การทำ IS หรือ การทำสารนิพนธ์ส่วนใหญ่แล้วจะมีปัญหาในการที่จะเลือกหัวข้อเรื่อง IS เกี่ยวกับอะไรดี เพราะต้องมาตั้งต้นใหม่ในการที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการทำวิจัย ด้วยอุปสรรคต่างๆ และมีการใช้โปรแกรมที่เข้ามาช่วยในการวิจัยมากขึ้น
และตนเองก็ไม่ถนัดในการที่จะใช้โปรแกรมเหล่านี้ในการทำ IS หรือแค่การใช้ Word ธรรมดาทั่วไปก็อาจจะเป็นปัญหาสำหรับการทำ IS แต่ปัญหาสำคัญเหล่านี้ สิ่งแรกที่ผู้วิจัยมือใหม่ทุกท่านเจอเหมือนกัน คือ ควรทำงาน IS หัวข้อเรื่องอะไรดีถึงจะจบง่ายที่สุด
เสนอ 4 เทคนิคในการกระตุ้นความคิดในการเลือกหัวข้อ IS เกี่ยวกับอะไรดีนี้ มาเป็นข้อคิดให้ทุกท่านนำไปประยุกต์ใช้ในการทำ IS ของตนเองให้สามารถจบง่าย และเร็วที่สุด
1. ต้องเริ่มจากศึกษาปัญหาของการวิจัย
ปัญหาหลายครั้งที่ IS แต่ละเล่มเริ่มทำจะศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานี้ เช่น สถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา อยากจะรู้ว่าการป้องกันของประชาชนมีมากน้อยแค่ไหน หรือมีการรับรู้ข่าวสารของประชาชนมากน้อยแค่ไหนที่ส่งผลต่อการป้องกัน และให้ความร่วมมือกับมาตรการภาครัฐ
ซึ่งสามารถที่จะชี้ชัดได้เลยว่าเป็นปัญหาที่สังคมกำลังเผชิญอยู่ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นประเด็นปัญหาของการทำวิจัยที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดในการที่จะตั้งเป็นหัวข้อ IS ได้
เนื่องจากว่าการทำ IS แต่ละครั้งนั้น จำเป็นจะต้องนึกถึงว่าท่านเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด และแน่นอนว่าวิกฤตไวรัสโคโรนานั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนได้รับผลกระทบเท่าเทียม และเสมอภาคเหมือนกันหมด เนื่องจากว่าวิกฤตดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่เป็นปัญหาของสังคมในภาพรวมขนาดใหญ่
การที่จะหากลุ่มตัวอย่างที่จะเข้ามาใช้ในการศึกษาวิจัยจึงจะไม่เป็นปัญหาในการทำ IS หัวข้อดังกล่าว และแจกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปได้
การตั้งหัวข้อดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถหาเนื้อหามาสนับสนุนการทำ IS ได้ค่อนข้างง่าย อีกทั้งมีงานวิจัยหรือมีงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้อย่างเพียงพอ และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่กล่าวไปทั้งหมดนี้เป็นสิ่งแรกที่ควรพิจารณาในการที่จะเลือกหัวข้อ IS จากปัญหาของการทำวิจัย
เนื่องจากว่าปัญหาของการทำวิจัยเป็นสิ่งที่แต่ละท่านต้องนึกถึงว่าเมื่อได้ผลลัพธ์ของการทำ IS เล่มดังกล่าวแล้ว ซึ่ง IS แต่ละหัวข้อนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นจะต้องคิดถึงผลลัพธ์ต่อการนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการแก้ไขปัญหา
การทำ IS แต่ละเรื่องเมื่อคิดถึงปัญหาของการทำวิจัยแล้ว สิ่งสำคัญรองลงมาคือจำเป็นจะต้องคิดถึงว่างานวิจัยที่เราจะทำ IS นี้มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรองรับอย่างเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 5 ปีหรือไม่ต่ำกว่า 10 ปี และเป็นข้อมูลที่ทันสมัย น่าเชื่อถือว่ามีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวข้องสอดคล้องกับหัวข้อ IS ที่เราจะทำหรือไม่
หากสามารถค้นคว้าสืบค้นข้อมูลได้ก่อนเบื้องต้น ก่อนที่จะตั้งเป็นหัวข้อ IS ก็จะทำให้ท่านมีข้อได้เปรียบว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ท่านจะนำมาใช้ในบทที่ 2 นั้นมีอย่างเพียงพอ และแน่นอนว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพียงพออย่างแน่นอน
ซึ่งจะทำให้ท่านไม่เกิดข้อผิดพลาดในภายหลังว่าหลังจากตั้งหัวข้อ IS ไปแล้วจะไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรองรับ
ซึ่งหากท่านสามารถสืบค้นได้ก่อนเบื้องต้นก่อนที่จะเสนอหัวข้อ IS หากท่านสืบค้นข้อมูลก่อนว่ามีข้อมูลเพียงพอ จะเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการทำวิจัยได้เป็นอย่างดี และการันตีความสำเร็จแน่นอนว่าท่านจะไม่มีทางล้มเหลว
โดยเฉพาะการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือแน่นอนว่าการทำ IS ส่วนใหญ่แล้วนักวิจัยต้องการให้จบง่าย และส่วนใหญ่ก็จะเลือกใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่าง
การทำ IS จำเป็นที่จะต้องสืบค้นข้อมูล โดยการหาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจากท่านศึกษาสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้จำนวนเพียงพอแล้ว ในเล่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าว จะมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยของงานวิจัยเล่มดังกล่าวนั้น ท่านจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับงานวิจัยของท่าน
เนื่องจากการทำ IS ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือใหม่ทั้งหมด แต่สามารถที่จะประยุกต์ใช้เครื่องมือจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเล่มก่อนๆได้ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา IS ครั้งนี้ และจะเป็นสิ่งที่การันตีว่าท่านมีเครื่องมือที่จะใช้ในการแจกกับกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพียงพอแล้ว
หากท่านสามารถสืบค้นเล่มงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีเผยแพร่เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ก็จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยท่านประหยัดระยะเวลาในการทำวิจัยเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะนำเครื่องมือดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการทำ IS ของท่านได้
4. ต้องมีกลุ่มตัวอย่างชัดเจน
การทำ IS แต่ละครั้งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนึกถึงว่ากลุ่มตัวอย่างที่ท่านจะทำ IS นั้น มีจำนวนเท่าไร หรือมีจำนวนปริมาณเพียงพอกับการที่จะแจกแบบสอบถามหรือไม่
เนื่องจากว่าบริบทของหัวข้อการทำ IS แต่ละครั้งนั้นไม่เหมือนกัน บางครั้งเป็นหัวข้อองค์กรที่มีขนาดเล็ก หรือองค์กรที่มีขนาดปานกลาง แต่ใช้ปริมาณคนไม่มาก เช่น ความผูกพันธ์ขององค์กร หรือคุณภาพชีวิตในการทำงานของบริษัทแห่งใดแห่งหนึ่ง
ซึ่งแน่นอนว่าประชากรขององค์กรดังกล่าวนี้แน่นอนว่าไม่มีขนาดเยอะมากนัก แต่เมื่อนำมาคำนวณด้วยตามสูตรแล้วจะใช้จำนวนสมมุติว่า 100 คนจะใช้จำนวนแค่ไม่กี่ 10 คน เพื่อให้ได้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการทำ IS เท่านั้น
สิ่งที่ควรคิดก่อนทำ IS ทุกครั้ง คือ กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือว่า หากท่านไปสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้แล้วจะได้รับความร่วมมือในการที่จะตอบคำถาม เนื่องจากหลายครั้งที่นักวิจัยมือใหม่คิดว่ามีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มประชากรอย่างแน่นอนแล้ว แต่เมื่อไปขออนุญาตในการที่จะแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เราตั้งใจไว้ แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับอนุญาต
เนื่องจากว่าข้อมูลที่จะศึกษา IS แต่ละครั้งนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ภาวะผู้นำ หรือรูปแบบของการบริหารงาน ซึ่งบางครั้งองค์กรแต่ละแห่งนั้น มีการปกปิดข้อมูลหรือไม่ต้องการให้มีการทำวิจัย เพราะจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จึงปฏิเสธที่จะให้แจกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานขององค์กร ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลายท่านเกิดข้อผิดพลาดในการทำ IS มาจำนวนไม่น้อย เนื่องจากว่าบริษัทต่างๆเหล่านี้ต้องการที่จะปกปิดข้อมูล เพราะกลัวว่าภาพลักษณ์จะเสียหาย
สิ่งสำคัญที่อยากจะแนะนำให้แก้ไขปัญหาและป้องกันไว้ก่อน คือ การที่ติดต่อขอความร่วมมือไว้ก่อนที่จะทำหัวข้อ IS เนื่องจากว่าเมื่อท่านกำหนดหัวข้อ IS หรือสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วก็ตาม