คลังเก็บป้ายกำกับ: การทำงานดุษฎีนิพนธ์

การทำวิทยานิพนธ์ ไม่ยากอย่างที่คิด!

ภาพจาก canva.com

วิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายสำหรับนักศึกษาที่เตรียมจะจบปริญญาโท เพราะการทำวิทยานิพนธ์นั้น เป็นสิ่งแสดงถึงความสามารถในการนำมาปรับใช้ และนำความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาที่นักศึกษาได้เรียนมานำเสนอให้กับผู้สนใจได้อ่าน และนำประโยชน์จากมันมาใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร พัฒนาหน่วยงาน หรือพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น แต่หลายท่านยังคงคิดว่าวิทยานิพนธ์เป็นเรื่องที่ยาก ในบทความนี้จึงจะมาบอกเคล็ดลับในการทำวิทยานิพนธ์ที่ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ของท่านได้ง่ายๆ มาฝากกัน ดังรายละเอียดตามนี้ค่ะ

1. การทำวิทยานิพนธ์ในแต่ละครั้งควรที่จะทำในหัวข้อที่ตนเองสนใจ

ในการเริ่มทำวิทยานิพนธ์ ควรศึกษาหัวข้อที่ผู้ทำวิทยานิพนธ์สนใจ เนื่องจากเรื่องที่ท่านสนใจ ท่านจะทำและศึกษาออกมาได้ดี เมื่อได้หัวข้อที่สนใจแล้ว ท่านควรที่จะมองหาอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ ที่เหมาะสมกับหัวข้อที่ท่านสนใจด้วย เพราะกุญแจที่สำคัญที่จะนำไปสู่วิทยานิพนธ์ ก็คือหัวข้อนั่นเอง หากตั้งชื่อหัวข้อไม่มีความโดดเด่นก็อาจจะทำให้ไม่มีผู้เปิดอ่านงานนั้นเลยก็ได้ นอกจากนั้นหัวข้อที่น่าสนใจจะต้องมีกฎดังนี้

-การตั้งชื่อหัวข้อให้น่าสนใจจะต้องมีการใช้คำที่กระชับ สามารถบอกกับผู้อ่านได้ทันที่ว่าเรื่องที่ทำจะกล่าวถึงเรื่องใดกันแน่ 

-หัวข้อต้องไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป หากสั้นหรือยาวจนเกินไปจะทำให้ผู้อ่านไม่เข้าใจว่าผู้เขียนต้องการที่จะสื่อถึงสิ่งใด

-อธิบายความหมายให้เข้าใจในประโยคเดียว โดยการฝึกเขียนหัวข้อเป็นประจำ พร้อมทั้งให้ผู้ที่มีประสบการณ์ช่วยวิจารณ์ หรือขัดเกลาหัวข้อบทความให้ดีขึ้น

-ควรเลี่ยงคำศัพท์แสลง พยายามไม่ใช้ศัพท์ที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ  เพราะเมื่อกาลเวลาผ่านไปคนรุ่นหลังที่จะเข้ามาเปิดอ่านวิทยานิพนธ์ของท่านอาจจะไม่เข้าใจภาษา ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าควรใช้คำศัพท์ในการตั้งหัวข้อง่ายๆ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจทันที

ภาพจาก Pixabay

2. ผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ต้องมีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอต่อหัวข้อที่เลือก

หัวข้อนี้จะเกี่ยวเนื่องจากหัวข้อแรก กล่าวคือ เมื่อผู้ทำวิทยานิพนธ์เลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ท่านสนใจ ซึ่งท่านจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจในหัวข้อที่เลือก การที่จะทำให้วิทยานิพนธ์สำเร็จตามเป้าหมายได้นั้นท่านจะต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในสิ่งที่จะศึกษา จากนั้นทำการศึกษาต่อยอดสิ่งที่ท่านรู้ และค้นหาข้อมูลใหม่ มาต่อยอดความรู้เพื่อวิจัยและพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้นท่านจึงต้องนำความรู้ที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน สืบหาค้นคว้าหรือมาจากประสบการณ์ โดยมีการรวบรวมเป็นข้อมูลทำการจดบันทึกเอาไว้ และสอดแทรกความสนใจในตัวของท่านเองที่ได้เล่าเรียน มาผสมผสานกับประสบการณ์ต่างๆ ทำให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างรรค์งานใหม่ๆ หรือจะเป็นการสนใจจากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถ่ายทอดผ่านหนังสือหรือตำรา ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นการนำความเข้าใจและสิ่งที่ท่านสนใจมาใช้สนับสนุนประกอบกับงานวิทยานิพนธ์ที่กำลังจะทำ ซึ่งในทางตรงกันข้ามหากยังมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่เพียงพอผลลัพธ์ที่ได้ก็อาจจะนำใช้ประโยชน์จริงไม่ได้

3. การอ่านงานวิทยานิพนธ์ช่วยได้

การอ่านถือว่าเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่จะทำให้ผู้ทำวิทยานิพนธ์สามารนำมาต่อยอดในงานของตัวเองได้ โดยจะเริ่มต้นจากการเลือกเรื่องที่สนใจ แล้วอ่านจากผลสรุปของเล่มวิจัยดังกล่าว เพื่อจับใจความประเด็นหลักนำมาอ่านเพื่อทำความเข้าใจ แล้วจึงนำมาเรียบเรียงให้เป็นความเข้าใจใหม่ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  ซึ่งการอ่านวิทยานิพนธ์ควรที่จะอ่านจากหลายๆ แหล่งที่มา เช่น อ่านจากตำราทางวิชาการ สารคดีทางวิชาการ การวิจัยประเภทต่างๆ หรืออ่านผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งควรอ่านให้หลากหลายเพราะความรู้ในวิชาหนึ่งอาจนำไปช่วยเสริมในอีกวิชาหนึ่งได้ ดังนั้นในขณะอ่านควรพยายามจับจุดสำคัญของเนื้อหาที่มีความสอดคล้องกับงานที่ต้องการทำ ดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อมาช่วยเสริมให้งานของท่านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการอ่านงานเหล่านี้จะเป็นการตอบสนองต่อความต้องการที่จะนำไปใช้ทำวิทยานิพนธ์ของท่านได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าการอ่านถือเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอ่านจะเป็นตัวช่วยให้งานของท่านผ่านไปได้ด้วยดี

4. สรุปเนื้อหาเรียบเรียงเนื้อหาใหม่

ในการสรุปเนื้อหาและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่จากการอ่านงานวิทยานิพนธ์ของผู้ทำวิทยานิพนธ์ท่านอื่นนั้น ท่านจะต้องสรุปและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ให้สอดคล้องกับหัวข้อของงานวิจัยของท่านด้วย  ซึ่งท่านจะต้องทบทวนเนื้อหาที่สรุปและเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ออกมาก่อน ว่ามีความกะทัดรัด ชัดเจน รัดกุม หรือไม่ นอกจากนั้นควรสรุปออกมาให้อ่านเข้าใจได้ง่าย และเรียงลำดับความหมายให้ถูกต้อง ซึ่งหัวใจของการสรุปถือว่าเป็นส่วนที่เขียนย้ำหรือเน้นประเด็นสำคัญของเนื้อหา หรือสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า ถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญในการที่จะทำให้ผู้อ่านได้
จับประเด็นของเนื้อหาที่ได้อ่านไปทั้งหมด  
จึงอาจกล่าวได้ว่าบทสรุปจะช่วยให้ผู้อ่านมีการจดจ่อกับเนื้อหา และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านวิทยานิพนธ์ของท่านเกิดความรู้สึกที่ค้างคาใจ  และจะเป็นการเพิ่มงานให้ยาวโดยไม่จำเป็น

5. การนำเสนอวิทยานิพนธ์ให้น่าสนใจ

การนำเสนอวิทยานิพนธ์ หากเนื้อหาที่นำเสนอในวิทยานิพนธ์มีความกระชับ เข้าใจง่าย ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ได้ตั้งไว้ จะทำให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านมีความน่าสนใจมากขึ้น แต่กระนั้นผู้ทำวิทยานิพนธ์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาพูด ไม่ควรที่จะย่อหรือกล่าวเกินจริง มีกาารอ้างอิงถึงเอกสารให้ถูกต้องในทุกครั้ง และควรตรวจสอบความถูกต้องให้ละเอียดรอบครอบทุกครั้งอย่างเพียงพอเพื่อให้ได้งานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพ จึงอาจกล่าวได้ว่าการนำเสนอถือว่าเป็นกระบวนการเพื่อนำความรู้ที่ได้มาผสมผสานกันระหว่างศิลปะทางการเขียนกับการแสดงข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของการวิเคราะห์ข้อมูล และสามารถนำเสนอได้อย่างเหมาะสม เช่น ตาราง กราฟ และภาพประกอบ ก็จะสามารถทำให้ผลงานวิทยานิพนธ์ของท่านดูน่าสนใจมากขึ้น 

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นเคล็ดลับในการนำไปปรับใช้ในการเขียนวิทยานิพนธ์ของท่าน หากท่านได้นำเคล็ดลับดังกล่าวในบทความไปใช้ จะทำให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านนั้นมีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการทำให้ผู้ที่จะทำการศึกษางานวิจัยของท่านหรือรูปแบบวิธีการทำไปต่อยอดเป็นงานวิจัยใหม่ๆ ขึ้นมา เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเรื่องใหม่ๆ ให้มีความก้าวหน้าในตนเอง องค์กร หน่วยงาน หรือธุรกิจให้ดีขึ้นต่อไป

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การทำวิทยานิพนธ์คืออะไร ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร?

