คลังเก็บป้ายกำกับ: บริการรับทำดุษฎีนิพนธ์

การเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ทำยากไหม มีขั้นตอนการทำอย่างไร

การเขียนเค้าโครงของวิทยานิพนธ์ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้วิจัยจะต้องจัดทำขึ้น ถือเป็นเอกสารแสดงรายละเอียดของการวางแผนการทำวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยหรือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้จัดทำขึ้น เพื่อเป็นกรอบแนวความคิด หรือแนวทางการทำวิทยานิพนธ์ตั้งแต่ต้นจนจบ นอกจากนั้นการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ยังถือเป็นเอกสารที่ใช้สื่อระหว่างผู้ร่วมทำวิทยานิพนธ์ เพื่อให้เข้าใจกันในหลักการเดียวกัน และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ทำให้ผู้วิจัยสามารถติดตาม ควบคุม กำกับงาน และประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง โดยการเขียนเค้าโครงของวิทยานิพนธ์
ผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นจากการคิดหาประเด็นปัญหา หรือคำถามที่ตัวผู้วิจัยสนใจแล้วนำไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอความคิดเห็น ซึ่งในบทความนี้จะมีขั้นตอนสำหรับผู้วิจัยที่กำลังจะเริ่มเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ตามขั้นตอน ดังนี้

ภาพจาก pexels.com

1. ชื่อเรื่อง (Title)

การตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์จะต้องใช้คำที่กะทัดรัด ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนเป็นข้อความ คำนาม วลี ในชื่อเรื่อง เพื่อสะท้อนหรือชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาการวิจัย อาจกล่าวได้ว่าการตั้งชื่อเรื่องจะต้องสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหาที่ต้องการหาคำตอบนั่นเอง ดังนั้นชื่อเรื่องควรมาจากสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจหรือมีความชำนาญในเนื้อหาที่จะทำ แต่ก่อนเริ่มตั้งชื่อเรื่องเพื่อเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์นั้น จะต้องนำชื่อเรื่องที่สนใจไปปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะเป็นคนที่บอกว่าชื่อเรื่องของผู้วิจัยเหมาะสมกับปริญญาที่ศึกษาหรือไม่ เมื่อชื่อเรื่องผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้วิจัยจึงจะสามารถลงมือทำได้ เนื่องจากการตั้งชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์จะบ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการทำวิทยานิพนธ์ เช่น การวิจัยเชิงสำรวจ มักจะใช้คำว่าการสำรวจหรือการศึกษาเป็นคำขึ้นต้น และอาจจะระบุตัวแปรเลยก็ได้ ส่วนการวิจัยเชิงทดลอง มักจะใช้คำว่าการทดลอง การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การเปรียบเทียบนำหน้า เป็นต้น

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Background and Rationale)

ในส่วนของความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นการให้เหตุผลประกอบว่าทำไมเรื่องของเราจึงสมควรศึกษาวิจัย ซึ่งความเป็นมาควรจะชี้ให้เห็นว่าประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามที่จะศึกษาหาคำตอบนั้นมีภูมิหลังหรือความเป็นมาอย่างไร ปัญหานั้นมีความสำคัญ และสมควรศึกษาหาคำตอบอย่างไร มีผู้เสนอแนวคิดหรือทฤษฏีสำหรับตอบปัญหานั้นหรือไม่ หรือมีประเด็นใดบ้างที่ยังไม่ชัดเจน หรือยังไม่มีคำตอบ เพื่อแสดงเหตุผลให้เห็นว่า เรื่องที่นำมาศึกษานี้สำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งในการหยิบยกประเด็นปัญหาต่างๆ ขึ้นมา จนทำให้ผู้วิจัยสนใจ และตัดสินใจเลือกที่จะศึกษาเรื่องนี้

ภาพจาก pexels.com

3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

วัตถุประสงค์การวิจัยจะเป็นสิ่งที่วางเป้าหมายการทำงานไว้ล่วงหน้า ว่าผู้วิจัยจะดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนไปสู่จุดมุ่งหมายใด ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน และควรใช้เป็นประโยคบอกเล่ามากกว่าที่จะใช้เป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธ ซึ่งส่วนใหญ่จะขึันต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” โดยแต่ละข้อจะต้องมุ่งไปทิศทางเดียวกันในการสะท้อนปัญหา และตอบปัญหาการวิจัยในแต่ละแง่มุม 

4. คำถามของการวิจัย (Research Question) คำถามวิจัยที่ดีจะสามารถช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ สมมติฐาน และวิเคราะห์ตัวแปรเหล่านั้นออกมา เพื่อแก้ไขปัญหาได้ดี หากผู้วิจัยตั้งคำถามที่ไม่ชัดเจนจะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ตัวผู้วิจัยไม่มีความมั่นใจในศึกษาข้อมูลวิทยานิพนธ์ในครั้งนี้ นอกจากนั้นจะทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนและตั้งข้อสงสัยกับผู้จัดทำวิทยานิพนธ์ขณะอ่าน จึงอาจกล่าวได้ว่าการตั้งคำถามของการวิจัยนั้นจะต้อง เป็นคำถามที่มีความเหมาะสมหรือมีความสัมพันธ์กับเรื่องที่จะศึกษาด้วย

ภาพจาก pexels.com

5. ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

การทบทวนวรรณกรรมเป็นการเขียนที่ได้มาจากการค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฏี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงปัญหา และแนวทางในการดำเนินการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องจัดเรียงลำดับตามหัวข้อเนื้อเรื่องที่ไว้วางแผนไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นจึงทำการสรุปให้เห็นถึงการสอดคล้อง และข้อขัดแย้ง ซึ่งการเขียนในส่วนนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการนำไปตั้งสมมติฐานด้วย

6. สมมติฐาน (Hypothesis) และกรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework)

การตั้งสมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำวิทยานิพนธ์ เป็นการคาดเดาคาดคะเนอย่างมีเหตุผลตามแนวคิดทฤษฎี ทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทาง และแนวทางในการทำวิจัย ซึ่งสมมติฐานและกรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดีจะต้องตอบคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้อย่างครบถ้วน

7. ขอบเขตของการวิจัย (Delimitation)

เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยมีขอบข่ายไปในทิศทางใด เพื่อป้องการการศึกษาไม่ครบถ้วน
ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้แน่นอน อาจจะกำหนดเรื่องให้แคบจากบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งของสาขาวิชาที่ได้ศึกษาก็ได้ ซึ่งขอบเขตของการวิจัยที่สำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนด ได้แก่ ลักษณะประชากรและจำนวนประชากร การเลือกสุ่มตัวอย่าง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง และวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่าง นอกจากนั้นยังควรมีตัวแปรที่ศึกษา โดยระบุทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามลงไปด้วย

8. การให้คำนิยามศัพท์ที่จะใช้ในการวิจัย (Operatonal Definition)

ในการวิจัยอาจมีตัวแปรหรือคำศัพท์เฉพาะต่างๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจนที่ตรงกับเรื่องที่ผู้วิจัยศึกษา ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องมีคำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้วิจัยที่สามารถสังเกตหรือวัดได้ ไม่อย่างนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปในความหมายอื่นได้ ซึ่งประเภทของการเขียนนิยามศัพท์ มีดังนี้

  • คำนิยามศัพท์เฉพาะ เป็นคำที่ให้ความหมายคำศัพท์ที่ใช้ในการงานวิจัยให้มีความเฉพาะเจาะจงให้เข้ากับประเด็นที่เกี่ยงข้องกับการวิจัย เพื่อทำความเข้าใจความหมายให้ตรงกัน
  • การนิยามแบบทั่วไป เป็นการกำหนดความหมายโดยทั่วไปอย่างกว้างๆ อาจจะให้ความหมายตามทฤษฎี พจนานุกรม
  • การนิยามปฏิบัติการ เป็นนิยามศัพท์ที่สามารถเอาผลมาใช้ปฏิบัติได้จริง

9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application)

หัวข้อนี้จะอธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริง ซึ่งผู้วิจัยควรที่จะระบุว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้นจะเกิดกับใครเป็นสำคัญ ประเด็นนี้อาจนับได้ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญของการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ เพราะเป็นประเด็นที่ใช้ประเมินว่างานวิจัยเรื่องนี้จะมีผลอะไรที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ หรือมีประโยชน์มากน้อยเพียงใด ถือเป็นหัวข้อที่สำคัญจะเป็นส่วนที่บ่งชี้ถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องทำการวิจัยปัญหานั้นๆ

10. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)

ระเบียบวิธีวิจัยนั้นจะต้องประกอบไปด้วย วิธีวิจัย แหล่งข้อมูล ประชากรที่จะศึกษา วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยในแต่ละขั้นว่าจะต้องทำอย่างไร

