบทความนี้ทางเราได้หยิบยก กฎข้อห้ามบางส่วน 5 ข้อจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสถิติ ที่คุณต้องพบเจอหากเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยใช้โปรแกรม SPSS มาก่อน เพื่อเวลาเปิดใช้จะได้ไม่พบเจอปัญหา Eror หรือเปิดไฟล์ไม่ได้ 

1. คุณจะเปิดไฟล์นามสกุล .sav และ .spv ไม่ได้ถ้าเครื่องของคุณยังไม่ได้ลงโปรแกรม SPSS

รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

ถ้าคุณเปิดมาเจอบทความนี้แสดงว่าคุณกำลังจะหาทางเปิดไฟล์ .spv และ .sav อยู่ใช่ไหม? 

ถ้าหากว่าใช่ในหัวข้อนี้จะอธิบายให้กระชับและเข้าใจง่ายที่สุด

ไฟล์นามสกุล .sav และ .spv เป็นไฟล์ที่มาจากโปรแกรม SPSS ดังนั้นหากคุณจะเปิด 2 ไฟล์ นี้ควรลงโปรแกรม SPSS ก่อนถึงจะเปิดได้ตามปกติ

และนอกจากนั้น 2 ไฟล์นี้จะเปิดได้เฉพาะบนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC เท่านั้น!! และเครื่องที่ใช้เปิดไฟล์ดังกล่าวจะต้องใช้ Windows ต่อไปนี้ Windows 10, Windows 7, Windows 8 / 8.1, Windows Vista หรือ Windows XP

2. คุณไม่สามารถเปิดไฟล์ SPSS เวอร์ชั่นล่าสุด บนเครื่องที่เวอร์ชั่นเก่ากว่าได้

ปัญหานี้มักจะเจอกับผู้ใช้โปรแกรมที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หากคุณไม่รู้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเพราะว่าในปัจจุบันโปรแกรม SPSS มีการปรับประสิทธิภาพให้ดีขึ้นเสมอ จึงมีการอัพเดทเวอร์ชั่นใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคำนวณให้รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น 

ดังนั้นคนที่ไม่ได้ใช้ทุกวันจึงใช้เวอร์ชั่นเดิมที่ตนเองเคยชิน เนื่องจากเมนูคุ้มมือ คุ้นตา ซึ่งเวอร์ชั่นเก่าสุดที่บริษัทเคยสอบถามลูกค้าคือ SPSS เวอร์ชั่น 17 จึงพบปัญหาเปิดไฟล์ไม่ได้เมื่อสลับเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้อีกเครื่องที่มีโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่นใหม่กว่า

3. การกำหนดรหัสตัวแปรจะแทนค่าด้วยตัวอักษรไม่ได้

การกำหนดรหัสตัวแปรทุกครั้ง จะต้องกำหนดในช่อง Values หากตัวแปรเป็นตัวอักษรจะต้องแปลงเป็นรหัสตัวเลขก่อน เพื่อให้โปรแกรมนำตัวเลขไปวิเคราะห์ผลได้สะดวกขึ้น 

เช่น ตัวแปร ‘เพศ’ กําหนดให้ ‘เพศชาย’ มีค่าเท่ากับ 1 และ ‘เพศ หญิง’ มีค่าเท่ากับ 2 เป็นต้น

4. การตั้งชื่อตัวแปรห้ามมีช่องว่าง และมีอักขระพิเศษ โดยเด็ดขาด

การตั้งชื่อตัวแปรในช่อง Name โปรแกรม SPSS อนุญาตให้ตั้งชื่อที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่สิ่งที่ห้ามทำอีก 2 อย่างในการตั้งคือ

– ห้ามมีการเคาะเพื่อให้เกิดช่องว่าง

– ใช้อักษรพิเศษอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ตัวอักษรหรือตัวเลข  เช่น  ? ,   + ,   – ,   * ,   / ,  …  ยกเว้นเครื่องหมาย  _ (underscore) 

หากฝืนกฎโปรแกรมจะแจ้ง Error ทันที!!