วิทยานิพนธ์จบยากไหม? 

เนื้อหาประมาณไหน? 

สอบหัวข้อแล้วต้องเริ่มอย่างไร? 

เหลือเวลาแค่เดือนเดียวจะทำวิทยานิพนธ์ทันไหม? 

ตอนนี้เหมือนคนกำลังหลงทางกับการเรียงลำดับการทำ ใครพอจะช่วยแนะนำเราได้บ้าง?

ภาพจาก pexels.com

ใครเคยมีคำถามเหล่านี้อยู่ในหัวบ้าง คำถามดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาที่นักศึกษาทุกคนต้องเจอเมื่อใกล้ถึงเวลาที่จะจบการศึกษา ซึ่งนั่นก็คือปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่าวิทยานิพนธ์คือ ผลงานทางวิชาการที่นำเสนออย่างเป็นระบบบนพื้นฐานจากการค้นคว้า และวิจัย เป็นสิ่งที่นักศึกษาทุกคนต้องทำ และคิดว่ายาก แต่หากว่านักศึกษาทำความเข้าในหลักการในการทำงานวิทยานิพนธ์ และรู้จักเทคนิคบ้าง ก็จะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ที่คิดว่ายากกลับกลายไปง่ายทันที เนื่องจากมีกระบวนการคิดและวิธีทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง ดังนั้นสำหรับการเริ่มต้นการทำวิทยานิพนธ์  ผู้เขียนบทความจึงจะมาบอกเคล็ดลับในขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ที่ไม่ยากอย่างที่คิด  ถ้าท่านทำตามลำดับขั้นตอนตามบทความนี้

ขั้นตอนที่สำคัญของการทำวิทยานิพนธ์

1. การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์

ในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์นักศึกษาควรเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจที่จะทำจริงๆ เนื่องจากเรื่องที่นักศึกษาสนใจ ท่านจะมีข้อมูลพื้นฐานความรู้เดิมในการแก้ไขปัญหาและตอบคำถามกับท่านอาจารย์ที่ปรึกษา ตอนสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ นอกจากนั้นการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่นักศึกษาสนใจและถนัด ท่านจะสามารถวางแผนและต่อยอดงานวิทยานิพนธ์ต่อไปได้ดี 

ซึ่งเคล็ดลับในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

1.1 ลองหาหัวข้อจากงานวิจัยก่อนหน้าที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับหัวข้อที่เราสนใจ  

1.2 ลองหาประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าน 

1.3 ลองอ่านหนังสือ วารสาร บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์ เพื่อเป็นตัวอย่าง และใช้เป็นแนวทางกำหนดประเด็นปัญหา 

1.4 ลองทำการสำรวจสิ่งแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ ตัว สำรวจปัญหาของอาชีพในท้องถิ่นที่เราอยู่ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง 

1.5 คำนึงถึงการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ถึงความเหมาะสมในเรื่อง  ความปลอดภัย เวลา งบประมาณ และกำลังของตนว่าจะไม่กระทบต่อสิ่งเหล่านั้น 

1.6 เลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์จากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และงานนั้นต้องสามารถสร้างคุณค่าให้ตัวงานวิทยานิพนธ์ของท่านได้ด้วย

เมื่อท่านได้หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สนใจให้ทำการวางแผนขั้นตอนดำเนินการต่างๆ ไว้ล่วงหน้า แล้วค่อยๆ ทำการวางแผนการดำเนินการตามที่ไว้วางเป้าหมายไว้ ซึ่งการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดีจะต้องเป็นหัวข้อที่มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ สามารถหาคำตอบได้จากวิธีทางวิทยาศาสตร์ หรือวิจัย สามารถตรวจสอบสมมติฐานเพื่อหาข้อสรุปได้ และไม่ควรที่จะกว้างเกินขอบเขตที่ตั้งเอาไว้ 

2. ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องถือว่าเป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากประเด็นที่เราสนใจที่จะศึกษา หรือนำมาต่อยอดงานวิทยานิพนธ์ของท่านให้มีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องควรทำการศึกษางานวิจัยที่มีการศึกษามาแล้วไม่เกิน 5-10 ปี เนื่องจากโลกในยุคโลกาภิวัฒน์นั้นหมุนเวียนผันเปลี่ยนไปรวดเร็วด้วยเทคโนโลยี ดังนั้นพฤติกรรม การทำงาน  วิถีชีวิต ความต้องการ จึงเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน หากท่านทำผลงานวิทยาพนธ์ที่เกี่ยวกับการตลาด สังคม การปฏิบัติงาน พฤติกรรมการใช้ หรือแม้แต่ความต้องการ ท่านจึงควรใช้งานวิจัยในช่วงระหว่าง 5-10 ปี  เนื่องจากท่านสามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานของท่านมาหยิบยกหรือวิเคราะห์ พฤติกรรม และปัญหาต่างๆ ได้ เช่น ปัญหาการปฏิบัติใน 5 ปี ที่แล้ว กับปัญหาการทำงานใน 5 ปีปัจจุบัน อาจจะแตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เห็นได้ชัดเจนจากการเปลี่ยนของของเทคโนโลยีที่รวดเร็วขึ้น ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวอาจเป็นประเด็นที่ท่านสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบ หรือหยิบยกปัญหาต่างๆ มาวิเคราะห์เหตุการณ์ที่ผ่านมาได้ 

ซึ่งเคล็ดลับในการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

2.1 ท่านควรรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับท่านไว้ให้มากที่สุด เพื่อศึกษาสภาพปัญหา หลักการ และเหตุผลของประเด็นปัญหาว่าปัจจุบันมีสภาพปัญหาอะไรที่น่าสนใจบ้าง 

2.2 ท่านควรสำรวจขอบเขตของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ากว้างเพียงใด มีแนวคิด ทฤษฎีใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานวิทยานิพนธ์ของท่านมากน้อยเพียงใด 

2.3 ท่านควรสำรวจงานวิจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องว่ามีประเด็นปัญหามีจำนวนกี่เรื่อง และผลการวิจัยเป็นอย่างไร 

2.4 ท่านควรสำรวจเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีกี่ชนิด เป็นลักษณะแบบใด 

2.5 ท่านควรสำรวจดูงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ผ่านมาว่ามีการใช้สถิติวิจัยใดบ้าง 

หลังจากได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้วท่านจะต้องทำการทบทวน และวิเคราะห์ความสอดคล้องข้อมูลที่ตรงกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ท่านศึกษา ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะทำให้ช่วยให้ท่านได้ทราบข้อมูลต่างๆ ที่เราจะต้องทำตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้ายได้ ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะเป็นขั้นตอนที่นานที่สุด เนื่องจากท่านจะต้องอ่านเอกสารที่เกี่ยวข้องตั้งแต่แรกจนจบทั้งหมด แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จับประเด็นที่สำคัญออกมาเขียนเรียบเรียง โดยเลือกเอาเฉพาะข้อมูลที่สนใจจะศึกษาจริงๆ เท่านั้นมาเขียน  และทำการสรุปเชื่อมโยงข้อมูลในขั้นตอนสุดท้าย 

3. กำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษา 

การกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ท่านต้องกำหนดถึงความต้องการของหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในระหว่างการทำงาน นอกจากนั้นการกำหนดขอบเขตของงานควรขึ้นอยู่กับงบประมาณ และระยะเวลาในการทำวิทยานิพนธ์ที่ได้ทำการวางแผนไว้ด้วย  

ซึ่งเคล็ดลับในการกำหนดขอบเขตเรื่องที่ศึกษา ผู้เขียนขอแนะนำว่า ควรประกอบไปหัวข้อหลักๆ ดังนี้

3.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ท่านจะต้องแจกแจงรายละเอียดว่าเนื้อหาที่ท่านกำลังจะศึกษานั้นประกอบไปด้วยแนวคิดอะไรบ้าง และงานวิทยานิพนธ์ดังกล่าวเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ ควรระบุให้ชัดเจน

3.2  ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ท่านจะต้องระบุว่าประชากรที่จะศึกษาเป็นใคร มีจำนวนเท่าไร อายุเท่าไร และสามารถคำนวณกลุ่มตัวอย่างได้เท่าไร ในขั้นตอนนี้ ท่านควรใส่อ้างอิงที่มาของประชากรด้วย เพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล

3.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ หัวข้อนี้ท่านจะต้องระบุว่าท่านจะศึกษากลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ไหน

3.4 ขอบเขตด้านระยะเวลา หัวข้อนี้เป็นหัวข้อสุดท้ายที่ควรจะกำหนด เพราะจะเป็นการบอกว่าท่านจะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้นทั้งหมดกี่เดือนในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งหัวข้อนี้ควรอ้างอิงตามแผนที่ได้วางไว้ตั้งแต่แรก

4. กรอบแนวความคิด 

กรอบแนวความคิดจะถือว่าเป็นแผนที่ในการทำวิทยานิพนธ์ทั้งหมด เนื่องจากในกรอบแนวคิดจะเป็นผลที่แสดงให้เห็นว่าท่านใช้แนวคิด ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องอะไรในการนำมาหักล้างเหตุผล หรือแก้ไขปัญหางานวิทยานิพนธ์ของท่าน ซึ่งเส้นทางของกรอบแนวความคิดจะสร้างความชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การกำหนดกรอบทิศทางในการทำวิจัยที่เหมาะสม ซึ่งท่านจะนำมาสรุปเป็นแผนภูมิก็ได้ หรือจะนำมาเขียนเป็นแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งสองตัวแปรออกมาเป็นกรอบแนวคิดก็ได้่

ซึ่งเคล็ดลับในการเขียนกรอบแนวความคิด ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

4.1 กรอบแนวความคิดต้องประกอบไปด้วยตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม

4.2 หัวลูกศรเส้นทางของตัวแปรจะต้องเขียนให้ชัดเจน และถูกต้อง เพราะถ้าหากเขียนผิดนั่นหมายถึงการใช้สถิติที่เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

5. เครื่องมือการวิจัย 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย อาจจะเป็นอุปกรณ์สำหรับการทดลอง แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แผนการศึกษาสำหรับนักเรียน หรือโปรแกรมที่ใช้ทำการทดลอง  ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการวิจัยด้วยเช่นกัน เพราะเครื่องมือดังกล่าวจะนำมาใช้สำหรับรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์หาคำตอบและทดสอบสมมติฐานต่อไป

ซึ่งเคล็ดลับในการสร้างเครื่องมือการวิจัย  ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

5.1 เครื่องมือการวิจัยต้องสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎีที่จะศึกษา

5.2 ข้อคำถามในเครื่องมือการวิจัย ต้องไม่เยอะ หรือน้อยจนเกินไป

5.3 เครื่องมือการวิจัยที่ท่านได้สร้างขึ้นมาจะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาก่อนว่า ข้อคำถามครอบคลุมวัตถุประสงค์หรือไม่ หลังจากการนำเครื่องมือการวิจัยไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ และนำมาปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา

5.4 นำเครื่องมือการวิจัยที่ปรับปรุงตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา มาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากนั้นปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาอีกครั้ง

5.4 นำเครื่องมือการวิจัยที่ได้ไปทดลองใช้ (pre-test) กับ กลุ่มตัวอย่างที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ โดยการหาค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม (Reliability) ตามสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha) และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ในการคำนวณ เพื่อให้ได้ค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของเครื่องมือการวิจัยที่มากกว่า 0.7 ขึ้นไป หากค่าความเที่ยงหรือความเชื่อถือได้ของเครื่องมือการวิจัยมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จะถือว่าเครื่องมือการวิจัยนี้มีความเชื่อถือได้ และสามารถนำไปเก็บข้อมูลได้จริง

ภาพจาก Pixabay.com

6. สถิติสำหรับการวิจัย 

ซึ่งสถิติสำหรับการวิจัยถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้งานสมบูรณ์แบบมากขึ้น ทำให้ท่านเห็นข้อมูล ปัญหาต่างๆ ข้อดี และข้อเสีย ที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถิติที่ใช้สำหรับการวิจัยจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน คือ สถิติเชิงพรรณา กับสถิติเชิงอนุมาน

ซึ่งเคล็ดลับในการใช้สถิติสำหรับการวิจัย ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้ 

6.1 สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ใช้สำหรับในการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งสถิตินี้ส่วนใหญ่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรศาสตร์ ทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น

6.2 สถิติเเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)  ใช้สำหรับการทดสอบสมมติฐานส่วนใหญ่เป็นสถิติขั้นสูง เช่น สถิติ T-test ANOVA สถิติ Regression  ซึ่งสถิตินี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับคาดการณ์เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  

ในขั้นตอนการใช้สถิตินี้หากท่านไม่ถนัด ควรหาตัวช่วยที่มีความรู้ด้านสถิติ มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะขั้นตอนนี้หากตัวเลขผิดพลาดเพียงตัวเดียวอาจจะกระทบต่อข้อมูลอื่นๆ ในงานวิทยานิพนธ์ของท่านจนต้องรื้อทำใหม่ได้ 

7. ข้อสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัย ถือเป็นส่วนที่สำคัญมาก เนื่องจากข้อสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ถือเป็นแนวทางเพื่อให้ท่าน หรือผู้อ่านวิทยานิพนธ์ของท่านสามารถนำข้อสรุปงานวิทยานิพนธ์ของท่าน มาต่อยอด หรือมีแนวทางในการแก้ปัญหา ให้กับสังคม หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรได้บ้าง 

ซึ่งเคล็ดลับในการเขียนข้อสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ  ผู้เขียนขอแนะนำ ดังนี้

7.1 ข้อสรุปจากผลการวิจัยต้องสรุปให้สั้น กระชับ และได้ใจความ

7.2 การอภิปรายต้องอภิปรายให้เห็นถึงประเด็นของผลการศึกษาและนำข้อโต้แย้งจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสอดคล้องเพื่อให้เห็นวิธีการแก้ไขปัญหา หรือข้อแตกต่างของผลการวิจัยของท่าน เพื่อให้งานมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

7.3 ข้อเสนอแนะจะต้องสามารถนำไปต่อยอดในงานที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ ดังนั้นควรระบุว่าใครจะได้อะไรบ้าง และถ้าทำตามคำแนะนำของผู้วิจัยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้อะไรบ้าง

ขั้นตอนทั้ง 7 ที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะเป็นองค์ประกอบหลักของการทำวิทยานิพนธ์ที่ดี ถ้าทำตามเคล็ดลับที่ผู้เขียนได้ให้ไปนี้ จะสามารถเปลี่ยนการทำวิทยานิพนธ์ที่คิดว่ายากให้กลายเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นได้

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

อาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี แก้ไขปัญหาอย่างไรดี?

ภาพจาก pexels.com

หลายครั้งที่ทางทีมงานมักจะได้ยินคำบ่นปนเสียงท้อ ของนักศึกษาระดับปริญญาโทเสมอว่า “ที่ปรึกษาผมไม่ค่อยสนใจเลย ไม่เคยชี้แนะแนวทางอะไรในงาน บางครั้งทำให้คลุมเครือ จนคุยกันไม่ได้ เพราะท่านไม่ฟังแนวคิดของผมเลย บางครั้งส่งงานไปท่านก็ไม่อ่าน บางครั้งนัดเจอเพื่อคุยงานก็ทำให้รู้เลยว่าไม่ได้ดูงานที่ส่งไปเลยครับ”

ดังนั้นการที่จะทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีความรู้ที่เพียงพอในเรื่องวิทยานิพนธ์ก็จำเป็นที่จะต้องหาอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ ไว้คอยให้คำปรึกษาในขั้นตอนต่างๆ เช่น การนำเสนอร่างวิทยานิพนธ์ การเก็บข้อมูลวิจัย การสรุปผลการวิจัยให้ถูกต้องตามหลักการใช้ภาษา รวมไปถึงการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งขั้นตอนการแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นที่นักศึกษาต้องการได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษา นักวิจัยมือใหม่ที่ยังเป็นนักศึกษาอยู่อาจจะพบเจอปัญหาตามที่ได้เกริ่นนำเรื่องมาข้างต้น คือ การเจออาจารย์ที่ปรึกษาที่ไม่ดี ทำให้มีความเห็นต่องานที่ไม่ตรงกัน ทำให้เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ในการทำวิทยานิพนธ์จึงไม่รู้ว่าควรที่จะแก้ไขตรงไหนดี แล้วจะมีวิธีการอย่างไรบ้างที่จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถชี้แนะแนวทางให้งานวิทยานิพนธ์ของเราให้ผ่านไปได้ด้วยดี ซึ่งบทความนี้จะพาท่านมาหาคำตอบที่สามารถนำมาประกอบการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาเมื่อพบเจออาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีกันค่ะ

วิธีการแก้ปัญหาอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดี

1. ต้องเริ่มแสวงหาความรู้ด้วยตนเองก่อน

ในขั้นตอนแรกตัวของผู้วิจัยควรที่จะศึกษาทำความเข้าใจกับระเบียบของสถาบันทางการศึกษาของผู้วิจัยทำการศึกษาอยู่เสียก่อน เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตของงานวิจัยที่ต้องการทำ และจัดเตรียมเนื้อหาข้อมูลให้ครบถ้วน สำหรับเตรียมตัวที่จะเข้าพบเพื่อพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ว่าท่านยังพบปัญหาใดบ้างในการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากอาจารย์ที่ปรึกษา จากประเด็นที่ผู้วิจัยยังไม่สามารถเข้าใจเองได้ ดังนั้นในการขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในด้านการเขียนงานวิชาการมากกว่าตัวท่านเอง ผู้วิจัยจึงไม่ควรมีอคติหรือตั้งความคิดของตัวเองเป็นหลัก และควรที่จะทำการเปิดรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อจะได้นำมาพัฒนาต่อยอดวิทยานิพนธ์ที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเป้าหมายของมหาลัยในการผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ  คือ  

– การสร้างผู้ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และรักการเรียนรู้

– การสร้างผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน

– การสร้างผู้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์

– การสร้างผู้มีความสามารถในการสื่อสารทั้งในการพูด เขียน การนำเสนอ

– การสร้างผู้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ซึ่งบางครั้งอาจารย์ที่ปรึกษาอยากจะให้ท่านได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองก่อน เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่ ไม่ใช่มัวแต่จะคอยถามอาจารย์ที่ปรึกษาทุกอย่างโดยไม่เคยสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเองก่อนเลย อาจารย์ที่ปรึกษาท่านจึงให้คำปรึกษาแบบเปิดกว้าง เพื่อให้ท่านได้นำข้อมูลที่ค้นหามาคิดต่อยอดในงานวิทยานิพนธ์ของท่านเอง แต่กระนั้นแล้วหากท่านเกิดปัญหาในขณะทำวิทยานิพนธ์จริงๆ โดยที่หาคำตอบแล้วยังไม่เข้าใจในคำตอบนั้น แล้วอยากให้ที่ปรึกษาอธิบาย ท่านควรลิสรายการข้อปัญหาต่างๆ ที่ท่านพบเจอในการทำวิทยานิพนธ์ออกมาเป็นรายการ และทำการนัดขอพบเจอท่านหรืออีเมลหาท่านเพื่อหาคำตอบในครั้งนั้น เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาระหว่างท่านและอาจารย์ที่ปรึกษาในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่ และการปฏิบัติเช่นนี้จะเป็นการสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ดีให้แก่ผู้วิจัยเองอีกด้วย 

ภาพจาก pexels.com

2. เชื่อมั่นในประสบการณ์ของอาจารย์ที่ปรึกษา  การที่อาจารย์ท่านหนึ่งจะสามารถมาเป็นที่ปรึกษาได้นั้น ท่านจะต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่พร้อมทั้งความรู้ ความสามารถ และบุคลิกภาพเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงานวิชาการอยู่เสมอ ไม่ว่าจะฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความรู้ ติดตามวิทยาการและรู้แหล่งข้อมูลในศาสตร์นั้นๆ เพื่อให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในเรื่อง/หัวข้อที่ดูแล จนสามารถแสดงจุดยืนหรือความเชี่ยวชาญเฉพาะให้นักศึกษาประจักษ์ได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงควรเชื่อมั่น และรับฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ทั้งคุณวุฒิ และวัยวุฒิมากกว่าผู้วิจัย แล้วนำข้อมูลที่ได้จากท่านอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นตัวช่วย และปรับใช้ในกระบวนการวิจัยของผู้วิจัยให้เหมาะสมเป็นไปตามมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนด

3. ไม่ควรที่จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียว

การมีอาจารย์ที่ปรึกษาคนเดียวในการทำวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่อาจจะไม่ใช่ทางออกเส้นทางเดียวของท่านก็เป็นได้ หากความรู้ของอาจารย์ที่ปรึกษาหลักยังไม่สามารถสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ท่านกำลังศึกษาอยู่ได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านมีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและการศึกษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการให้ข้อมูลในหัวข้อที่ท่านกำลังศึกษาอยู่อาจไม่ครอบคลุมประเด็นที่เพียงพอต่อการทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้ จึงเป็นปัญหาระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ได้  ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าท่านได้ที่ปรึกษาร่วมที่มีความรู้ตรงกับหัวข้อที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่ เพื่อนำความรู้และข้อมูลของอาจารย์ที่ปรึกษาร่วมมาสนับสนุนข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ของท่านให้สมบูรณ์ และมีหนักมากขึ้นได้ เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาหลักอาจจะมีความคิดเห็นบางสิ่งที่ไม่สอดคล้องหรือแก้ไขปัญหาการทำวิทยานิพนธ์ของท่านได้ วิธีแก้ไขคือการนำเอาความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาอีกท่านนำมาช่วยสนับสนุนงานข้อมูลเดิมของท่าน ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ดีขึ้นมาได้

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นอีกวิธีที่เข้ามาช่วยแก้ไขสถานการณ์ในเรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ดีขึ้นมาได้บ้าง ทั้งตัวผู้วิจัยและตัวของอาจารย์ที่ปรึกษาเองก็ควรที่จะมีการปรับทัศนคติมุมมองในการทำวิทยานิพนธ์ เพื่อเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและนำความคิดเห็นมาพิจารณาแก้ไขปัญหาอย่างไม่มีอคติหรือทิฐิได้อีกทางหนึ่ง

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

การเขียนเค้าโครงของวิทยานิพนธ์ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้วิจัยจะต้องจัดทำขึ้น ถือเป็นเอกสารแสดงรายละเอียดของการวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยหรือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวความคิด หรือแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนจบ นอกจากนั้นการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ยังถือเป็นเอกสารที่ใช้สื่อระหว่างผู้ร่วมทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้เข้าใจกันในหลักการเดียวกัน และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ทำให้ผู้วิจัยสามารถติดตาม ควบคุม กำกับงาน และประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง โดยการเขียนเค้าโครงของวิทยานิพนธ์
ผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากการคิดหาประเด็นปัญหา หรือคำถามที่ตัวผู้วิจัยสนใจแล้วนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความคิดเห็น ซึ่งในบทความนี้จะมีขั้นตอนสำหรับผู้วิจัยที่กำลังจะเริ่มเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ตามขั้นตอน ดังนี้

ภาพจาก pexels.com

1. ชื่อเรื่อง (Title)

การตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์จะต้องใช้คำที่กะทัดรัด ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนเป็นข้อความ คำนาม วลี ในชื่อเรื่อง เพื่อสะท้อนหรือชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาการวิจัย อาจกล่าวได้ว่าการตั้งชื่อเรื่องจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหาที่ต้องการหาคำตอบนั่นเอง ดังนั้นชื่อเรื่องควรมาจากสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีความชำนาญในเนื้อหาที่จะทำ แต่ก่อนเริ่มตั้งชื่อเรื่องเพื่อเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์นั้น จะต้องนำชื่อเรื่องที่สนใจไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นคนที่บอกว่าชื่อเรื่องของผู้วิจัยเหมาะสมกับปริญญาที่ศึกษาหรือไม่ เมื่อชื่อเรื่องผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้วิจัยจึงจะสามารถลงมือทำได้ เนื่องจากการตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์จะบ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการทำวิทยานิพนธ์ เช่น การวิจัยเชิงสำรวจ มักจะใช้คำว่าการสำรวจหรือการศึกษาเป็นคำขึ้นต้น และอาจจะระบุตัวแปรเลยก็ได้ ส่วนการวิจัยเชิงทดลอง มักจะใช้คำว่าการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การเปรียบเทียบนำหน้า เป็นต้น

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Rationale)

ในส่วนของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นการให้เหตุผลประกอบว่าทำไมเรื่องของเราจึงสมควรศึกษาวิจัย ซึ่งความเป็นมาควรจะชี้ให้เห็นว่าประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามที่จะศึกษาหาคำตอบนั้นมีภูมิหลังหรือความเป็นมาอย่างไร ปัญหานั้นมีความสำคัญ และสมควรศึกษาหาคำตอบอย่างไร มีผู้เสนอแนวคิดหรือทฤษฏีสำหรับตอบปัญหานั้นหรือไม่ หรือมีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่ชัดเจน หรือยังไม่มีคำตอบ เพื่อแสดงเหตุผลให้เห็นว่า เรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการหยิบยกประเด็นปัญหาต่างๆ ขึ้นมา จนทำให้ผู้วิจัยสนใจ และตัดสินใจเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้

ภาพจาก pexels.com

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

วัตถุประสงค์การวิจัยจะเป็นสิ่งที่วางเป้าหมายการทำงานไว้ล่วงหน้า ว่าผู้วิจัยจะดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนไปสู่จุดมุ่งหมายใด ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน และควรใช้เป็นประโยคบอกเล่ามากกว่าที่จะใช้เป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึันต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” โดยแต่ละข้อจะต้องมุ่งไปทิศทางเดียวกันในการสะท้อนปัญหา และตอบปัญหาการวิจัยในแต่ละแง่มุม 

4. คำถามของการวิจัย (Research Question) คำถามวิจัยที่ดีจะสามารถช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ สมมติฐาน และวิเคราะห์ตัวแปรเหล่านั้นออกมา เพื่อแก้ไขปัญหาได้ดี หากผู้วิจัยตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจนจะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ตัวผู้วิจัยไม่มีความมั่นใจในศึกษาข้อมูลวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ นอกจากนั้นจะทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนและตั้งข้อสงสัยกับผู้จัดทำวิทยานิพนธ์ขณะอ่าน จึงอาจกล่าวได้ว่าการตั้งคำถามของการวิจัยนั้นจะต้อง เป็นคำถามที่มีความเหมาะสมหรือมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษาด้วย

ภาพจาก pexels.com

5. ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

การทบทวนวรรณกรรมเป็นการเขียนที่ได้มาจากการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหา และแนวทางในการดำเนินการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องจัดเรียงลำดับตามหัวข้อเนื้อเรื่องที่ไว้วางแผนไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงทำการสรุปให้เห็นถึงการสอดคล้อง และข้อขัดแย้ง ซึ่งการเขียนในส่วนนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปตั้งสมมติฐานด้วย

6. สมมติฐาน (Hypothesis) และกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

การตั้งสมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำวิทยานิพนธ์ เป็นการคาดเดาคาดคะเนอย่างมีเหตุผลตามแนวคิดทฤษฎี ทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทางในการทำวิจัย ซึ่งสมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดีจะต้องตอบคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

7. ขอบเขตของการวิจัย (Delimitation)

เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยมีขอบข่ายไปในทิศทางใด เพื่อป้องการการศึกษาไม่ครบถ้วน
ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้แน่นอน อาจจะกำหนดเรื่องให้แคบจากบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งของสาขาวิชาที่ได้ศึกษาก็ได้ ซึ่งขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด ได้แก่ ลักษณะประชากรและจำนวนประชากร การเลือกสุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่าง นอกจากนั้นยังควรมีตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามลงไปด้วย

8. การให้คำนิยามศัพท์ที่จะใช้ในการวิจัย (Operatonal Definition)

ในการวิจัยอาจมีตัวแปรหรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนที่ตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องมีคำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้วิจัยที่สามารถสังเกตหรือวัดได้ ไม่อย่างนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปในความหมายอื่นได้ ซึ่งประเภทของการเขียนนิยามศัพท์ มีดังนี้

  • คำนิยามศัพท์เฉพาะ เป็นคำที่ให้ความหมายคำศัพท์ที่ใช้ในการงานวิจัยให้มีความเฉพาะเจาะจงให้เข้ากับประเด็นที่เกี่ยงข้องกับการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจความหมายให้ตรงกัน
  • การนิยามแบบทั่วไป เป็นการกำหนดความหมายโดยทั่วไปอย่างกว้างๆ อาจจะให้ความหมายตามทฤษฎี พจนานุกรม
  • การนิยามปฏิบัติการ เป็นนิยามศัพท์ที่สามารถเอาผลมาใช้ปฏิบัติได้จริง

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application)

หัวข้อนี้จะอธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะระบุว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้นจะเกิดกับใครเป็นสำคัญ ประเด็นนี้อาจนับได้ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เพราะเป็นประเด็นที่ใช้ประเมินว่างานวิจัยเรื่องนี้จะมีผลอะไรที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ หรือมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ถือเป็นหัวข้อที่สำคัญจะเป็นส่วนที่บ่งชี้ถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยปัญหานั้นๆ

10. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

ระเบียบวิธีวิจัยนั้นจะต้องประกอบไปด้วย วิธีวิจัย แหล่งข้อมูล ประชากรที่จะศึกษา วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยในแต่ละขั้นว่าจะต้องทำอย่างไร

ภาพจาก pexels.com

11. ระยะเวลาในการดำเนินการ 

ผู้วิจัยจะต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ทั้งหมดว่าใช้เวลานานเท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์ โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการ เช่น ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำและวันสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายช่วงระยะเวลาผู้วิจัยก็ควรที่จะระบุแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน เพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณา อนุมัติโครงการ

12. การอ้างอิง (Referrences)

การอ้างอิงถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องมีเอกสารอ้างอิงในเนื้อหาที่เข้าไปศึกษาเรื่องนั้นๆ ซึ่งรายการที่ใช้อ้างอิควรจัดทำในรูปแบบที่เป็นไปตามสากลนิยม โดยส่วนใหญ่นิยมใช้ การอ้างอิงแบบ APA Style หรือ Chicago Style ซึ่งการอ้างอิงแต่ละรูปแบบจะขั้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือสาขาวิชา ซึ่งผู้วิจัยสามารถค้นคว้า หรือหาข้อมูลวิธีการอ้างเพิ่มเติมได้ จากแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตทั่วไป

จากรายละเอียดการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่กล่าวมาข้างต้น อาจมีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมแล้วแต่รูปแบบของมหาวิทยาลัย เช่น งบประมาณ ประวัติผู้วิจัย หรือภาคผนวก ผู้วิจัยสามารถนำใส่ได้ตามสมควร ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังจะเริ่มเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

งานวิทยานิพนธ์ คือ

วิทยานิพนธ์ หรือชื่อที่เราคุ้นเคยอีกอย่างหนึ่งว่า thesis นั่นเอง!! อาจกล่าวได้ว่าวิทยานิพนธ์เป็นผลงานหนึ่งของผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาทุกคนจะต้องจัดทำขึ้น เพื่อวัดความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาตลอดหลักสูตรที่ได้เรียนมา อีกทั้งผู้ที่จัดทำวิทยานิพนธ์อีกกลุ่มหนึ่งที่จะต้องจัดทำผลงานเช่นกันจะเป็นกลุ่มนักวิจัย หรือนักวิชาการต่างๆ ที่จะต้องจัดทำวิทยานิพนธ์เพื่อใช้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งปรับฐานเงินเดือนของตนเอง วิทยานิพนธ์ในความหมายของบทความนี้จึงเป็นงานวิจัยทางด้านวิชาการที่ได้มีการไตร่ตรอง หรือมีการวางแผน ผ่านงานวิทยานิพนธ์ออกมาอย่างมีรูปแบบ และเป็นระเบียบแบบแผน โดยผู้วิจัยได้มีการนำทฤษฎีทั้งในและต่างประเทศมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ตามขั้นตอน วิธีการ ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และอ้างอิงตามหลักการ ของการทำวิทยานิพนธ์ จนได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมานั้นต้องจัดทำเพื่อเป็นการหาคำตอบของคำถามในงานวิจัย ในการนำมาสนับสนุนหรือยืนยันทฤษฎีที่ตนเองได้กล่าวสรุปในงานวิจัย อีกทั้งเมื่อจัดทำวิทยานิพนธ์สำเร็จ จะถือว่างานชิ้นนั้นเป็นเกียรติคุณของผู้จัดทำที่ได้เสียสละเวลาและมุ่งมั่นในการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ หรือเป็นใบเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ผู้วิจัยสนใจในอนาคต และต้องการจะค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่ตัวเองสนใจ

ผู้เขียนจึงอยากจะอธิบายส่วนประกอบสำคัญในการทำวิทยานิพนธ์ให้ผู้อ่าน ได้นำไปตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของท่านว่ามีองค์ประกอบครบตามหลักการทำวิทยานิพนธ์หรือไม่ ซึ่งหากมีสิ่งใดขาดหายไปท่านจะได้นำมาเพิ่มเติมเพื่อให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำวิทยานิพนธ์

ภาพจาก www.Pixabay.com

ในการที่จะทำวิทยานิพนธ์จะมีส่วนประกอบหลักๆ ด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนของเนื้อหา และส่วนท้าย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะต้องควรมีอย่างน้อย 50 หน้า ซึ่งสามารอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

1.ส่วนนำ จะมีองค์ประกอบดังนี้

ปกนอก องค์ประกอบของปกนอกจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ส่วนที่ 1 จะบอกถึงชื่อวิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 2 ชื่อผู้จัดทำเป็นภาษาไทย ส่วนที่ 3 บอกถึงคำจำกัดความของวิทยานิพนธ์

ปกใน จะมีลักษณะของปกคล้ายๆ กับปกนอก ตัวอักษรสีดำ โดยมีข้อความเหมือนปกนอก แต่ในการจัดพิมพ์จะใช้ระยะห่างจากขอบกระดาษแบบเดียวกับการพิมพ์รายงาน

ใบรับรองผลสอบวิทยานิพนธ์ ในเล่มจะมีการแนบใบรับรองผลการสอบเข้าไปในเล่มด้วย

บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษควรที่จะทำแยกหน้ากัน มีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนประกอบที่บอกถึงข้อมูลในการจัดทำวิทยานิพนธ์บอกถึงชื่อหัวข้อผู้จัดทำ หลักสูตร ปีการศึกษาที่จัดทำ อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่บรรยายถึงภาพรวมของวิทยานิพนธ์ที่ได้จัดทำทั้งหมดรวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจในงานวิจัยได้อ่านทำความเข้าใจ 

กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อเป็นการให้เกียรติ หรือขอบคุณแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ

สารบัญ สารบัญรูปภาพ และสารบัญตาราง เป็นส่วนที่บอกตำแหน่งหน้าของหัวข้อ รูปภาพ และตารางในงานโดยเรียงตามลำดับหัวข้อ

2.ส่วนเนื้อหา  จะประกอบไปด้วย

บทที่ 1 บทนำ เป็นการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่ามีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไร แนวทางในการทำ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของงาน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองภาพรวมได้เบื้องต้น

บทที่ 2 ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการอธิบาย พื้นฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้อ่านต้องรู้ หรือเข้าใจก่อนที่จะอ่านเนื้อหาในบทต่อไป