ภาพจาก pexels.com

11. ระยะเวลาในการดำเนินการ 

ผู้วิจัยจะต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ทั้งหมดว่าใช้เวลานานเท่าใด และต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการทำวิทยานิพนธ์ โดยแสดงให้เห็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการ เช่น ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำและวันสิ้นสุด ถ้าหากเป็นโครงการระยะยาว และมีหลายช่วงระยะเวลาผู้วิจัยก็ควรที่จะระบุแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน เพื่อใช้เป็นรายละเอียดประกอบการพิจารณา อนุมัติโครงการ

12. การอ้างอิง (Referrences)

การอ้างอิงถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องมีเอกสารอ้างอิงในเนื้อหาที่เข้าไปศึกษาเรื่องนั้นๆ ซึ่งรายการที่ใช้อ้างอิควรจัดทำในรูปแบบที่เป็นไปตามสากลนิยม โดยส่วนใหญ่นิยมใช้ การอ้างอิงแบบ APA Style หรือ Chicago Style ซึ่งการอ้างอิงแต่ละรูปแบบจะขั้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย หรือสาขาวิชา ซึ่งผู้วิจัยสามารถค้นคว้า หรือหาข้อมูลวิธีการอ้างเพิ่มเติมได้ จากแหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตทั่วไป

จากรายละเอียดการเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่กล่าวมาข้างต้น อาจมีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมแล้วแต่รูปแบบของมหาวิทยาลัย เช่น งบประมาณ ประวัติผู้วิจัย หรือภาคผนวก ผู้วิจัยสามารถนำใส่ได้ตามสมควร ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านที่กำลังจะเริ่มเขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

งานวิทยานิพนธ์ คือ

วิทยานิพนธ์ หรือชื่อที่เราคุ้นเคยอีกอย่างหนึ่งว่า thesis นั่นเอง!! อาจกล่าวได้ว่าวิทยานิพนธ์เป็นผลงานหนึ่งของผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาทุกคนจะต้องจัดทำขึ้น เพื่อวัดความรู้ความสามารถจากสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาตลอดหลักสูตรที่ได้เรียนมา อีกทั้งผู้ที่จัดทำวิทยานิพนธ์อีกกลุ่มหนึ่งที่จะต้องจัดทำผลงานเช่นกันจะเป็นกลุ่มนักวิจัย หรือนักวิชาการต่างๆ ที่จะต้องจัดทำวิทยานิพนธ์เพื่อใช้เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งปรับฐานเงินเดือนของตนเอง วิทยานิพนธ์ในความหมายของบทความนี้จึงเป็นงานวิจัยทางด้านวิชาการที่ได้มีการไตร่ตรอง หรือมีการวางแผน ผ่านงานวิทยานิพนธ์ออกมาอย่างมีรูปแบบ และเป็นระเบียบแบบแผน โดยผู้วิจัยได้มีการนำทฤษฎีทั้งในและต่างประเทศมาผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ตามขั้นตอน วิธีการ ในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ และอ้างอิงตามหลักการ ของการทำวิทยานิพนธ์ จนได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมานั้นต้องจัดทำเพื่อเป็นการหาคำตอบของคำถามในงานวิจัย ในการนำมาสนับสนุนหรือยืนยันทฤษฎีที่ตนเองได้กล่าวสรุปในงานวิจัย อีกทั้งเมื่อจัดทำวิทยานิพนธ์สำเร็จ จะถือว่างานชิ้นนั้นเป็นเกียรติคุณของผู้จัดทำที่ได้เสียสละเวลาและมุ่งมั่นในการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ หรือเป็นใบเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ผู้วิจัยสนใจในอนาคต และต้องการจะค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่ตัวเองสนใจ

ผู้เขียนจึงอยากจะอธิบายส่วนประกอบสำคัญในการทำวิทยานิพนธ์ให้ผู้อ่าน ได้นำไปตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของท่านว่ามีองค์ประกอบครบตามหลักการทำวิทยานิพนธ์หรือไม่ ซึ่งหากมีสิ่งใดขาดหายไปท่านจะได้นำมาเพิ่มเติมเพื่อให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำวิทยานิพนธ์

ภาพจาก www.Pixabay.com

ในการที่จะทำวิทยานิพนธ์จะมีส่วนประกอบหลักๆ ด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนของเนื้อหา และส่วนท้าย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่จะต้องควรมีอย่างน้อย 50 หน้า ซึ่งสามารอธิบายรายละเอียดได้ดังต่อไปนี้

1.ส่วนนำ จะมีองค์ประกอบดังนี้

ปกนอก องค์ประกอบของปกนอกจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ส่วนที่ 1 จะบอกถึงชื่อวิทยานิพนธ์ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนที่ 2 ชื่อผู้จัดทำเป็นภาษาไทย ส่วนที่ 3 บอกถึงคำจำกัดความของวิทยานิพนธ์

ปกใน จะมีลักษณะของปกคล้ายๆ กับปกนอก ตัวอักษรสีดำ โดยมีข้อความเหมือนปกนอก แต่ในการจัดพิมพ์จะใช้ระยะห่างจากขอบกระดาษแบบเดียวกับการพิมพ์รายงาน

ใบรับรองผลสอบวิทยานิพนธ์ ในเล่มจะมีการแนบใบรับรองผลการสอบเข้าไปในเล่มด้วย

บทคัดย่อ มีทั้งภาษาไทย และอังกฤษควรที่จะทำแยกหน้ากัน มีส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นส่วนประกอบที่บอกถึงข้อมูลในการจัดทำวิทยานิพนธ์บอกถึงชื่อหัวข้อผู้จัดทำ หลักสูตร ปีการศึกษาที่จัดทำ อาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่บรรยายถึงภาพรวมของวิทยานิพนธ์ที่ได้จัดทำทั้งหมดรวมถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจในงานวิจัยได้อ่านทำความเข้าใจ 

กิตติกรรมประกาศ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อเป็นการให้เกียรติ หรือขอบคุณแก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ

สารบัญ สารบัญรูปภาพ และสารบัญตาราง เป็นส่วนที่บอกตำแหน่งหน้าของหัวข้อ รูปภาพ และตารางในงานโดยเรียงตามลำดับหัวข้อ

2.ส่วนเนื้อหา  จะประกอบไปด้วย

บทที่ 1 บทนำ เป็นการนำเสนอ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่ามีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไร แนวทางในการทำ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของงาน เพื่อให้ผู้อ่านสามารถมองภาพรวมได้เบื้องต้น

บทที่ 2 ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการอธิบาย พื้นฐาน หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่ผู้อ่านต้องรู้ หรือเข้าใจก่อนที่จะอ่านเนื้อหาในบทต่อไป

บทที่ 3 ระเบียบการวิจัย อธิบายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ในการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4 ผลการทดลอง หรือผลการศึกษา บทนี้จะเป็นบทที่นำเสนอสิ่งที่ผู้วิจัยได้ค้นพบเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ทำขึ้นนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ เป็นการสรุปการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีการอภิปรายผลโดยนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์สอดคล้องกับผลการศึกษา และอาจมีข้อเสนอแนะในการที่จะสามารถต่อยอดงานในอนาคต

3.ส่วนท้าย จะประกอบไปด้วย

เอกสารอ้างอิง หมายถึง รายชื่อหนังสือ วารสาร เอกสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ 

ภาคผนวก เป็นส่วนประกอบที่เพิ่มเข้ามาเพื่อทำให้งานสมบูรณ์มากขึ้น

ผลการวิเคราะห์ จะเป็นการแนบตัวผลงานที่ผู้วิจัยวิเคราะห์ผ่านโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป หรือบทสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้ไปสัมภาษณ์ หรือรูปภาพระหว่างการจัดทำวิทยานิพนธ์ เพื่อแสดงสิ่งที่ผู้วิจัยได้จัดทำมาทั้งหมด

อาจสรุปได้ว่าในการที่จะทำให้วิทยานิพนธ์ของผู้วิจัยให้สมบูรณ์ ผู้วิจัยควรที่จะมีการตรวจความถูกต้องของเนื้อหาว่ามีการวิเคราะห์ในแง่มุมเชิงวิชาการ มีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย มีการใช้ภาษาที่ถูกต้องสวยงามตามหลักไวยากรณ์ มีการนำเสนอข้อมูลที่ลึกซึ้งเป็นแผนภาพ ตาราง หรือกราฟ และส่งเสริมให้มีการขยายผลของการศึกษาหรือต่อยอดวิทยานิพนธ์ได้ในภายหลัง ได้หรือไม่

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงเนื้อหาสาระของวิทยานิพนธ์ ให้มีความกระชับได้ใจความสำคัญ อาจกล่าวได้ว่าการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดีจะเป็นจุดดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจที่จะหยิบวิทยานิพนธ์เล่มนั้นขึ้นมาอ่าน ซึ่งการที่ตั้งชื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ไม่ซ้ำกับคนอื่น มีการตั้งชื่อที่ชัดเจนสอดคล้องกับสาขาที่ศึกษา จะทำให้งานวิทยานิพนธ์ของท่านน่าอ่านมากยิ่งขึ้น เทคนิคในบทความนี้จึงที่จะมาเป็นตัวช่วยใหม่ ในการตั้งชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้วิทยานิพนธ์การตั้งหัวข้อสมบูรณ์แบบมากขึ้น

ภาพจาก pexels.com

วิธีง่ายๆ สำหรับการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

1.ความสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน

ตัวของผู้วิจัยเองต้องรู้ตัวเองว่าสาขาที่เรียนมีหัวข้ออะไรบ้างที่น่าสนใจ เหมาะสมที่จะนำมาศึกษา การตั้งชื่อเรื่องหรือไม่ จึงเป็นแนวทางในการตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบโดยใช้กระบวนการวิจัยนั้นเอง และส่วนประกอบของชื่อเรื่องส่วนใหญ่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงสาขาวิชาที่ที่วิจัยเรียนมานั่นเอง

2.การสะท้อนปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา

ก่อนที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ จะต้องรู้ปัญหาที่ต้องการอยากจะรู้ ซึ่งก่อนมีการกำหนดหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้นั้น ท่านต้องทำการศึกษาหรือทฤษฏีที่จะนำมาศึกษามาก่อนเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเด็้นที่จะศึกษา และใช้ประเด็นดังกล่าวในการประกอบการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าo

3.หัวข้อต้องมีความทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์

การเลือกหัวข้อให้ทันสมัย เป็นอีกปัญหาที่ต้องพอเจอ สำหรับคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะต้องเลือกหัวข้อที่กำลังเป็นประเด็นปัญหาที่ร้อนแรงอยู่ ณ ตอนนั้นเป็นหลัก เพื่อเพิ่มการดึงดูดให้คนทั่วไปหันมาสนใจงานของท่าน

4.กำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการศึกษาให้ชัดเจน 

กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรบางส่วนที่ท่านสนใจจะศึกษา ส่วนพื้นที่ในการศึกษา คือ ขอบเขตของงานที่จะศึกษา ท่านสามารถนำกลุ่มตัวอย่างและพื้นที่ในการศึกษาไประบุต่อท้ายในหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่านได้ เพื่อให้หัวข้อข้อวิทยานิพนธ์มีความชัดเจนในขอบเขตการทำงานมากยิ่งขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

5.การลงมือทำได้จริง

หัวข้อวิทยานิพนธ์ควรที่จะตั้งอยู่บนความเป็นจริง และเกิดปัญหานั้นขึ้นจริง  เช่น การตั้งหัวข้อชื่อเรื่อง “ความสัมพันธ์การใช้อำนาจบริหารของผู้นำในองค์กรบริษัท  ABC จำกัด (มหาชน)” ซึ่งการตั้งหัวข้อเช่นนี้ ผู้วิจัยสามารถลงมือทำหัวข้อวิทยานิพนธ์นี้ได้จริง เนื่องจากเกิดปัญหาการสร้างความสัมพันธ์ในการปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงต้องศึกษาสาเหตุปัญหา และสัมภาษณ์ทั้งพนักงานฝ่ายปฏิบัติว่าอยากได้ผู้นำในรูปแบบไหน และสัมภาษณ์ผู้นำว่ามีการสร้างสัมพันธ์ในสถานที่ทำงานอย่างไร ซึ่งนำมาถึงการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การตั้งหัวข้อชื่อเรื่องดังกล่าวจึงเกิดขึ้น   

จึงสรุปได้ว่า การมีเทคนิคการตั้งหัวข้อที่ดี ถือว่าตัวของผู้วิจัยเองมีความรู้ในเรื่องที่ศึกษา และยังเป็นการลดเวลาในการทำส่วนอื่นๆ ซึ่งทำให้งานเสร็จทันเป็นไปตามแผนการของผู้วิจัย ตรงตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การตั้งชื่อวิทยานิพนธ์ต้องมีความน่าสนใจ มีความเฉพาะตัวของเรื่องที่ทำการศึกษา แต่ต้องไม่สั้นไม่ยาวจนเกินไป และหัวข้อตรงบ่งชี้ถึงสาระสำคัญได้อย่างชัดเจน

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

5 เทคนิคหลักการวิเคราะห์ข้อมูล ทำอย่างไรให้เสร็จไว จบง่าย

ภาพจาก pexels.com

การวิเคราะห์ข้อมูลจัดเป็นส่วนหนึ่งในการทำวิจัย เป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ จัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ เพื่อหาคำตอบตามประเด็นปัญหาการวิจัย และตามสมมุติฐานที่ได้กำหนดไว้ อาจกล่าวได้ว่าการวิเคราะห์ข้อมูลมุ่งเน้นไปที่วิธีการเชิงกลยุทธ์ โดยมีการรับข้อมูลดิบไปวิเคราะห์ เพื่อให้ข้อมูลที่แสดงออกมาในสายตาผู้อ่าน มีความเข้าใจข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการจะสื่อมากขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลควรที่จะมีเทคนิคในการทำเพื่อที่จะได้ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ และเข้าใจในการวิเคราะห์ข้อมูลให้มากขึ้นจากการรวมเทคนิคไว้ 5 เทคนิคด้วยกัน ดังนี้

1. เลือกใช้สถิติในการวิจัยที่ไม่ต้องยากจนเกินไป 

เนื่องจากในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติมีความหลากหลาย โดยมีทั้งสถิติระดับง่าย ระดับกลาง และระดับสูง หรือสถิติบางตัวอาจต้องใช้โปรแกรมอื่นร่วมด้วย จนทำให้ผู้วิจัยโฟกัสการทำวิทยานิพนธ์ผิดจุด ไปเน้นการวิเคราะห์สถิติแปลกใหม่ ให้ดูว่างานวิจัยของท่านนั้นมีการวิเคราะห์สถิติระดับสูง หรือไม่ผูู้วิจัยบางท่านก็อาจมีท้อไปเลยก็มี เพราะนอกจากจะเหนื่อยในการจัดระเบียบ แยกแยะส่วนต่างๆ ของข้อมูลแล้ว ยังต้องมาศึกษาสถิติที่ท่านไม่รู้จัก ซึ่งผู้เขียนมีความคิดเห็นว่าสถิติในการวิจัยบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้สถิติขั้นสูงก็ได้ เพียงแค่ใช้สถิติที่สามารถตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของงานได้ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ก็ถือว่าเป็นการบรรลุวัตถุุประสงค์ของการทำวิจัยแล้ว ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยใช้สถิติขั้นสูง อย่างเช่น SEM หรือ AMOS ซึ่งต้องใช้โปรแกรมอื่นเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และสร้างโมเดลร่วมด้วย นอกจากผู้อ่านผลงานจะไม่เข้าใจแล้ว ผู้อ่านจะไม่สนใจงานวิจัยของเราด้วย

2. ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ในปัจจุบันเราได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการสร้างและแชร์แบบสอบถามออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์ม Google Forms ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของเรารวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถตอบได้พร้อมกันภายในครั้งเดียวภายในเวลาไม่กี่นาที อีกทั้งผู้วิจัยสามารถดูข้อมูลคำตอบได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย ไม่ว่าจะตอบแบบสอบถามทางมือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งแตกต่างกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมา ที่ต้องสร้างแบบสอบถามขึ้นมา หลังจากนั้นนำมาถ่ายเอกสารตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง และต้องจ้างคนหลายคนไปช่วยเก็บแบบสอบถามตามพื้นที่ ที่ผู้วิจัยศึกษา ซึ่งการทำงานในลักษณะนี้ ผู้เขียนถือเป็นว่าเสียเวลามากในการทำงานเพราะต้องใช้เวลาหลายวัน ผู้วิจัยบางท่านใช้เวลาเป็นเดือนในการทำสิ่งนี้ นอกจากเสียเวลาแล้วยังเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ มากมาย อาทิเช่น ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจ้างพนักงานเดินเก็บข้อมูลเป็นรายชุด ค่ากรอกแบบสอบถาม เป็นต้น หากผู้วิจัยหันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ใช้ฟรี จะช่วยให้ลดเวลาการทำงานได้อย่างมหาศาล และจะทำให้งานเสร็จ จบง่าย ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ด้วย

ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com
ภาพจาก google.com

3. การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัย

การจัดระเบียบความคิดของผู้วิจัยนี้ มีความสำคัญมากกว่าการเลือกใช้เครื่องมือเสียอีก หากผู้วิจัยมีการวางแผนก่อนการทำงาน มีจัดระเบียบการทำงานว่าส่วนไหนทำก่อน-หลัง และทำตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ไปตามลำดับขั้นตอน ผู้วิจัยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วขึ้นมากค่ะ ในทางตรงกันข้ามหากผู้วิจัยไม่จัดระเบียบความคิด ท่านจะละเลยการทำสิ่งนั้น และไปทำสิ่งอื่นก่อนที่ไม่ใช่งาน ก็จะส่งผลให้การวิเคราะห์ ไม่เสร็จตามแผนที่ได้วางไว้ก่อนหน้า

4. เข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเรา

การเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าไม่ได้ทำให้ผู้วิจัยดูแย่ หรือไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น โดยเฉพาะการเข้าหาที่ปรึกษา มีผู้วิจัยหลายท่านไม่กล้าเข้าหาที่ปรึกษา เพราะกลัวว่าที่ปรึกษาจะดุ จนทำให้ผู้วิจัยละเลยการทำวิจัย จนปล่อยระยะเวลาเนิ่มนานเป็นปี ทำให้งานไม่เสร็จเสียที แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าการเข้าหาคนที่มีความเชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาบ่อยๆ นั้น จะทำให้ท่านได้รับความรู้เพิ่มเติม และที่ปรึกษาจะคอยแนะนำแนวทาง หรือเทคนิคต่าง ผู้วิจัยควรทำในการวิเคราะห์ข้อมูลให้เสร็จไวขึ้นได้ค่ะ

5. หาความรู้ ที่ใช้เป็นเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม 

กากรหาความรู้ เพื่อที่จะนำมาใช้ ถือเป็นพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลว่าผูู้วิจัยนั้นมีความรู้มากน้อยเพียงพอสำหรับนำความรู้นั้นมาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจะไม่สมเหตุสมผลเลย หากยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ผู้วิจัยจึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการวิเคราะห์ เช่น การศึกษาข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Youtube จากบทความต่างๆ ซึ่งในคลิปหรือบทความเหล่านั้นจะมีเทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของท่านเสร็จไว และจบง่ายตามจุดประสงค์ของท่าน

ภาพจาก pexels.com

ทั้งนี้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล่าวมาจะเป็นส่วนที่เข้าไปช่วยเสริมในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ของคุณให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนดอย่างแน่นอน และขอแนะนำว่าให้คุณย้อนกลับไปอ่านจุดมุ่งหมายหัวข้อการเลือกข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาจัดหมวดหมู่ จะทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลของคุณมีความชัดเจนน่าสนใจเป็นที่น่าจับตามองของคนอ่านมากยิ่งขึ้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่ายๆ

ภาพจาก pexels.com

ปัญหาอันดับต้นๆ ของการทำวิทยานิพนธ์ คือการตั้งหาข้อ จะตั้งหัวข้ออะไรดีที่ให้มีความน่าสนใจที่จะไม่ซ้ำกับคนอื่น และทำอย่างไรให้ถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเป็นใบเบิกทางไปสู่ผลสำเสร็จ หัวข้อที่ตั้งต้องมีความกระชับ กะทัดรัด และแสดงถึงประเด็นที่ต้องการจะศึกษา บทความนี้จะมานำเสนอ 3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่าย ๆ กันคะ

1.ตั้งชื่อตามสิ่งที่ตนเองสนใจศึกษา

ให้ลองคิดทบทวนว่าคุณสนใจสิ่งใด แล้วสิ่งที่สนใจตรงกับสาขาวิชาที่ศึกษาหรือไม่ เนื่องจากในแต่ละสาขาจะหลักการแนวคิดเป็นของตัวเอง หากตั้งให้ตรงได้จะทำให้คุณหมดปัญหาในขั้นตอนแรกไปได้ ดังนั้นชื่อเรื่องจึงควรที่จะมีความชัดเจน รัดกุม สื่อไปถึงความหมายของเนื้อหา ระบุถึงปัญหา เช่น ศึกษาอยู่ในสาขาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ก็ควรที่จะศึกษาสถานการณ์ในปัจจุบันว่ามีแนวโน้มที่มีความเกี่ยวข้องอะไรบ้าง ให้อยู่ในกรอบงานที่จะทำ และสอดคล้องกับสถานการณ์

2.ทำในสิ่งที่ถนัดเชี่ยวชาญ

หากหัวข้อการทำวิทยานิพนธ์ที่คุณทำนั้น เป็นสิ่งที่คุณถนัด มีความชำนาญ หรือตรงกับสายอาชีพจะเป็นการต่อยอดผลงานได้ดี สามารถนำมาต่อยอดจากงานวิจัยเล่มเดิมที่เคยทำมาแล้ว วิธีนี้จะเป็นการทำให้คุณคิดหัวข้อได้เร็ว และเลือกหัวข้อได้ไว เนื่องได้มีการทบทวนในสิ่งที่ทำมาแล้วบ้างบางส่วน แล้วนำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อหาแนวทางในการปรับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของคุณได้ 

ภาพจาก pexels.com

3.ตั้งหัวข้อให้มีการเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน

จากสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ทำให้เกิดสิ่งต่างๆ ที่น่าใจมากมายขึ้น คุณอาจจะนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นประเด็นในการตั้งชื่อเรื่องของคุณ ให้คุณทำการคาดการณ์ถึงกระแสนิยม แนวโน้มเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น จะทำให้คุณมีผลข้อมูลมากพอที่ใช้ในการศึกษา และสามารถนำผลของข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ได้ทันที ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าที่จะเกิดขึ้น 

ภาพจาก pexels.com

ดังนั้น การที่เลือกหัวข้อให้เข้ากับตัวเองที่เหมาะสมจะเป็นการเริ่มต้นที่ดี และควรจะเลือกหัวข้อให้อยู่ในกรอบของงานที่จะทำให้มีความหมายที่ชัดเจน หากทำตาม 3 เทคนิคนี้ได้ ก็จะทำให้คุณนำหน้าหลายๆ คนที่ยังไม่ทำตามได้ เพื่อให้ท่านได้ทำงานวิจัยที่ท่านชื่นชอบ เป็นประเด็นเนื้อหาให้เข้ากับปัจจุบัน นำไปปรับใช้ต่อยอดให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

4 เทคนิค การตั้งหัวข้อการทำ IS ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่ายๆ

ภาพจาก canva.com

ก่อนที่จะรู้เทคนิคการตั้งหัวข้อการทำ IS ก็ควรที่จะรู้ก่อนว่า IS คืออะไร

ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจากจะมีการทำวิทยานิพนธ์ที่เป็นงานหลักแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องจัดทำคือ การค้นคว้าอิสระ หรือที่นักศึกษาปริญญาโทเรียกติดปากว่า IS เป็นกระบวนการให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างมีอิสระ ทำให้ตัวผู้ศึกษามีประสิทธิภาพในการพัฒนาความคิด สามารถเปิดโลกกว้างอย่างอิสระ ในเรื่องของประเด็นที่ตนเองสนใจ โดยการดำเนินการค้นคว้า แสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้นก็หาวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทำประโยชน์แก่สาธารณะ บทความนี้จะมาบอกเทคนิคในการตั้งหัวข้อ IS อย่างไรให้ผ่านง่ายๆ ซึ่งนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังจะเริ่มทำ IS สามารถนำมาปรับใช้ในงานของตนได้

ภาพจาก pexels.com

4 เทคนิคการตั้ง หัวข้อการทำ IS ตั้งอย่างไรให้ผ่านง่าย ๆ

1.สนใจในปัญหาในเรื่องใดให้นำมาไปหัวข้อ

ใครจะรู้ว่าปัญหารอบตัวเรานี่แหละ สามารถนำมาเป็นหัวของ IS ได้ เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นจาก
รอบๆ ตัวเรา เกิดจากสิ่งที่คุณสงสัย หัวข้อในการทำ IS ที่ดีต้องไม่ซ้ำเรื่องกับคนอื่นหรือเป็นงานที่เคยมีการทำมาก่อนแล้ว เพราะว่ามันจะไม่เป็นการตอบโจทย์ปัญหาแก้ไขในข้อสงสัยของเราได้ โดยที่คุณจะต้องจับประเด็นหลักของข้อสงสัยให้มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจนว่าต้องการที่ค้นคว้าอะไร หากเป็นเรื่องที่แปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ต้องเป็นสิ่งซึ่งแสดงอกกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย คำนึงถึงประโยชน์ของผู้ที่จะได้รับจากศึกษา เพราะจะเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลงานที่ได้จากการค้นคว้าอย่างอิสระของคุณ หากทำแล้วไม่เกิดแนวคิดความรู้ใหม่ๆ จากการตั้งหัวข้อจะทำให้เป็นการลดคุณค่าของการทำ IS ในหัวข้อดังกล่าว