5. ห้ามตั้งชื่อที่มีความยาว 8 ตัวอักษร

การตั้งชื่อตัวแปรในช่อง Name นั้นนอกจาก SPSS จะไม่ให้มีการเคาะช่องว่างและตัวอักษรพิเศษแล้ว สิ่งสำคัญคือการตั้งชื่อต้องมีความยาวไม่เกิน 8 ตัวอักษร ดังนั้นข้อคำถามที่ยาวมากๆ จะต้องใช้รหัสแทน ผู้วิจัยควรมีตารางกำหนดรหัสดังนี้

ข้อคำถามลงรหัส
ด้านราคาPrice
สินค้าที่ท่านซื้อมีราคาเหมาะสมA1
สินค้าที่ท่านซื้อมีราคาถูกเมื่อเทียบกับร้านอื่นA2

อย่างไรแล้วกฎข้อห้ามบางข้อที่กล่าวมาข้างต้น อาจมีเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับการพัฒนาของโปรแกรม SPSS ดังเช่น SPSS รุ่นเก่าๆ ที่ไม่สามารถตั้งชื่อตัวแปรเป็นภาษาไทยได้เลย แต่ปัจจุบันมีการปรับปรุงให้ใช้ภาษาไทยได้แล้ว อนาคตอาจจะมีการปรับปรุงให้มีการตั้งชื่อตัวแปรที่ยาวกว่า 8 ตัวอักษรก็เป็นไปได้

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย
ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย

งานวิจัย ANOVA ทำอย่างไร ที่นี่มีคำตอบ!

ANOVA, One Way ANOVA, หรือ F-test เป็นชื่อเรียกที่หลายๆ คนสับสน ว่ามันคือสถิติตัวเดียวกันหรือไม่ มีวิธีการทำอย่างไร แล้วต้องดูอย่างไรว่าตัวแปรดังกล่าวสามารถใช้สถิติ ANOVA ในการวิเคราะห์ได้ 

ซึ่งบทความนี้จะมีคำตอบให้คุณ ด้วยคำอธิบายในฉบับที่เข้าใจง่ายค่ะ

1. คำอธิบายของ ANOVA ฉบับเข้าใจง่าย

ANOVA หรือ One Way ANOVA นั้นมีชื่อเรียกย่อๆ ว่า F-test 

ซึ่งในบทความนี้จะขอเรียกว่า ANOVA เพื่อให้เข้าใจตรงกันนะคะ จากข้อคำถามข้างต้นที่บทความได้กล่าวนำคุณมาถึงตรงนี้ คงตอบข้อสงสัยแล้วใช่ไหมคะว่า ANOVA, One Way ANOVA, หรือ F-test คือสถิติตัวเดียวกันนั่นเอง  ซึ่งทั้งสามชื่อที่กล่าวมานั้นจะเรียกแตกต่างกันไป แล้วแต่นักสถิติท่านใดจะถนัดเรียก สาเหตุที่มีชื่อย่อเรียกแบบนี้ก็เพราะว่าผลที่แสดงในตาราง ANOVA นั้นจะมีตัวย่อคือตัว F นั่นเอง

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

ซึ่งหน้าที่ของ ANOVA นั้น มีไว้เพื่อทดสอบสมมติฐานทางสถิติของตัวแปรที่มากกว่า 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน กับตัวแปรตาม ว่ามันมีความแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ดังเช่น ตัวอย่างในรูปที่ 1 ด้านบน

ตัวอย่างในรูปที่ 1 ต้องการรู้ว่า สถานภาพ (ตัวแปรต้น) ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อ ปัจจัยทั้ง 6 ได้แก่ ความเหลื่อมล้ำทางอำนาจ ความเป็นปัจเจกบุคคล มิติความแตกต่าง การหลีกเลี่ยงไม่แน่ การมุ่งเน้นเป้าหมาย การสนับสนุนองค์กร (ตัวแปรตาม) หรือไม่

โดยจุดมุ่งหมายของการทดสอบ ANOVA จริงๆ นั้นต้องการทดสอบเพื่อให้รู้ว่าค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มาก
กว่า 2 กลุ่มนั้นแตกต่างกันคู่ไหนนั่นเอง ซึ่งก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนว่า ตัวแปรที่มากกว่า 2 กลุ่ม คืออะไร 

ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เลย ตัวแปรที่มากกว่า 2 กลุ่ม ก็คือ ตัวแปรในแบบสอบถามที่มากกว่า 2 ตัวเลือก นั่นเอง หากนึกไม่ออกให้ดูรูปภาพ ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

คุณคงเข้าใจมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะว่าตัวแปรที่มากกว่า 2 กลุ่ม คืออะไร ต่อไป คงสงสัยกันแล้วใช่ไหมคะว่า ตัวแปรตามคืออะไร ตัวแปรตามก็คือ ตัวแปรที่เป็นผลที่ทำเกิดขึ้นภายหลังนั่นเอง 

ซึ่งตัวแปรนี้จะเป็นตัวที่ถูกทำนาย ตอบสนอง หรือเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ให้สังเกตจากกรอบแนวความคิดแล้วกันนะคะ เข้าใจง่ายดีค่ะ

2. วิธีการตรวจสอบว่าตัวแปรดังกล่าวสามารถทดสอบ ANOVA ได้หรือไม่

จากการอธิบายข้างต้นคุณคงเข้าใจแล้วว่าตัวแปรที่มากกว่า 2 กลุ่มคืออะไร ตัวแปรตามคืออะไร ดังนั้นวิธีการตรวจสอบว่าตัวแปรดังกล่าวสามารถนำไปทดสอบ ANOVA ได้หรือไม่นั้น ให้คุณตรวจสอบก่อนว่าค่าความถี่ของการตอบนั้น มีการตอบมากกว่า 1 คน หรือไม่ เหตุที่ต้องให้ตรวจสอบเช่นนี้เพราะว่า ถ้ามีคนตอบเพียง 1 คน จะนำทดสอบ ANOVA ไม่ได้ 

3. คำสั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ ANOVA

เลือกคำสั่ง Analyze>Compare Means>One Way ANOVA หน้าต่างจะปรากฎหน้าตาแบบนี้

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

ใส่ตัวแปรตามที่มากกว่า 2 ตัวแปรเข้าไปในช่อง Dependent List ใส่ตัวแปรต้นเข้าไปในช่อง Factor

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

กดปุ่ม Post Hoc เพี่อเลือกวิธีเปรียบเทียบรายคู่ จากนั้นเลือกวิธีเปรียบเทียบรายคู่ที่คุณใช้ ในที่นี้ เลือกวิธีของ Scheffe’s

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

จากนั้นเลือก Continue>OK ถือเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำ ANOVA

4. วิธีอ่านค่า ANOVA ในโปรแกรม spss

เมื่อนำตัวแปรเข้าทดสอบ จะได้ตาราง ANOVA ขึ้นมา

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

จากรูปจะเห็นว่าค่า Sig. ต่ำกว่า 0.05 ทุกด้านซึ่งวิธีที่จะรู้ว่าค่าเฉลี่ยคู่ไหนแตกต่างกันนั้น ต้องทำการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ โดยส่วนใหญ่จะใช้การเปรียบเทียบพหุคูณ (Multiple comparison test) ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) หรือการทดสอบ HSD ของทูกีย์ (Tukey’s HSD test) รวมถึงวิธีของนิวแมนคูลส์ (Newman Keuls method) ซึ่งการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ที่นิยมมากที่สุดก็คือ วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) นั่นเอง จะมีหน้าตาดังนี้

ANOVA_One Way ANOVA_F-test_วิเคราะห์ ANOVA_วิเคราะห์ข้อมูลสถิติ_การวิเคราะห์ข้อมูล_สถิติการวิเคราะห์_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย
รับทำวิจัย แอดไลน์ @impressedu

จากรูปจะเห็นได้ว่าตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อตัวแปรตามได้ ก็ตือตัวแปรที่มีเครื่องหมายดอกจัน (*) ในช่องของ Mean Difference นั่นเอง

จากบทความคุณคงเข้าใจวิธีการทำงานวิจัยด้วยสถิติ ANOVA มากขึ้น ดังนั้นการเริ่มใช้สถิติ ANOVA เบื้องต้นคุณคงพิจารณาข้อกำหนดดังกล่าวได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตามการใช้สถิติต้องดูความเหมาะสมและดูวัตถุประสงค์อีกที เพื่อให้คุณสามารถเลือกสถิติได้ตอบวัตถุประสงค์มากขึ้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย