ในขั้นตอนการทำวิจัยส่วนใหญ่แล้วถ้ามีประสบการณ์ในดำเนินงานวิจัยมาแล้ว จะรู้ช่องทางลัดที่จะทำให้การทำวิจัยนั้นสำเร็จได้เร็วขึ้น อีกทั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เนื่องจากว่ามีประสบการณ์ในการทำวิจัยมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว ดังนั้นการที่ท่านเป็นผู้วิจัยมือใหม่จะต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนที่มีความเชี่ยวชาญมาก่อนแล้ว
เพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในงานวิจัยมาก่อน จะช่วยลดระยะเวลาในขั้นตอนการศึกษางานวิจัย และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สำเร็จมากขึ้นได้
3 เทคนิคที่จะนำเสนอ เป็นเทคนิคที่ผู้วิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ ใช้ในการที่จะกำหนด หรือใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานวิจัยได้เต็ม 100%
1. กำหนดตัวแปร หรือขอบเขตที่ใช้ในงานวิจัยก่อน
การกำหนดตัวแปรที่ใช้ในงานวิจัยไม่ว่าจะเป็น วิจัยเชิงปริมาณ หรือ วิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนใหญ่แล้วท่านจะต้องมีการศึกษาจากตัวอย่างแนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดการวิจัยใช้ในการกำหนดตัวแปรในงานวิจัยได้ และมีสอดคล้องกับส่วนอื่นๆ ทำให้รู้ขอบเขตตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยอย่างชัดเจน ทำให้สามารถทำการศึกษางานวิจัยได้ง่ายขึ้น และลดขั้นตอนในการทำงานลงตามอันดับ
เพื่อที่จะทดสอบสมมุติฐาน หรือตอบวัตถุประสงค์การวิจัยได้ โดยเฉพาะรูปแบบของการวิจัยเชิงปริมาณจะมีสัดส่วนของผู้นิยมในการศึกษาวิจัยได้มากกว่าส่วนของงานวิจัยเชิงคุณภาพ
เนื่องจาก งานวิจัยเชิงปริมาณส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นในการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ที่ง่ายต่อการศึกษา และการวิเคราะห์สถิติเป็นอย่างมาก
ในปัจจุบันนี้นักวิจัยมือใหม่แต่ละท่านสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่แจกฟรีได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยที่เป็นรูปแบบของเชิงปริมาณ และมีการกำหนดขอบเขตตัวแปรที่ชัดเจนจึงอาจจะทำได้ง่ายกว่าเชิงคุณภาพ
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นสัดส่วนที่ต่อยอดมาจากการกำหนดขอบเขตตัวแปร การที่ท่านทราบขอบเขตตัวแปรอย่างชัดเจนจะทำให้ท่านสามารถกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้ว่าจะเป็นรูปแบบของงานวิจัยเชิงปริมาณ หรือวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อที่จะนำตัวแปรดังกล่าวนี้มาเขียนต่อยอดเป็นเครื่องมือ
เช่น แบบสอบถามโดยต่อยอดแต่ละด้านมาจากข้อคำถามที่กำหนดไว้ในขอบเขตด้านตัวแปร หรือขอบเขตของกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาวิจัย
แต่หากว่าเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ท่านก็สามารถที่จะนำตัวแปรดังกล่าวนี้มากำหนดเป็นข้อคำถามที่ใช้ในการสร้างแบบสอบถามได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าท่านจะต้องทราบขอบเขตอย่างชัดเจนของตัวแปรจึงก็จะทำให้ท่านสามารถตั้งข้อคำถามทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพได้อย่างชัดเจน และตรงประเด็นกับขอบเขตของแต่ละตัวแปรที่กำหนดไว้
3. ย้อนกลับไปเขียนเนื้อหาบทอื่นๆให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
หากท่านทราบเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้อย่างชัดเจนแล้ว ท่านจะสามารถย้อนไปเขียนในเนื้อหาบทที่ 1, 2, และ 3 เพื่อให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่ท่านใช้ในการวิจัยได้อย่างชัดเจนและตรงประเด็น
การที่ท่านจะสามารถเขียนเนื้อหาบทอื่นให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ย่อมเป็นเรื่องง่ายมากกว่าที่ท่านจะมากำหนดการทำเครื่องมือในการวิจัยภายหลัง
เทคนิคที่กล่าวไปทั้ง 3 วิธีข้างต้นนี้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และประหยัดเวลาด้านการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลไปได้เป็นอย่างมาก และท่านก็จะสามารถส่งงานได้ตรงตามกำหนดระยะเวลา
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)