2. ชื่อหัวข้อที่แปลกใหม่เป็นจุดประกายความคิดสร้างสรรค์

การตั้งหัวข้อ IS นอกจากจะเป็นการตั้งให้ตรงตามจุดสนใจของตนเองแล้ว การคิดหัวข้อที่แปลกใหม่เป็นสิ่งที่จำเป็นทำให้คนที่สนใจเข้ามาอ่านในหัวข้อของคุณที่จะนำเสนอ หากเป็นหัวข้อที่ไม่มีความแปลกใหม่ทันสมัยจะเป็นการทำให้ทำเรื่องเดิมซ้ำๆ ไม่มีความพัฒนาก้าวหน้า ในยุคสังคมในปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การที่คิดหัวข้อแปลกใหม่ก็จะทำให้งานของคุณเป็นไปตามยุคสมัย หากหัวข้อมีความล้าหลัง หรือมีหัวข้อที่ซ้ำกับคนที่เคยทำมาแล้ว จะทำให้งานของคุณขาดประสิทธิภาพ ไม่เกิดการพัฒนา หัวข้อ IS ของคุณอาจมาจากหลายๆ แหล่งที่มา อาจเกิดมาจากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ การเข้าไปเยี่ยมชมตามสถานที่ต่างๆ ฟังจากการบรรยายทางวิชาการ จากสื่อต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถทำให้คุณนำมาประกอบการตั้งหัวข้อ IS ของคุณได้

3. หัวข้อที่ดีควรมีความชัดเจนของปัญหาที่จะค้นคว้า

หัวข้อที่มีความชัดเจนจะสื่อไปถึงสิ่งที่คุณกำลังจะทำ นำไปสู่การศึกษาค้นคว้าแบบมีแบบแผน มีหลักการขั้นตอนอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อถึงการลงมือทำจริงจะสามารถลงมือทำได้อย่างรวดเร็วถูกต้องตามหลักวิชาการ การศึกษาค้นคว้าจะไม่มีการสับสนวกวน ช่วยให้ลดระยะเวลาในการทำงาน ทำให้มีเวลาเพียงพอในการไปทำส่วนอื่นๆ เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางจะจะกำหนดแผนการต่างๆ หากไม่มีความชัดเจนจะทำให้คุณเสียเวลาในการทำ สิ้นเปลืองต่องบประมาณที่ใช้ เวลาในการทำก็จะลดลงไปด้วยทำให้งานไม่เสร็จตามที่กำหนด เพราะฉะนั้นความชัดเจนของปัญหาเป็นการตัดปัญหาที่จะมีผลตามมา

ภาพจาก pexels.com

4. หัวข้อต้องมีประโยชน์ และมีคุณค่าในตัว

หากตั้งหัวข้อไปแล้วไม่ทำให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่ทำการศึกษาค้นคว้ามานั้นทำไปแล้วสูญเปล่า เพราะเรื่องที่คุณทำควรที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวมได้ สามารถนำมาช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมให้ดีขึ้น การเขียนหัวข้อที่ไม่ดึงดูด ทำให้ไม่เกิดความน่าสนใจ ดังนั้นการตั้งหัวข้อต้องตอบโจทย์การใช้งานของผู้ที่จะเข้ามาอ่านให้ได้มากที่สุด ซึ่งคุณจะต้องใส่ใจถึงปัญหาของคนที่จะเข้ามาอ่าน ว่า IS ที่จัดทำนั้นจะเป็นการสร้างประโยชน์แก่ผู้ที่จะเข้ามาอ่านได้ การเขียนหัวข้อที่นึกถึงคนอ่านก็จะช่วยให้งานของคุณดูมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้อ่านจะใช้เวลาในการอ่านบทความที่ให้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าบทความทั่วไป อาจกล่าวได้ว่าหัวข้อเรื่องนัั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้จัดทำจะต้องมองให้เห็นถึงผลลัพธ์ในด้านประโยชน์จากการศึกษาในเรื่องที่ทำ ว่าจะส่งผลต่อคนในสังคมให้ได้รับประโยชน์มากที่สุด หากไม่นึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับงานที่ได้ทำลงไป ก็คงจะเป็นเพียงกระดาษหรือรายงานที่รวบรวมมาไว้ในเล่ม IS เพียงเท่านั้น

จึงสรุปได้ว่าหัวข้อ IS เป็นการตั้งชื่อเพื่อให้ดึงดูดให้คนอื่นเข้ามาอ่าน ซึ่งผู้ทำจะต้องยึดหลักความมีประโยชน์ทั้งต่อตัวของผู้ทำเอง และสังคม ที่จะได้รับหากตั้งมาแล้วลงมือทำไปไม่เกิดประโยชน์จากการนำสิ่งที่เรียนมาใช้จะส่งผลต่อการลดคุณค่าของการทำ IS ในหัวข้อนั้น

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

3 เทคนิค การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ

หัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งแรกๆ ที่เราควรจะให้ความสำคัญ ว่าจะต้องตั้งอย่างไรให้เกิดความน่าสนใจ ทำให้คนที่สนใจในเรื่องแบบเดียวกับเราเข้ามาอ่านงานของเรา หรือจะทำอย่างไรให้งานของเราไปสะดุดตาให้ผู้อื่นเข้ามาอ่านงานของเรา นอกจากการจะตั้งหัวข้อให้ผ่านแล้ว ควรที่จะตั้งให้มีความน่าสนใจด้วยไม่เช่นนั้นแล้วงานของคุณก็จะได้รับการเปิดอ่านที่น้อยมากหรือไม่มีการเปิดอ่านเลย ทำให้สิ่งที่ทำมานั้นไม่เกิดประโยชน์อะไรแม้ว่าสิ่งที่ได้ทำมีประโยชน์มากแค่ไหน แล้วจะตั้งอย่างไรให้น่าสนใจ บทความนี้จะมาบอกเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้หัวข้อวิทยานิพนธ์มีความน่าสนใจมากขึ้น มาฝากกันค่ะ

ภาพจาก pexels.com

1.ตั้งตามสิ่งที่เราสนใจ

สิ่งที่เราสนใจนี้แหละ!! จะเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์อย่างดีให้กับเรา เพราะสิ่งที่เราสนใจมักจะเกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรา หรือเป็นสิ่งที่สนใจ อาจเกิดจากการได้เรียนในสาขา หรือจากประสบการณ์ที่ได้พบเจอ นำสิ่งที่น่าสนใจเหล่านั้นมาหางานที่เกี่ยวข้อง มาทบทวน แล้วกำหนดปัญหา ถือเป็นขั้นตอนแรกที่เราจะต้องทำ ซึ่งงานวิทยานิพนธ์ที่จะทำมันจะยากหรือง่าย ขึ้นอยู่กับปัญหาหากปัญหาที่จะทำมันยากการที่จะดำเนินการก็จะยากตามไปด้วย ปัญหาอาจจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงเราจะต้องบอกให้ได้ว่าประเด็นหลักที่สำคัญของงานนี้คืออะไร แล้วนำมาตั้งเป็นชื่อเรื่อง และปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงจะต้องระบุถึงปัญหานั้นโดยตรง อาจเกิดจากข้อย่อยๆ ที่เกิดจากปัญหาที่ไม่เจาะจงนำมาเป็นปัญหาแล้วจะต้องเขียนให้มีความชัดเจน และครบคลุมทุกปัญหาในวัตถุประสงค์ของงานวิจัย และจะมีกี่ข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับประเด็นที่เราสนใจ

2.สิ่งที่แตกต่างทำให้หัวข้อน่าสนใจ

หัวข้อวิทยานิพนธ์หากตั้งแล้วไม่แตกต่างกับสิ่งที่คนอื่นเคยทำ จะทำให้งานที่เราทำกลายเป็นสิ่งที่ทำคนอื่นคิดว่าสิ่งที่เราทำเป็นการลอกเรียนแบบผลงานของคนอื่นได้ ดังนั้นเราควรที่จะตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความแตกต่างจากสิ่งเดิมที่เคยมีคนทำมาแล้ว จะทำให้งานของเรามีความน่าสนใจมากขึ้น หากหัวข้อที่ไม่แตกต่างจะเป็นการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำๆ ซึ่งไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใหม่ๆ สิ่งที่แตกต่างจะทำให้งานที่ได้ บ่งบอกถึงความรู้ที่เรามีนั้นแตกต่างจากคนอื่น โดยก่อนจะทำให้แตกต่าง เราจะต้องมีความรู้เดิมเป็นพื้นฐาน มีความชำนาญในเรื่องนั้นก่อน จะทำให้งานที่ได้มีความน่าเชื่อถือเป็นที่ยอมรับ หากไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น จะทำให้งานที่ได้ไม่มีประสิทธิภาพ เราจะต้องทำการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเรา เพื่อนำมาเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมงานวิจัยของเรา นำมาหาข้อที่จะสามารถมาต่อยอดเป็นงานของเราได้ให้มีความแตกต่างจากสิ่งเดิม เพื่อเพิ่มให้งานมีประสิทธิภาพครบถ้วนสมบูรณ์

