ฉะนั้น การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็น การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างการรับ-ส่งอีเมล โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Powerpoint และโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้สามารถช่วยประกอบการบรรยาย นำเสนองานวิจัยให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
4. พัฒนาทักษะในการวางแผน และ บริหารจัดการ (Planning and Management)
“การทำ IS หรือการศึกษาอิสระ จะสามารถเรียนต่อปริญญาเอกได้หรือไม่?”
“กังวลใจกลัวอนาคตจะเรียนต่อไม่ได้…”
การทำ IS หรือการศึกษาอิสระ จะมีเนื้อหาที่ไม่เข้มข้นเท่ากับการทำงานวิทยานิพนธ์ เพราะว่าการทำ IS ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทแผนการเรียนที่ทางสาขาวิชากำหนดให้ผู้เรียนวิทยานิพนธ์ไม่ต้องเคร่งครัดกับการวิจัยมากจนเกินไป เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนที่เรียนปริญญาโทที่ต้องการจบง่ายและไม่ได้ต้องการเรียนต่อปริญญาเอก
เนื่องจากว่าการเรียนต่อปริญญาเอกความมุ่งหมายส่วนใหญ่ของผู้ที่ต้องการเรียนต่อนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอาจารย์ที่ต้องการจะสอนในมหาวิทยาลัย หรือตามสถาบันศึกษาต่างๆ เพราะฉะนั้นการเรียนต่อปริญญาเอกส่วนใหญ่จะเลือกทําเป็นวิทยานิพนธ์มากกว่าที่จะเลือกทำ IS
ถ้าหากว่าท่านตั้งใจที่จะเป็นอาจารย์สอนในระดับมหาวิทยาลัย การเลือกทํางานวิทยานิพนธ์ที่ดีกว่าการทำ IS ก็จําเป็นที่จะต้องดําเนินการเลือกแผนการเรียนที่เน้นทํางานวิทยานิพนธ์มากกว่าที่จะเลือกทำงาน IS
ดังนั้นหากท่านเลือกทำ IS ท่านต้องแน่ใจก่อนว่า ตนเองนั้นจะไม่มีความต้องการเรียนต่อในระดับปริญญาเอก แต่ไม่ได้หมายความนะครับว่าท่านทำ IS แล้วท่านจะไม่มีโอกาสที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาเอก เพียง
ดังนั้นการทํางานวิทยานิพนธ์จึงมีความจําเป็นมากกว่าการทำ IS ที่ไม่ว่าท่านจะเรียนต่อปริญญาเอกหรือไม่ได้เรียนต่อท่านก็มีความได้เปรียบมากกว่าผู้ที่ทําเลือกทำ IS เพียงอย่างเดียว
การทำ IS หรือ การทำสารนิพนธ์ส่วนใหญ่แล้วจะมีปัญหาในการที่จะเลือกหัวข้อเรื่อง IS เกี่ยวกับอะไรดี เพราะต้องมาตั้งต้นใหม่ในการที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำวิจัย ด้วยอุปสรรคต่างๆ และมีการใช้โปรแกรมที่เข้ามาช่วยในการวิจัยมากขึ้น
และตนเองก็ไม่ถนัดในการที่จะใช้โปรแกรมเหล่านี้ในการทำ IS หรือแค่การใช้ Word ธรรมดาทั่วไปก็อาจจะเป็นปัญหาสำหรับการทำ IS แต่ปัญหาสำคัญเหล่านี้ สิ่งแรกที่ผู้วิจัยมือใหม่ทุกท่านเจอเหมือนกัน คือ ควรทำงาน IS หัวข้อเรื่องอะไรดีถึงจะจบง่ายที่สุด
เสนอ 4 เทคนิคในการกระตุ้นความคิดในการเลือกหัวข้อ IS เกี่ยวกับอะไรดีนี้ มาเป็นข้อคิดให้ทุกท่านนำไปประยุกต์ใช้ในการทำ IS ของตนเองให้สามารถจบง่าย และเร็วที่สุด
1. ต้องเริ่มจากศึกษาปัญหาของการวิจัย
ปัญหาหลายครั้งที่ IS แต่ละเล่มเริ่มทำจะศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานี้ เช่น สถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา อยากจะรู้ว่าการป้องกันของประชาชนมีมากน้อยแค่ไหน หรือมีการรับรู้ข่าวสารของประชาชนมากน้อยแค่ไหนที่ส่งผลต่อการป้องกัน และให้ความร่วมมือกับมาตรการภาครัฐ
ซึ่งสามารถที่จะชี้ชัดได้เลยว่าเป็นปัญหาที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นประเด็นปัญหาของการทำวิจัยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดในการที่จะตั้งเป็นหัวข้อ IS ได้
เนื่องจากว่าการทำ IS แต่ละครั้งนั้น จำเป็นจะต้องนึกถึงว่าท่านเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และแน่นอนว่าวิกฤตไวรัสโคโรนานั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับผลกระทบเท่าเทียม และเสมอภาคเหมือนกันหมด เนื่องจากว่าวิกฤตดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาของสังคมในภาพรวมขนาดใหญ่
การที่จะหากลุ่มตัวอย่างที่จะเข้ามาใช้ในการศึกษาวิจัยจึงจะไม่เป็นปัญหาในการทำ IS หัวข้อดังกล่าว และแจกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปได้
การตั้งหัวข้อดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถหาเนื้อหามาสนับสนุนการทำ IS ได้ค่อนข้างง่าย อีกทั้งมีงานวิจัยหรือมีงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้อย่างเพียงพอ และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมดนี้เป็นสิ่งแรกที่ควรพิจารณาในการที่จะเลือกหัวข้อ IS จากปัญหาของการทำวิจัย
เนื่องจากว่าปัญหาของการทำวิจัยเป็นสิ่งที่แต่ละท่านต้องนึกถึงว่าเมื่อได้ผลลัพธ์ของการทำ IS เล่มดังกล่าวแล้ว ซึ่ง IS แต่ละหัวข้อนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นจะต้องคิดถึงผลลัพธ์ต่อการนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการแก้ไขปัญหา
การทำ IS แต่ละเรื่องเมื่อคิดถึงปัญหาของการทำวิจัยแล้ว สิ่งสำคัญรองลงมาคือจำเป็นจะต้องคิดถึงว่างานวิจัยที่เราจะทำ IS นี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรองรับอย่างเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 5 ปีหรือไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเป็นข้อมูลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือว่ามีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหัวข้อ IS ที่เราจะทำหรือไม่
หากสามารถค้นคว้าสืบค้นข้อมูลได้ก่อนเบื้องต้น ก่อนที่จะตั้งเป็นหัวข้อ IS ก็จะทำให้ท่านมีข้อได้เปรียบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ท่านจะนำมาใช้ในบทที่ 2 นั้นมีอย่างเพียงพอ และแน่นอนว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพียงพออย่างแน่นอน
ซึ่งจะทำให้ท่านไม่เกิดข้อผิดพลาดในภายหลังว่าหลังจากตั้งหัวข้อ IS ไปแล้วจะไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรองรับ
ซึ่งหากท่านสามารถสืบค้นได้ก่อนเบื้องต้นก่อนที่จะเสนอหัวข้อ IS หากท่านสืบค้นข้อมูลก่อนว่ามีข้อมูลเพียงพอ จะเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการทำวิจัยได้เป็นอย่างดี และการันตีความสำเร็จแน่นอนว่าท่านจะไม่มีทางล้มเหลว
โดยเฉพาะการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือแน่นอนว่าการทำ IS ส่วนใหญ่แล้วนักวิจัยต้องการให้จบง่าย และส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง
การทำ IS จำเป็นที่จะต้องสืบค้นข้อมูล โดยการหาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจากท่านศึกษาสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้จำนวนเพียงพอแล้ว ในเล่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จะมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยของงานวิจัยเล่มดังกล่าวนั้น ท่านจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับงานวิจัยของท่าน
เนื่องจากการทำ IS ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือใหม่ทั้งหมด แต่สามารถที่จะประยุกต์ใช้เครื่องมือจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเล่มก่อนๆได้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา IS ครั้งนี้ และจะเป็นสิ่งที่การันตีว่าท่านมีเครื่องมือที่จะใช้ในการแจกกับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว
หากท่านสามารถสืบค้นเล่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีเผยแพร่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ก็จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยท่านประหยัดระยะเวลาในการทำวิจัยเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะนำเครื่องมือดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการทำ IS ของท่านได้
4. ต้องมีกลุ่มตัวอย่างชัดเจน
การทำ IS แต่ละครั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนึกถึงว่ากลุ่มตัวอย่างที่ท่านจะทำ IS นั้น มีจำนวนเท่าไร หรือมีจำนวนปริมาณเพียงพอกับการที่จะแจกแบบสอบถามหรือไม่
เนื่องจากว่าบริบทของหัวข้อการทำ IS แต่ละครั้งนั้นไม่เหมือนกัน บางครั้งเป็นหัวข้อองค์กรที่มีขนาดเล็ก หรือองค์กรที่มีขนาดปานกลาง แต่ใช้ปริมาณคนไม่มาก เช่น ความผูกพันธ์ขององค์กร หรือคุณภาพชีวิตในการทำงานของบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง
ซึ่งแน่นอนว่าประชากรขององค์กรดังกล่าวนี้แน่นอนว่าไม่มีขนาดเยอะมากนัก แต่เมื่อนำมาคำนวณด้วยตามสูตรแล้วจะใช้จำนวนสมมุติว่า 100 คนจะใช้จำนวนแค่ไม่กี่ 10 คน เพื่อให้ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการทำ IS เท่านั้น
สิ่งที่ควรคิดก่อนทำ IS ทุกครั้ง คือ กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือว่า หากท่านไปสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้แล้วจะได้รับความร่วมมือในการที่จะตอบคำถาม เนื่องจากหลายครั้งที่นักวิจัยมือใหม่คิดว่ามีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มประชากรอย่างแน่นอนแล้ว แต่เมื่อไปขออนุญาตในการที่จะแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เราตั้งใจไว้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับอนุญาต
เนื่องจากว่าข้อมูลที่จะศึกษา IS แต่ละครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ภาวะผู้นำ หรือรูปแบบของการบริหารงาน ซึ่งบางครั้งองค์กรแต่ละแห่งนั้น มีการปกปิดข้อมูลหรือไม่ต้องการให้มีการทำวิจัย เพราะจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จึงปฏิเสธที่จะให้แจกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานขององค์กร ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายท่านเกิดข้อผิดพลาดในการทำ IS มาจำนวนไม่น้อย เนื่องจากว่าบริษัทต่างๆเหล่านี้ต้องการที่จะปกปิดข้อมูล เพราะกลัวว่าภาพลักษณ์จะเสียหาย
สิ่งสำคัญที่อยากจะแนะนำให้แก้ไขปัญหาและป้องกันไว้ก่อน คือ การที่ติดต่อขอความร่วมมือไว้ก่อนที่จะทำหัวข้อ IS เนื่องจากว่าเมื่อท่านกำหนดหัวข้อ IS หรือสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วก็ตาม