บทที่ 3 ระเบียบการวิจัย อธิบายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4 ผลการทดลอง หรือผลการศึกษา บทนี้จะเป็นบทที่นำเสนอสิ่งที่ผู้วิจัยได้ค้นพบเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ทำขึ้นนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีการอภิปรายผลโดยนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์สอดคล้องกับผลการศึกษา และอาจมีข้อเสนอแนะในการที่จะสามารถต่อยอดงานในอนาคต

3.ส่วนท้าย จะประกอบไปด้วย

เอกสารอ้างอิง หมายถึง รายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ 

ภาคผนวก เป็นส่วนประกอบที่เพิ่มเข้ามาเพื่อทำให้งานสมบูรณ์มากขึ้น

ผลการวิเคราะห์ จะเป็นการแนบตัวผลงานที่ผู้วิจัยวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป หรือบทสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้ไปสัมภาษณ์ หรือรูปภาพระหว่างการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อแสดงสิ่งที่ผู้วิจัยได้จัดทำมาทั้งหมด

อาจสรุปได้ว่าในการที่จะทำให้วิทยานิพนธ์ของผู้วิจัยให้สมบูรณ์ ผู้วิจัยควรที่จะมีการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาว่ามีการวิเคราะห์ในแง่มุมเชิงวิชาการ มีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องสวยงามตามหลักไวยากรณ์ มีการนำเสนอข้อมูลที่ลึกซึ้งเป็นแผนภาพ ตาราง หรือกราฟ และส่งเสริมให้มีการขยายผลของการศึกษาหรือต่อยอดวิทยานิพนธ์ได้ในภายหลัง ได้หรือไม่

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ ให้มีความกระชับได้ใจความสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดีจะเป็นจุดดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจที่จะหยิบวิทยานิพนธ์เล่มนั้นขึ้นมาอ่าน ซึ่งการที่ตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ไม่ซ้ำกับคนอื่น มีการตั้งชื่อที่ชัดเจนสอดคล้องกับสาขาที่ศึกษา จะทำให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านน่าอ่านมากยิ่งขึ้น เทคนิคในบทความนี้จึงที่จะมาเป็นตัวช่วยใหม่ ในการตั้งชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้วิทยานิพนธ์การตั้งหัวข้อสมบูรณ์แบบมากขึ้น

ภาพจาก pexels.com

วิธีง่ายๆ สำหรับการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

1.ความสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน

ตัวของผู้วิจัยเองต้องรู้ตัวเองว่าสาขาที่เรียนมีหัวข้ออะไรบ้างที่น่าสนใจ เหมาะสมที่จะนำมาศึกษา การตั้งชื่อเรื่องหรือไม่ จึงเป็นแนวทางในการตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบโดยใช้กระบวนการวิจัยนั้นเอง และส่วนประกอบของชื่อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสาขาวิชาที่ที่วิจัยเรียนมานั่นเอง

2.การสะท้อนปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา

ก่อนที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ จะต้องรู้ปัญหาที่ต้องการอยากจะรู้ ซึ่งก่อนมีการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้นั้น ท่านต้องทำการศึกษาหรือทฤษฏีที่จะนำมาศึกษามาก่อนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเด็้นที่จะศึกษา และใช้ประเด็นดังกล่าวในการประกอบการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าo

3.หัวข้อต้องมีความทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์

การเลือกหัวข้อให้ทันสมัย เป็นอีกปัญหาที่ต้องพอเจอ สำหรับคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องเลือกหัวข้อที่กำลังเป็นประเด็นปัญหาที่ร้อนแรงอยู่ ณ ตอนนั้นเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการดึงดูดให้คนทั่วไปหันมาสนใจงานของท่าน

4.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการศึกษาให้ชัดเจน 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรบางส่วนที่ท่านสนใจจะศึกษา ส่วนพื้นที่ในการศึกษา คือ ขอบเขตของงานที่จะศึกษา ท่านสามารถนำกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่ในการศึกษาไประบุต่อท้ายในหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่านได้ เพื่อให้หัวข้อข้อวิทยานิพนธ์มีความชัดเจนในขอบเขตการทำงานมากยิ่งขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

5.การลงมือทำได้จริง

หัวข้อวิทยานิพนธ์ควรที่จะตั้งอยู่บนความเป็นจริง และเกิดปัญหานั้นขึ้นจริง  เช่น การตั้งหัวข้อชื่อเรื่อง “ความสัมพันธ์การใช้อำนาจบริหารของผู้นำในองค์กรบริษัท  ABC จำกัด (มหาชน)” ซึ่งการตั้งหัวข้อเช่นนี้ ผู้วิจัยสามารถลงมือทำหัวข้อวิทยานิพนธ์นี้ได้จริง เนื่องจากเกิดปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงต้องศึกษาสาเหตุปัญหา และสัมภาษณ์ทั้งพนักงานฝ่ายปฏิบัติว่าอยากได้ผู้นำในรูปแบบไหน และสัมภาษณ์ผู้นำว่ามีการสร้างสัมพันธ์ในสถานที่ทำงานอย่างไร ซึ่งนำมาถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การตั้งหัวข้อชื่อเรื่องดังกล่าวจึงเกิดขึ้น   

จึงสรุปได้ว่า การมีเทคนิคการตั้งหัวข้อที่ดี ถือว่าตัวของผู้วิจัยเองมีความรู้ในเรื่องที่ศึกษา และยังเป็นการลดเวลาในการทำส่วนอื่นๆ ซึ่งทำให้งานเสร็จทันเป็นไปตามแผนการของผู้วิจัย ตรงตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การตั้งชื่อวิทยานิพนธ์ต้องมีความน่าสนใจ มีความเฉพาะตัวของเรื่องที่ทำการศึกษา แต่ต้องไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป และหัวข้อตรงบ่งชี้ถึงสาระสำคัญได้อย่างชัดเจน

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

5 เทคนิคหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ทำอย่างไรให้เสร็จไว จบง่าย

ภาพจาก pexels.com

การวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิจัย เป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ จัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ เพื่อหาคำตอบตามประเด็นปัญหาการวิจัย และตามสมมุติฐานที่ได้กำหนดไว้ อาจกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลมุ่งเน้นไปที่วิธีการเชิงกลยุทธ์ โดยมีการรับข้อมูลดิบไปวิเคราะห์ เพื่อให้ข้อมูลที่แสดงออกมาในสายตาผู้อ่าน มีความเข้าใจข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการจะสื่อมากขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลควรที่จะมีเทคนิคในการทำเพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ และเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้นจากการรวมเทคนิคไว้ 5 เทคนิคด้วยกัน ดังนี้

1. เลือกใช้สถิติในการวิจัยที่ไม่ต้องยากจนเกินไป 

เนื่องจากในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติมีความหลากหลาย โดยมีทั้งสถิติระดับง่าย ระดับกลาง และระดับสูง หรือสถิติบางตัวอาจต้องใช้โปรแกรมอื่นร่วมด้วย จนทำให้ผู้วิจัยโฟกัสการทำวิทยานิพนธ์ผิดจุด ไปเน้นการวิเคราะห์สถิติแปลกใหม่ ให้ดูว่างานวิจัยของท่านนั้นมีการวิเคราะห์สถิติระดับสูง หรือไม่ผูู้วิจัยบางท่านก็อาจมีท้อไปเลยก็มี เพราะนอกจากจะเหนื่อยในการจัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ ของข้อมูลแล้ว ยังต้องมาศึกษาสถิติที่ท่านไม่รู้จัก ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าสถิติในการวิจัยบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงก็ได้ เพียงแค่ใช้สถิติที่สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของงานได้ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นการบรรลุวัตถุุประสงค์ของการทำวิจัยแล้ว ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยใช้สถิติขั้นสูง อย่างเช่น SEM หรือ AMOS ซึ่งต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และสร้างโมเดลร่วมด้วย นอกจากผู้อ่านผลงานจะไม่เข้าใจแล้ว ผู้อ่านจะไม่สนใจงานวิจัยของเราด้วย

2. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ในปัจจุบันเราได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างและแชร์แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Google Forms ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของเรารวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้พร้อมกันภายในครั้งเดียวภายในเวลาไม่กี่นาที อีกทั้งผู้วิจัยสามารถดูข้อมูลคำตอบได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย ไม่ว่าจะตอบแบบสอบถามทางมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมา ที่ต้องสร้างแบบสอบถามขึ้นมา หลังจากนั้นนำมาถ่ายเอกสารตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และต้องจ้างคนหลายคนไปช่วยเก็บแบบสอบถามตามพื้นที่ ที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ ผู้เขียนถือเป็นว่าเสียเวลามากในการทำงานเพราะต้องใช้เวลาหลายวัน ผู้วิจัยบางท่านใช้เวลาเป็นเดือนในการทำสิ่งนี้ นอกจากเสียเวลาแล้วยังเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจ้างพนักงานเดินเก็บข้อมูลเป็นรายชุด ค่ากรอกแบบสอบถาม เป็นต้น หากผู้วิจัยหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ใช้ฟรี จะช่วยให้ลดเวลาการทำงานได้อย่างมหาศาล และจะทำให้งานเสร็จ จบง่าย ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com

3. การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัย

การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัยนี้ มีความสำคัญมากกว่าการเลือกใช้เครื่องมือเสียอีก หากผู้วิจัยมีการวางแผนก่อนการทำงาน มีจัดระเบียบการทำงานว่าส่วนไหนทำก่อน-หลัง และทำตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ไปตามลำดับขั้นตอน ผู้วิจัยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วขึ้นมากค่ะ ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยไม่จัดระเบียบความคิด ท่านจะละเลยการทำสิ่งนั้น และไปทำสิ่งอื่นก่อนที่ไม่ใช่งาน ก็จะส่งผลให้การวิเคราะห์ ไม่เสร็จตามแผนที่ได้วางไว้ก่อนหน้า

4. เข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเรา

การเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าไม่ได้ทำให้ผู้วิจัยดูแย่ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น โดยเฉพาะการเข้าหาที่ปรึกษา มีผู้วิจัยหลายท่านไม่กล้าเข้าหาที่ปรึกษา เพราะกลัวว่าที่ปรึกษาจะดุ จนทำให้ผู้วิจัยละเลยการทำวิจัย จนปล่อยระยะเวลาเนิ่มนานเป็นปี ทำให้งานไม่เสร็จเสียที แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าการเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาบ่อยๆ นั้น จะทำให้ท่านได้รับความรู้เพิ่มเติม และที่ปรึกษาจะคอยแนะนำแนวทาง หรือเทคนิคต่าง ผู้วิจัยควรทำในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เสร็จไวขึ้นได้ค่ะ

5. หาความรู้ ที่ใช้เป็นเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 

กากรหาความรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ ถือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลว่าผูู้วิจัยนั้นมีความรู้มากน้อยเพียงพอสำหรับนำความรู้นั้นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจะไม่สมเหตุสมผลเลย หากยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ผู้วิจัยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ เช่น การศึกษาข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Youtube จากบทความต่างๆ ซึ่งในคลิปหรือบทความเหล่านั้นจะมีเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของท่านเสร็จไว และจบง่ายตามจุดประสงค์ของท่าน

ภาพจาก pexels.com

ทั้งนี้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล่าวมาจะเป็นส่วนที่เข้าไปช่วยเสริมในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ของคุณให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน และขอแนะนำว่าให้คุณย้อนกลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหัวข้อการเลือกข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณมีความชัดเจนน่าสนใจเป็นที่น่าจับตามองของคนอ่านมากยิ่งขึ้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่ายๆ

ภาพจาก pexels.com

ปัญหาอันดับต้นๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ คือการตั้งหาข้อ จะตั้งหัวข้ออะไรดีที่ให้มีความน่าสนใจที่จะไม่ซ้ำกับคนอื่น และทำอย่างไรให้ถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นใบเบิกทางไปสู่ผลสำเสร็จ หัวข้อที่ตั้งต้องมีความกระชับ กะทัดรัด และแสดงถึงประเด็นที่ต้องการจะศึกษา บทความนี้จะมานำเสนอ 3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่าย ๆ กันคะ

1.ตั้งชื่อตามสิ่งที่ตนเองสนใจศึกษา

ให้ลองคิดทบทวนว่าคุณสนใจสิ่งใด แล้วสิ่งที่สนใจตรงกับสาขาวิชาที่ศึกษาหรือไม่ เนื่องจากในแต่ละสาขาจะหลักการแนวคิดเป็นของตัวเอง หากตั้งให้ตรงได้จะทำให้คุณหมดปัญหาในขั้นตอนแรกไปได้ ดังนั้นชื่อเรื่องจึงควรที่จะมีความชัดเจน รัดกุม สื่อไปถึงความหมายของเนื้อหา ระบุถึงปัญหา เช่น ศึกษาอยู่ในสาขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ก็ควรที่จะศึกษาสถานการณ์ในปัจจุบันว่ามีแนวโน้มที่มีความเกี่ยวข้องอะไรบ้าง ให้อยู่ในกรอบงานที่จะทำ และสอดคล้องกับสถานการณ์

2.ทำในสิ่งที่ถนัดเชี่ยวชาญ

หากหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์ที่คุณทำนั้น เป็นสิ่งที่คุณถนัด มีความชำนาญ หรือตรงกับสายอาชีพจะเป็นการต่อยอดผลงานได้ดี สามารถนำมาต่อยอดจากงานวิจัยเล่มเดิมที่เคยทำมาแล้ว วิธีนี้จะเป็นการทำให้คุณคิดหัวข้อได้เร็ว และเลือกหัวข้อได้ไว เนื่องได้มีการทบทวนในสิ่งที่ทำมาแล้วบ้างบางส่วน แล้วนำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อหาแนวทางในการปรับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของคุณได้ 

ภาพจาก pexels.com

3.ตั้งหัวข้อให้มีการเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

จากสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่น่าใจมากมายขึ้น คุณอาจจะนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นประเด็นในการตั้งชื่อเรื่องของคุณ ให้คุณทำการคาดการณ์ถึงกระแสนิยม แนวโน้มเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้คุณมีผลข้อมูลมากพอที่ใช้ในการศึกษา และสามารถนำผลของข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ได้ทันที ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าที่จะเกิดขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

ดังนั้น การที่เลือกหัวข้อให้เข้ากับตัวเองที่เหมาะสมจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี และควรจะเลือกหัวข้อให้อยู่ในกรอบของงานที่จะทำให้มีความหมายที่ชัดเจน หากทำตาม 3 เทคนิคนี้ได้ ก็จะทำให้คุณนำหน้าหลายๆ คนที่ยังไม่ทำตามได้ เพื่อให้ท่านได้ทำงานวิจัยที่ท่านชื่นชอบ เป็นประเด็นเนื้อหาให้เข้ากับปัจจุบัน นำไปปรับใช้ต่อยอดให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

4 เทคนิค การตั้งหัวข้อการทำ IS ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่ายๆ

ภาพจาก canva.com

ก่อนที่จะรู้เทคนิคการตั้งหัวข้อการทำ IS ก็ควรที่จะรู้ก่อนว่า IS คืออะไร

ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจากจะมีการทำวิทยานิพนธ์ที่เป็นงานหลักแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดทำคือ การค้นคว้าอิสระ หรือที่นักศึกษาปริญญาโทเรียกติดปากว่า IS เป็นกระบวนการให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างมีอิสระ ทำให้ตัวผู้ศึกษามีประสิทธิภาพในการพัฒนาความคิด สามารถเปิดโลกกว้างอย่างอิสระ ในเรื่องของประเด็นที่ตนเองสนใจ โดยการดำเนินการค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้นก็หาวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทำประโยชน์แก่สาธารณะ บทความนี้จะมาบอกเทคนิคในการตั้งหัวข้อ IS อย่างไรให้ผ่านง่ายๆ ซึ่งนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังจะเริ่มทำ IS สามารถนำมาปรับใช้ในงานของตนได้

ภาพจาก pexels.com

4 เทคนิคการตั้ง หัวข้อการทำ IS ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่าย ๆ

1.สนใจในปัญหาในเรื่องใดให้นำมาไปหัวข้อ

ใครจะรู้ว่าปัญหารอบตัวเรานี่แหละ สามารถนำมาเป็นหัวของ IS ได้ เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก
รอบๆ ตัวเรา เกิดจากสิ่งที่คุณสงสัย หัวข้อในการทำ IS ที่ดีต้องไม่ซ้ำเรื่องกับคนอื่นหรือเป็นงานที่เคยมีการทำมาก่อนแล้ว เพราะว่ามันจะไม่เป็นการตอบโจทย์ปัญหาแก้ไขในข้อสงสัยของเราได้ โดยที่คุณจะต้องจับประเด็นหลักของข้อสงสัยให้มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจนว่าต้องการที่ค้นคว้าอะไร หากเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ต้องเป็นสิ่งซึ่งแสดงอกกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย คำนึงถึงประโยชน์ของผู้ที่จะได้รับจากศึกษา เพราะจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลงานที่ได้จากการค้นคว้าอย่างอิสระของคุณ หากทำแล้วไม่เกิดแนวคิดความรู้ใหม่ๆ จากการตั้งหัวข้อจะทำให้เป็นการลดคุณค่าของการทำ IS ในหัวข้อดังกล่าว

2. ชื่อหัวข้อที่แปลกใหม่เป็นจุดประกายความคิดสร้างสรรค์

การตั้งหัวข้อ IS นอกจากจะเป็นการตั้งให้ตรงตามจุดสนใจของตนเองแล้ว การคิดหัวข้อที่แปลกใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นทำให้คนที่สนใจเข้ามาอ่านในหัวข้อของคุณที่จะนำเสนอ หากเป็นหัวข้อที่ไม่มีความแปลกใหม่ทันสมัยจะเป็นการทำให้ทำเรื่องเดิมซ้ำๆ ไม่มีความพัฒนาก้าวหน้า ในยุคสังคมในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การที่คิดหัวข้อแปลกใหม่ก็จะทำให้งานของคุณเป็นไปตามยุคสมัย หากหัวข้อมีความล้าหลัง หรือมีหัวข้อที่ซ้ำกับคนที่เคยทำมาแล้ว จะทำให้งานของคุณขาดประสิทธิภาพ ไม่เกิดการพัฒนา หัวข้อ IS ของคุณอาจมาจากหลายๆ แหล่งที่มา อาจเกิดมาจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การเข้าไปเยี่ยมชมตามสถานที่ต่างๆ ฟังจากการบรรยายทางวิชาการ จากสื่อต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถทำให้คุณนำมาประกอบการตั้งหัวข้อ IS ของคุณได้