ภาพจาก pexels.com

3. ตั้งให้อยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน

หัวข้อควรจะตั้งให้เห็นถึงปัจจุบัน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้มากที่สุด จะทำให้งานของเรามีความทันสมัย และเกิดประโยชน์กับสิ่งที่จะนำไปใช้ให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที หากตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์กับผู้ที่จะนำไปใช้ เพราะผู้อ่านไม่เข้าใจ จึงทำให้สิ่งที่ทำลงไปสูญเปล่าได้ เพราะในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมามากขึ้น เราเองก็จะต้องเข้าถึงและเข้าใจสังคมในยุคปัจจุบันด้วย ว่ามีอะไรกำลังเป็นที่น่าสนใจอยู่ในขณะนั้น ซึ่งต้องเป็นสิ่งที่เราสนใจ และถนัดในเรื่องนั้น หรือไม่หากเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้นจริง แต่เป็นสิ่งที่เราไม่สนใจจะทำให้การทำงานของเรานั้นไม่มีความสุข จะเป็นการทำตามสมัยไปไม่เกิดอะไรขึ้นกับตัวเองด้วยเช่นกัน จนกลายเป็นว่าทำงานนั้นไปเพื่อให้จบการศึกษา โดยที่เรานั้นไม่ได้ประโยชน์หรือนำความรู้ที่มีมาใช้เลย

ภาพจาก pexels.com

ดังนั้น การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้มีความน่าสนใจเป็นสิ่งที่จะดึงดูดให้มีผู้อ่านหลงเข้ามาอ่านมากขึ้น แม้ว่าจะไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการหาข้อมูล แต่จะทำให้ผู้อ่านสงสัยว่าสิ่งที่เราทำนั้นมีอยู่ แล้วเกิดความคิดอยากที่จะทำในสิ่งที่คล้ายกับงานของคุณ และนำงานวิจัยของคุณมาเป็นต้นแบบ ต่อยอดในงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากคุณอยากให้งานหัวข้อวิทยานิพนธ์เป็นที่น่าสนใจลองนำเอาเทคนิคที่ได้กล่าวมาไปปรับใช้กับวิทยานิพนธ์ของคุณดู ก็จะทำให้งานของคุณมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นค่ะ

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

3 เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท

ภาพจาก pexels.com

หัวข้อวิทยานิพธ์ควรที่จะตั้งอย่างไรเป็นปัญหาแรกของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ต้องเจอ จะตั้งอย่างไรให้มีความน่าสนใจ เกี่ยวข้องกับอะไรดี หัวข้อที่ตั้งไปจะผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรือไม่ เมื่อลงมือทำไปแล้วจะซ้ำกับงานที่ได้ทำลงไปหรือไม่ แล้วจะทำอย่างไรให้หัวข้อวิจัยนั้นมีความเฉพาะเจาะจงสื่อถึงความหมายที่ต้องการจะทำต้องประเด็นปัญหาที่สนใจที่บ่งบอกให้ทราบถึงประเภทของการวิจัยที่กำลังจะทำอยู่ ซึ่งบทความนี้จะเป็นการนำเสนอ 3 เทคนิคการตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่สามารถนำไปปรับใช้ในวิทยานิพนธ์ของคุณได้

1.ตั้งหัวข้อให้ตรงกับสาขาที่เรียน และตั้งให้ถูกใจอาจารย์

การตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์นั้น ควรที่ตั้งอยู่ในกรอบของสาขาที่ตัวของผู้ทำศึกษาอยู่ เพื่อจะเป็นการดึงความรู้ที่ได้ศึกษามานำมาประยุกต์กับงานที่กำลังจะทำ เป็นการแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่เรียนมานั้นได้รับประโยชน์อะไรจากที่เรียนมา แล้วจะสามารถนำสิ่งที่เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือไม่ ควรที่จะศึกษางานวิทยานิพธ์ของคนอื่นที่ทำผ่านมาแล้วด้วย เพื่อเป็นการลดปัญหาการทำเรื่องเดิมซ้ำๆ แล้วนำหัวข้อที่เราตั้งไปปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาของความเห็นชอบก่อนที่จะลงมือทำ ถ้าลงมือทำไปแล้วเกิดหัวข้อไม่ผ่านจะทำให้ตัวของผู้ทำเสียเวลาในการทำ และสิ้นเปลืองงบประมาณที่ใช้ไป 

ภาพจาก pexels.com

2.การใช้วิธีการเก็บข้อมูลให้เป็นประโยชน์

ขั้นตอนในการเก็บข้อมูลถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญ หลังจากได้ปัญหาวัตถุประสงค์และสมมติฐานในการวิจัยแล้ว การรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล คือการที่ผู้วิจัยพยายามรวบรวมหลักฐานต่างๆ เพื่อนำมาพิจารณา วิเคราะห์วิจารณ์ แล้วสรุปผล มาเป็นคำตอบปัญหาการวิจัย ว่าเป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลากหลายวิธีที่ใช้กันไม่ว่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลต้องเป็นไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรง นำมาสู่การทำวิทยานิพนธ์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้สามารถตอบคำถามของปัญหาที่สนใจได้อย่างชัดเจน

ภาพจาก canva.com

3. ตั้งหัวข้อให้ทันกับยุคสมัย

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้การค้นหาข้อมูลเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อน หากตั้งหัวข้อที่มีความทันสมัยกับยุคนั้นๆ ก็เป็นอะไรที่ทำให้งานของคุณมีการดึงดูดการเข้าถึงได้ง่าย ปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวข้อใหม่ๆ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาประกอบการตั้งชื่อหัวข้อในการทำวิทยานิพนธ์ หากเราเกิดแนวคิด นวัตกรรมใหม่ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น จะทำให้งานของคุณกลายไปที่พูดถึงในวงกว้างได้ 

ภาพจาก pexels.com

3 เทคนิคที่ได้กล่าวมานั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยพัฒนางานของคุณให้ก้าวหน้าไม่อยู่กับที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนที่จะทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทให้สำเร็จ เพราะหัวข้อที่จะทำจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของงานวิทยานิพนธ์ที่ทำ หากหัวข้อที่ทำไม่มีความชัดเจนจะทำให้งานของคุณประสบความสำเร็จช้ากว่าคนอื่นๆ ได้

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิด

ภาพจาก www.pixabay.com

ในปัจจุบันการที่จะเข้าถึงการศึกษาในระดับปริญญาโทไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ง่าย เมื่อคุณมีความพร้อมในด้านเวลา และมีทุนทรัพย์สำหรับการเรียนที่เพียงพอต่อการศึกษา คุณก็สามารถเลือกแผนการศึกษาได้ตามความสนใจทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ซึ่งสถาบันการศึกษาทุกหลักสูตรจะมีการกำหนดให้ตัวผู้เรียนต้องสร้างผลงานทางวิชาการอย่างน้อยๆ 1 ชิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปพัฒนาประเทศ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่หลายๆ คนก็ต้องเสียน้ำตาให้กับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท อาจเป็นเพราะระยะเวลาที่จำกัดในการทำวิทยานิพนธ์ ติดภาระจากงานที่รับผิดชอบอยู่ หรือแม้กระทั่งปัญหาที่กวนใจหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่องวิจัยที่ไม่ชัดเจน การตั้งคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ไม่ตรงประเด็น การทบทวนวรรณกรรมที่ปีเก่าเกินไป แบบสอบถามที่ยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย จนต้องรื้อเล่มวิทยานิพนธ์ทำใหม่ ทำให้เราเสียเวลาไปกับการทำวิทยานิพนธ์ จนไม่เสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เขียนจึงมีเคล็ดลับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่ไม่ยากอย่างที่คิดมาสรุปให้อ่านดังนี้

ภาพจาก www.pixabay.com

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าวิทยานิพนธ์นั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ส่วนนำของเรื่อง ส่วนของเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบท้ายเรื่อง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบผู้เขียนจะสรุปและให้เคล็ดลับแทรกเข้าไปเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ นะคะ

ภาพจาก canva.com

1. ส่วนนำของเรื่อง (Preliminary Section) 

จะมีองค์ประกอบได้แก่ ปกนอก ใบรองปก และปกใน และมีส่วนที่สำคัญในส่วนนำ คือ บทคัดย่อจะเป็นส่วนที่สรุปของวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะกล่าวถึงสาเหตุของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย และข้อเสนอแนะแบบย่อ จะทำการจัดพิมพ์ในรูปแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรที่จะทำแบบแยกหน้ากัน ต่อมาจะตามด้วยสารบัญเนื้อหา สารบัญตาราง และสารบัญภาพ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนท้ายสุดที่เราจะทำเมื่อส่วนของเนื้อความเสร็จแล้ว

บทที่ 1 บทนำ (Introduction) ควรเขียนให้เห็นถึงประเด็นที่สำคัญของเนื้อเรื่องว่าเรื่องที่คุณสนใจนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้ก่อเกิดปัญหาจนทำให้นำมาทำการวิจัยพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนประกอบของบทนำความที่จะมีเนื้อหาในการนำเสนอดังนี้

ที่มาและความสำคัญ เป็นการกล่าวถึงสาเหตุ หรือที่มาของการศึกษาค้นคว้าวิจัย บอกถึงปัญหาที่ต้องจะทำ 

