หลายครั้งที่ผู้ทําวิจัยส่วนใหญ่รู้สึกว่า การทําวิจัยเป็นเรื่องยาก ทําให้ไม่สามารถทำงานวิจัย ให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
แต่ ปัญหาการทําวิจัย ที่ผู้วิจัยส่วนใหญ่ประสบนั้นในความเป็นจริงนั้น คือ ปัญหาที่เกี่ยวกับ “คน” ไม่ใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับเนื้อหา หรือในขั้นตอนการทำงานวิจัย
เนื่องจาก ปัญหาที่เกี่ยวกับคน เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก โดยเฉพาะปัญหาในการเจรจา ติดต่อกับ “อาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย” ซึ่ง ก็ต้องยอมรับว่า การติดต่อ หรือการประสานงานกับอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยมือใหม่หลายท่านนั้น ประสบกับปัญหาอยู่ และเป็นมุมมอง กับความความคิดเห็นที่ว่า :
“อาจารย์ที่ปรึกษาให้คําแนะนําไม่รู้เรื่องเลย”
“อาจารย์พูดเร็ว ฟังไม่ทัน พูดอะไรมาก็ไม่รู้…”
เป็นปัญหาหลักต่อการทำงานวิจัยที่ส่งผลกระทบในด้านการศึกษา “ตัวแปร” ที่เกี่ยวข้องของงานวิจัย หรือ แนวทางการทําวิจัยต่างๆ
เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้วิจัยมือใหม่ส่วนใหญ่ไม่สามารถทำงานวิจัยต่อได้กันเยอะมาก เพราะ
“ไม่รู้ว่าจะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือแหล่งอ้างอิงจากที่ใดได้บ้าง?”
“ไม่ได้รับคําแนะนําจากอาจารย์ที่ปรึกษา ว่าต้องหาจากที่ใด ไม่มีแยวทางในการค้นคว้า”
“หาข้อมูลมาแล้ว แต่ว่าไม่ตรงกับความต้องการ หรือ ไม่ตรงกับสิ่งที่อาจารย์เขาแนะนํามา …”
เหตุผล เพราะในการติดต่อหรือการส่งงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยเพื่อรับฟังคำแนะนำแต่ละครั้งนั้น เป็นการให้คําแนะนําแบบปากเปล่า ส่วนใหญ่จะไม่ใช้การเขียนแนะนํา
หากลองปรับวิธี เป็นการเขียนแนะนําแนวทาง หรือการเพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูลงานวิจัย ในจุดต่างๆ ได้ จะทำให้ผู้วิจัยสามารถแก้ไข เพิ่มเติมเนื้อหางานวิจัยได้อย่างถูกต้อง และง่ายดายกว่า การฟังคําแนะนํา หรือบันทึกคลิปเสียงเพียงอย่างเดียว
เพราะ การทํางานวิจัยมีลักษณะกระบวนการทำงาน หรือขั้นตอนที่ค่อนข้างตายตัว ถ้าหากทำการศึกษา สืบค้นข้อมูลงานวิจัยมาเป็นอย่างดีแล้ว การทำงานวิจัยนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก
ฉะนั้น เพียงแค่ลองปรับเปลี่ยนมุมมอง และทัศนคติในการทำงานวิจัย ปัญหาการทําวิจัยที่เกิดจาก “คน” ซึ่งก็คือ “การสื่อสาร” ที่เป็นข้อผิดพลาดระหว่าง “ผู้วิจัย กับ อาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย” ที่ทำให้มุมมอง และทัศนคติในการทำงานวิจัยไม่ตรงกันจะเปลี่ยนไป แล้วการทำงานวิจัยก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป…
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)