3. หัวข้อที่ดีควรมีความชัดเจนของปัญหาที่จะค้นคว้า

หัวข้อที่มีความชัดเจนจะสื่อไปถึงสิ่งที่คุณกำลังจะทำ นำไปสู่การศึกษาค้นคว้าแบบมีแบบแผน มีหลักการขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อถึงการลงมือทำจริงจะสามารถลงมือทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องตามหลักวิชาการ การศึกษาค้นคว้าจะไม่มีการสับสนวกวน ช่วยให้ลดระยะเวลาในการทำงาน ทำให้มีเวลาเพียงพอในการไปทำส่วนอื่นๆ เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางจะจะกำหนดแผนการต่างๆ หากไม่มีความชัดเจนจะทำให้คุณเสียเวลาในการทำ สิ้นเปลืองต่องบประมาณที่ใช้ เวลาในการทำก็จะลดลงไปด้วยทำให้งานไม่เสร็จตามที่กำหนด เพราะฉะนั้นความชัดเจนของปัญหาเป็นการตัดปัญหาที่จะมีผลตามมา

ภาพจาก pexels.com

4. หัวข้อต้องมีประโยชน์ และมีคุณค่าในตัว

หากตั้งหัวข้อไปแล้วไม่ทำให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่ทำการศึกษาค้นคว้ามานั้นทำไปแล้วสูญเปล่า เพราะเรื่องที่คุณทำควรที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวมได้ สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้ดีขึ้น การเขียนหัวข้อที่ไม่ดึงดูด ทำให้ไม่เกิดความน่าสนใจ ดังนั้นการตั้งหัวข้อต้องตอบโจทย์การใช้งานของผู้ที่จะเข้ามาอ่านให้ได้มากที่สุด ซึ่งคุณจะต้องใส่ใจถึงปัญหาของคนที่จะเข้ามาอ่าน ว่า IS ที่จัดทำนั้นจะเป็นการสร้างประโยชน์แก่ผู้ที่จะเข้ามาอ่านได้ การเขียนหัวข้อที่นึกถึงคนอ่านก็จะช่วยให้งานของคุณดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้อ่านจะใช้เวลาในการอ่านบทความที่ให้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าบทความทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าหัวข้อเรื่องนัั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้จัดทำจะต้องมองให้เห็นถึงผลลัพธ์ในด้านประโยชน์จากการศึกษาในเรื่องที่ทำ ว่าจะส่งผลต่อคนในสังคมให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด หากไม่นึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับงานที่ได้ทำลงไป ก็คงจะเป็นเพียงกระดาษหรือรายงานที่รวบรวมมาไว้ในเล่ม IS เพียงเท่านั้น

จึงสรุปได้ว่าหัวข้อ IS เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้ดึงดูดให้คนอื่นเข้ามาอ่าน ซึ่งผู้ทำจะต้องยึดหลักความมีประโยชน์ทั้งต่อตัวของผู้ทำเอง และสังคม ที่จะได้รับหากตั้งมาแล้วลงมือทำไปไม่เกิดประโยชน์จากการนำสิ่งที่เรียนมาใช้จะส่งผลต่อการลดคุณค่าของการทำ IS ในหัวข้อนั้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ

หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งแรกๆ ที่เราควรจะให้ความสำคัญ ว่าจะต้องตั้งอย่างไรให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้คนที่สนใจในเรื่องแบบเดียวกับเราเข้ามาอ่านงานของเรา หรือจะทำอย่างไรให้งานของเราไปสะดุดตาให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านงานของเรา นอกจากการจะตั้งหัวข้อให้ผ่านแล้ว ควรที่จะตั้งให้มีความน่าสนใจด้วยไม่เช่นนั้นแล้วงานของคุณก็จะได้รับการเปิดอ่านที่น้อยมากหรือไม่มีการเปิดอ่านเลย ทำให้สิ่งที่ทำมานั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรแม้ว่าสิ่งที่ได้ทำมีประโยชน์มากแค่ไหน แล้วจะตั้งอย่างไรให้น่าสนใจ บทความนี้จะมาบอกเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้หัวข้อวิทยานิพนธ์มีความน่าสนใจมากขึ้น มาฝากกันค่ะ

ภาพจาก pexels.com

1.ตั้งตามสิ่งที่เราสนใจ

สิ่งที่เราสนใจนี้แหละ!! จะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์อย่างดีให้กับเรา เพราะสิ่งที่เราสนใจมักจะเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรา หรือเป็นสิ่งที่สนใจ อาจเกิดจากการได้เรียนในสาขา หรือจากประสบการณ์ที่ได้พบเจอ นำสิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นมาหางานที่เกี่ยวข้อง มาทบทวน แล้วกำหนดปัญหา ถือเป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องทำ ซึ่งงานวิทยานิพนธ์ที่จะทำมันจะยากหรือง่าย ขึ้นอยู่กับปัญหาหากปัญหาที่จะทำมันยากการที่จะดำเนินการก็จะยากตามไปด้วย ปัญหาอาจจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงเราจะต้องบอกให้ได้ว่าประเด็นหลักที่สำคัญของงานนี้คืออะไร แล้วนำมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง และปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงจะต้องระบุถึงปัญหานั้นโดยตรง อาจเกิดจากข้อย่อยๆ ที่เกิดจากปัญหาที่ไม่เจาะจงนำมาเป็นปัญหาแล้วจะต้องเขียนให้มีความชัดเจน และครบคลุมทุกปัญหาในวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และจะมีกี่ข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราสนใจ

2.สิ่งที่แตกต่างทำให้หัวข้อน่าสนใจ

หัวข้อวิทยานิพนธ์หากตั้งแล้วไม่แตกต่างกับสิ่งที่คนอื่นเคยทำ จะทำให้งานที่เราทำกลายเป็นสิ่งที่ทำคนอื่นคิดว่าสิ่งที่เราทำเป็นการลอกเรียนแบบผลงานของคนอื่นได้ ดังนั้นเราควรที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความแตกต่างจากสิ่งเดิมที่เคยมีคนทำมาแล้ว จะทำให้งานของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น หากหัวข้อที่ไม่แตกต่างจะเป็นการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใหม่ๆ สิ่งที่แตกต่างจะทำให้งานที่ได้ บ่งบอกถึงความรู้ที่เรามีนั้นแตกต่างจากคนอื่น โดยก่อนจะทำให้แตกต่าง เราจะต้องมีความรู้เดิมเป็นพื้นฐาน มีความชำนาญในเรื่องนั้นก่อน จะทำให้งานที่ได้มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ หากไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น จะทำให้งานที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ เราจะต้องทำการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเรา เพื่อนำมาเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมงานวิจัยของเรา นำมาหาข้อที่จะสามารถมาต่อยอดเป็นงานของเราได้ให้มีความแตกต่างจากสิ่งเดิม เพื่อเพิ่มให้งานมีประสิทธิภาพครบถ้วนสมบูรณ์

ภาพจาก pexels.com

3. ตั้งให้อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน

หัวข้อควรจะตั้งให้เห็นถึงปัจจุบัน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้มากที่สุด จะทำให้งานของเรามีความทันสมัย และเกิดประโยชน์กับสิ่งที่จะนำไปใช้ให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที หากตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ที่จะนำไปใช้ เพราะผู้อ่านไม่เข้าใจ จึงทำให้สิ่งที่ทำลงไปสูญเปล่าได้ เพราะในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมามากขึ้น เราเองก็จะต้องเข้าถึงและเข้าใจสังคมในยุคปัจจุบันด้วย ว่ามีอะไรกำลังเป็นที่น่าสนใจอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่เราสนใจ และถนัดในเรื่องนั้น หรือไม่หากเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้นจริง แต่เป็นสิ่งที่เราไม่สนใจจะทำให้การทำงานของเรานั้นไม่มีความสุข จะเป็นการทำตามสมัยไปไม่เกิดอะไรขึ้นกับตัวเองด้วยเช่นกัน จนกลายเป็นว่าทำงานนั้นไปเพื่อให้จบการศึกษา โดยที่เรานั้นไม่ได้ประโยชน์หรือนำความรู้ที่มีมาใช้เลย

ภาพจาก pexels.com

ดังนั้น การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจเป็นสิ่งที่จะดึงดูดให้มีผู้อ่านหลงเข้ามาอ่านมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการหาข้อมูล แต่จะทำให้ผู้อ่านสงสัยว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีอยู่ แล้วเกิดความคิดอยากที่จะทำในสิ่งที่คล้ายกับงานของคุณ และนำงานวิจัยของคุณมาเป็นต้นแบบ ต่อยอดในงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากคุณอยากให้งานหัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นที่น่าสนใจลองนำเอาเทคนิคที่ได้กล่าวมาไปปรับใช้กับวิทยานิพนธ์ของคุณดู ก็จะทำให้งานของคุณมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)