คำถามของการวิจัย กำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบของคำถาม ซึ่งนำไปสู่การหาวิธีแก้ไขปัญหา กำหนดคำถามให้ชัดเจนไม่กำกวมเขียนจากสภาพความเป็นจริง และสื่อถึงปัญหาโดยตรง

วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ มีการวัดประเมินระบุสิ่งที่ต้องกดำเนินการให้ชัดเจนมีความเป็นเหตุเป็นผล มีขอบเขตในเรื่องของเวลาที่แน่นอน

สมมุติฐานการวิจัย  บรรยายสรุปโดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่คุณจะทำการศึกษาพร้อมนำเสนอประเภทของงานออกแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา ต้องมีความสอดคล้อง หรือเหมาะสมที่จะใช้ทฤษฏีเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหาอย่างไร

ขอบเขตของการวิจัย ให้พิจารณาจากปัญหา และวัตถุประสงค์ที่ทำการศึกษาเรื่องนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องกำหนดจำนวนเรื่องที่จะทำเป็นสิ่งอ้างอิงหรือยืนยันได้ว่าผลของการศึกษาเรื่องนั้นมีความน่าเชื่อถือ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การเขียนในเรื่องนี้ให้พิจารณาจากการเขียนวัตถุประสงค์เป็นข้อๆ หรือเขียนพรรณนาไม่ต้องแบ่งเป็นข้อก็ได้

นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการกำหนดคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยขึ้นมา ให้ความหมายเฉพาะเจาะจงกับประเด็นของงานที่ทำ และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัย ผลจากการสรุปการศึกษา และทดลองทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

บทที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Literature) เป็นการที่ผู้เขียนสรุปผลการศึกษาของงานวิจัยที่คล้ายกับเรื่องที่จะศึกษามาสอดคล้องให้เห็นถึงปัญหา และวิธีพัฒนาในแต่ละแบบของงานวิจัย ซึ่งแต่ละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะมีประเด็นการศึกษา และพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถหยิบยกเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัยของเรามาวิเคราะห์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการที่จะเขียนบทที่ 2 นั้นมีอยู่ 3 ส่วนดังนี้

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะทำประวัติของเรื่องนั้นๆ ข้อมูลของประเด็นปัญหาที่เกี่ยวของกับระบบงานที่จะศึกษา

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือกลุ่มของความสัมพันธ์ของแนวคิดนิยาม และองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างๆ โดยจะเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิจัยเป็นงานที่สำคัญของผู้วิจัยที่มีประสบการณ์จะทำเป็นสิ่งแรกเมื่อได้ปัญหาวิจัยมาผลจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่านักวิจัยท่านอื่นๆ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาวิจัยของตนไว้อย่างไรบ้าง งานที่นักวิจัยท่านอื่นเคยทำมาก่อนนำมาอ้างอิงกับการศึกษาของตนเอง

บทที่ 3 วิธีการวิจัย (Research Methodology) เป็นการอธิบายวิธีขั้นตอนในการทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดว่าต้องใช้เครื่องมืออย่างไร รวมไปถึงการอธิบายถึงขั้นตอนการคำนวณต่างๆ  ในส่วนของบทที่ 3 จะเป็นขั้นตอน การกำหนดปัญหา วางแผนออกแบบ กำหนดกลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลสรุป และรายงาน ตีความหมาย แล้วจึงจะทำการเขียนรายงานการวิจัยถือว่าเป็นการเสร็จงานในขั้นตอนของบทที่ 3 อย่างสมบูรณ์

บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลการวิจัยให้ชัดเจนโดยอาจจะใช้ กราฟ ตาราง หรืออื่นๆ ที่เหมาะสม การเขียนบทที่ 4 ให้กำหนดหัวข้อตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ใบบทที่ 1 โดยจะต้องเสนอผลไปตามลำดับของวัตถุประสงค์ โดยการเขียนจะเป็นแบบบรรยายให้เข้าใจง่าย การเขียนข้อมูลในบทนี้จะเป็นการนำไปใช้สำหรับการสร้างสรรค์การออกแบบเพื่อเป็นการแก้ปัญหาตามโจทย์ของการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions Discussion and Recommendations) ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษามาทั้งหมดโดยจะต้องอ้างอิงถึงวัตถุประสงค์ อ้างอิงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงเสนอแนะแนวทางเพื่อการศึกษาวิจัยในเรื่องเดียวกันนี้ต่อไป

3. ส่วนประกอบท้ายเรื่อง (Reference Section) ประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ได้แก่ 

รายการอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงถึงชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นำมาประกอบการในการเขียนวิทยานิพนธ์

ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระของเรื่องนั้นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ตามความเหมาะสม

ประวัติผู้เขียน (Biography) เป็นประวัติโดยย่อของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์

ซึ่งเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิดหากคุณนำเคล็ดลับที่เราได้ให้ในบทความนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ของคุณ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะสามารถทำให้งานวิทยานิพนธ์ของคุณมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับได้จนนำออกตีพิมพ์วารสารต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ไม่มากก็น้อย

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

การว่าจ้างทำงานวิจัย_ว่าจ้างทำงานวิจัย_ความเครียดกับการทำงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย ราคา_บริการงานวิทยานิพนธ์_บริการรับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_รับทำวิทยานิพนธ์_การทำงานวิทยานิพนธ์_งานวิทยานิพนธ์_บริการงานดุษฎีนิพนธ์_บริการรับทำดุษฎีนิพนธ์_รับทำดุษฎีนิพนธ์ ราคา_รับทำดุษฎีนิพนธ์_การทำงานดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_วิทยานิพนธ์ป. โท_การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย_วัตถุประสงค์การวิจัย_หัวข้องานวิทยานิพนธ์_หัวข้องานวิจัย_หัวข้องานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย การท่องเที่ยว_วิจัยหัวข้อ_งานวิจัยปริญญาตรี_งานวิจัยปริญญาโท_การทำ IS_การทำสารนิพนธ์_ทักษะการทำงานวิจัย_ทักษะพื้นฐานงานวิจัย_วิจัยการตลาด_บทคัดย่อ (Abstract) _การเขียนบทคัดย่อ_การเขียนบทความ_การทำโปรเจคจบ_โปรเจคจบ_การทำ PowerPoint_การนำเสนองาน (Presentation)_การทำ Presentation

5 เหตุผลว่าทำไมคุณไม่ควรลงมือทำวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง

เหตุผลที่คุณไม่ควรทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ด้วยตนเอง นั้นมีอยู่มากหลายแล้วแต่ว่าใครจะยกมาเป็นเหตุผล เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์

แต่จะมีเพียงไม่กี่สิ่งที่เป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่คุณไม่ควรทำวิทยานิพนธ์ด้วยตัวเอง พบกับ 5 เหตุผล ว่าทำไมคุณไม่ควรลงมือทำวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้

การทำวิทยานิพนธ์เป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลา

งานวิทยานิพนธ์นั้นเป็นงานที่ผู้เรียนระดับปริญญาทุกระดับต้องทำ ตั้งแต่ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก แต่อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่าง เพื่อที่จะแสดงถึงความยากและระดับชั้นที่สูงขึ้นไป

การว่าจ้างทำงานวิจัย_ว่าจ้างทำงานวิจัย_ความเครียดกับการทำงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย ราคา_บริการงานวิทยานิพนธ์_บริการรับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_รับทำวิทยานิพนธ์_การทำงานวิทยานิพนธ์_งานวิทยานิพนธ์_บริการงานดุษฎีนิพนธ์_บริการรับทำดุษฎีนิพนธ์_รับทำดุษฎีนิพนธ์ ราคา_รับทำดุษฎีนิพนธ์_การทำงานดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_วิทยานิพนธ์ป. โท_การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย_วัตถุประสงค์การวิจัย_หัวข้องานวิทยานิพนธ์_หัวข้องานวิจัย_หัวข้องานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย การท่องเที่ยว_วิจัยหัวข้อ_งานวิจัยปริญญาตรี_งานวิจัยปริญญาโท_การทำ IS_การทำสารนิพนธ์_ทักษะการทำงานวิจัย_ทักษะพื้นฐานงานวิจัย_วิจัยการตลาด_บทคัดย่อ (Abstract) _การเขียนบทคัดย่อ_การเขียนบทความ_การทำโปรเจคจบ_โปรเจคจบ_การทำ PowerPoint_การนำเสนองาน (Presentation)_การทำ Presentation

ประเด็นหลักที่จะถูกกล่าวถึงในหัวข้อนี้ คือ ระยะเวลาที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ โดยเฉลี่ยแล้ว อยู่ที่ประมาณ 4 เดือน หรือประมาณหนึ่งเทอมของการศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควรเลยทีเดียว และระยะที่ต้องทำงานวิทยานิพนธ์นี้

ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้เรียนที่ต้องทำงานหรือประกอบอาชีพไปด้วยในระหว่างการศึกษาอยู่ หรือบางคนอาจจะเป็นบุคคลที่มีครอบครัวที่ต้องดูแล แต่ต้องการที่จะศึกษาต่อ ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเวลาที่จะทำงานวิทยานิพนธ์อย่าง เรื่องระยะเวลาในการทำงานวิทยานิพนธ์นี้ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ผู้เรียนไม่ควรจะทำงานวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง และควรที่จะจ้างให้ทางบริษัทรับทำวิทยานิพนธ์ดำเนินการแทน เพื่อแบ่งเบาภาระงาน ให้คุณได้มีเวลาในการพักผ่อน และศึกษาข้อมูลในการเตรียมนำเสนอได้มากขึ้น

รูปแบบการทำวิทยานิพนธ์นั้นมีหลากหลาย

วิทยานิพนธ์ที่มีหลายรูปแบบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คุณไม่ควรทำด้วยตนเอง เนื่องจากด้วยวิทยานิพนธ์ที่มีรูปแบบนั้น ย่อมทำให้เกิดความสับสนและผิดพลาดได้ง่าย เพราะแต่มหาวิทยาลัยก็มีความแตกต่างกัน มีกฎ ระเบียบ และรูปแบบการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนหลายคนจบล่าช้า

บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย ราคา_บริการงานวิทยานิพนธ์_บริการรับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_รับทำวิทยานิพนธ์_การทำงานวิทยานิพนธ์_งานวิทยานิพนธ์_บริการงานดุษฎีนิพนธ์_บริการรับทำดุษฎีนิพนธ์_รับทำดุษฎีนิพนธ์ ราคา_รับทำดุษฎีนิพนธ์_การทำงานดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_วิทยานิพนธ์ป. โท_การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย_วัตถุประสงค์การวิจัย_หัวข้องานวิทยานิพนธ์_หัวข้องานวิจัย_หัวข้องานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย การท่องเที่ยว_วิจัยหัวข้อ_งานวิจัยปริญญาตรี_งานวิจัยปริญญาโท_การทำ IS_การทำสารนิพนธ์_ทักษะการทำงานวิจัย_ทักษะพื้นฐานงานวิจัย_วิจัยการตลาด_บทคัดย่อ (Abstract) _การเขียนบทคัดย่อ_การเขียนบทความ_การทำโปรเจคจบ_โปรเจคจบ

แม้จะเป็นปัญหาที่ยิบย่อยที่เล็กน้อย แต่ก็เป็นรายละเอียดที่สำคัญและต้องใส่ใจมาก เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องรูปแบบของงานวิทยานิพนธ์ ทำให้ผู้เรียนจะต้องนำงานกลับมากปรับแก้ไขให้ถูกต้อง ตามรูปแบบที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งจะต้องใช้เวลาแก้ไขปรับปรุงที่ค่อนข้างมาก หากไม่มีความชำนาญที่มากพอ

ดังนั้นการว่าจ้างบริษัทรับทำวิทยานิพนธ์จะช่วยแก้ไขปัญหาในการจัดรูปแบบที่ยิบย่อยเหล่านี้ให้แก่คุณได้ โดยที่คุณไม่ต้องรู้สึกหงุดหงิดใจหากยังแก้ไขงานไม่ผ่านเสียที

งานวิทยานิพนธ์เป็นงานที่ละเอียด ค่อนข้างยาก

อย่างที่รู้ ๆ กันว่างานวิทยานิพนธ์นั้นเป็นงานที่ค่อนข้างยาก ต้องใช้ความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ถึงจะผ่านการตรวจของอาจารย์ที่ปรึกษาหรือคณะกรรมที่ตรวจงานวิทยานิพนธ์ได้ และจบการศึกษาออกมาได้ 

เพราะด้วยความระเอียดอ่อนของงานวิทยานิพนธ์นี้ จึงทำให้ผู้เรียนหลายคนเครียดเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจจะต้องอดหลับ อดนอนเพื่อดำเนินงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ ให้เสร็จสมบูรณ์ต่อกำหนดการส่งงาน

บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย ราคา_บริการงานวิทยานิพนธ์_บริการรับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_รับทำวิทยานิพนธ์_การทำงานวิทยานิพนธ์_งานวิทยานิพนธ์

ด้วยเหตุดังกล่าวอาจทำให้ผู้เรียนหลายคนต้องเจ็บป่วยจากการอดหลับอดนอน เพื่อทำงานวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จหรือบางคนอาจจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ทำให้อาการเจ็บป่วยยิ่งย่ำแย่ลงไปอีก หากเป็นเหตุผลนี้คุณยิ่งไม่ควรที่จะทำงานวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง ควรจะใช้เวลาที่เหลือจากการทำงาน หรือการเรียนกลับไปพักผ่อนให้เต็มที่ และคอยตรวจสอบงานที่ว่าจ้างว่าถูกต้องตามแบบแผนที่กำหนดหรือไม่

สำหรับงานวิทยานิพนธ์ คุณภาพ คือสิ่งที่ต้องใส่ใจมาก

ต่อมาอีกเหตุผลหนึ่งที่หลายคนเป็นกังวล  คือ คุณภาพของงานวิทยานิพนธ์ที่ทำด้วยตนเอง หลายคนไม่มีความมั่นใจที่จะลงมือทำการเรียบเรียงเนื้อหางานวิทยานิพนธ์ด้วยเอง เพราะกลัวว่างานที่ทำออกมาจะไม่มีคุณภาพตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด หรือคาดหวัง

จึงพยายามหาทางออกโดยการจ้างทำงานวิทยานิพนธ์ ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ออกมามีคุณภาพ ได้ตรงตามความคาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการในการตรวจงานวิทยานิพนธ์ และผ่านโดยง่าย อีกทั้งยังสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าของผลงานในการนำเสนออีกด้วย

ไม่อยากจบการศึกษาล่าช้า

การจบการศึกษาที่ล่าช้า ล้วนเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนกลัว และไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง แต่บางคนก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากไม่ค่อยมีเวลาที่จะมาดำเนินงานวิทยานิพนธ์ให้มีความคืบหน้า และเสร็จได้ตามกำหนด โดยเฉพาะผู้เรียนที่เป็นบุคคลวัยทำงานหลาย ๆ คน ต้องศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยถึง 5 ปี หรือมากกว่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ดีสักเท่าไร 

การว่าจ้างทำงานวิจัย_ว่าจ้างทำงานวิจัย_ความเครียดกับการทำงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_งานวิจัย คุณภาพ_ทำงานวิจัย_เคล็ดลับการทำงานวิจัย_บริการงานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย ราคา_บริการงานวิทยานิพนธ์_บริการรับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_รับทำวิทยานิพนธ์_การทำงานวิทยานิพนธ์_งานวิทยานิพนธ์_บริการงานดุษฎีนิพนธ์_บริการรับทำดุษฎีนิพนธ์_รับทำดุษฎีนิพนธ์ ราคา_รับทำดุษฎีนิพนธ์_การทำงานดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_เทคนิคทำงานวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_วิทยานิพนธ์ป. โท_การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย_วัตถุประสงค์การวิจัย_หัวข้องานวิทยานิพนธ์_หัวข้องานวิจัย_หัวข้องานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย การท่องเที่ยว_วิจัยหัวข้อ_งานวิจัยปริญญาตรี_งานวิจัยปริญญาโท_การทำ  IS_การทำสารนิพนธ์_ทักษะการทำงานวิจัย_ทักษะพื้นฐานงานวิจัย_วิจัยการตลาด_บทคัดย่อ (Abstract) _การเขียนบทคัดย่อ_การเขียนบทความ_การทำโปรเจคจบ_โปรเจคจบ_การทำ PowerPoint_การนำเสนองาน (Presentation)_การทำ Presentation

เพราะถ้าจบการศึกษาล่าช้าก็จะทำให้ได้วุฒิการศึกษาที่ล่าช้าไปด้วย ซึ่งบุคคลวัยทำงานหลายคนต้องการที่จะนำวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้นไปเพิ่มอัตราเงินเดือนให้กับตนเอง และใช้ในการเลื่อนตำแหน่งต่างด้วย ๆ หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ ก็ตาม

ซึ่งถ้าคุณทำงานวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง ก็อาจจะทำให้คุณจบการศึกษาและได้วุฒิการศึกษาไปใช้ตามความต้องการของคุณได้ล่าช้าไปด้วย

จาก 5 เหตุผลที่กล่าวมานี้ เป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนหลายคนเลือกตัดสินใจไม่ลงมือทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ด้วยตัวเอง แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ผู้เรียนทุกคนล้วนมีความต้องการที่อยากจะให้ผลงานวิทยานิพนธ์ของตนนั้นออกมามีคุณภาพ และจบการศึกษาตามเวลาที่กำหนด

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638
คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE:
@impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)