การตั้งหัวข้อวิจัย คือ ตั้งจากประเด็นปัญหาที่ต้องการทำการศึกษา แต่มีผู้เรียนหรือผู้วิจัยหลายท่านที่กำลังสับสนว่า
– ปัญหาการวิจัยคือะไร?
– ที่มาของปัญหาสำหรับงานวิจัยมาจากไหน?
– อยากตั้งหัวข้อวิจัยให้ดี ควรตั้งอย่างไร?
ทีนี้เราจะช่วยคลายข้อสงสัยพร้อมเสนอแนะ และคำแนะนำในการเลือกการตั้งหัวข้อวิจัยให้เหมาะสมกับตัวท่านเอง
“ปัญหาการวิจัยคือะไร?”
“ปัญหาการวิจัย” คือ ประเด็นที่ผู้เรียนหรือผู้วิจัยสงสัยและต้องการดำเนินการแก้ไข เพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องให้ตรงกับความเป็นจริงต่อสถานการณ์ที่จะทำการศึกษา ทั้งที่เป็นความขัดแย้งและไม่เป็นความขัดแย้งของสถานการณ์นั้นๆ สามารถคาดหวังถึงผลลัพธ์ของสถานการณ์ที่ควรจะเป็นได้จริง
สิ่งแรกที่ทำให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยสับสนตั้งแต่เริ่มทำงานวิจัย เป็นคำถามประโยคสั้นๆ คือ
“จะตั้งหัวข้อวิจัยอะไรดี…?”
เรามี 3 คำตอบที่จะช่วยเลือกที่มาของปัญหาในการตั้งหัวข้อวิจัย ให้ท่านตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
1. การตั้งหัวข้อวิจัยจากความสนใจ ประสบการณ์ส่วนตัว ภูมิหลัง หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานในองค์กร หรือสภาพแวดล้อมที่ท่านอยู่
2. ตั้งประเด็นปัญหาหัวข้องานวิจัยจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพราะการศึกษาทบทวนและวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ทราบถึงช่องว่างหรือโอกาสที่จะสามารถต่อยอดทางความคิดได้ โดยเฉพาะเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจที่จะศึกษาอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งยังนำแนวทางที่ได้จากการศึกษางานวิจัยเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้หรือต่อยอดแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัยได้โดยง่าย
3. สถาบันหรือแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัย สถาบันหรือแหล่งทุนเหล่านี้จะช่วยให้ท่านสามารถกำหนดที่มาของการตั้งหัวข้องานวิจัยได้ง่ายขึ้น เพราะสถาบันหรือแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยได้จัดตั้งโจทย์สำหรับการศึกษาไว้ก่อนแล้ว
อาจจะมีลักษณะในการกำหนดหัวข้อวิจัยแบบกว้างๆ หรือเป็นหัวข้อตัวอย่าง เพื่อให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยที่กำลังสนใจรวมถึงมีความต้องการแหล่งทุนที่ใช้สนับสนุนการวิจัยได้ทำการศึกษา และสามารถอาจดัดแปลงหัวข้อที่ได้ทำการกำหนดไว้ให้เข้ากับสภาพของสังคมในปัจจุบัน
ซึ่งผู้เรียนหรือผู้วิจัยสามารถเข้ารับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันหรือแหล่งทุนต่างๆ ได้ภายใต้เงื่อนไขที่ทางสถาบันหรือแหล่งทุนกำหนด
“ปัญหาสำหรับการตั้งหัวข้อวิจัยที่ดี”
การตั้งหัวข้อวิจัยที่ดี ควรทำการกำหนดลักษณะของปัญหา ดังต่อไปนี้
1. หัวข้อวิจัยที่มีคุณค่าต่อสังคม มีความสำคัญปัญหาของการทำวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ใหม่ และเสริมทฤษฎี อีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงาน สามารถนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้จริง รวมถึงการประยุกต์ให้ใช้สามารถใช้กับการแก้ไขปัญหาอื่นๆ ได้
2. ตั้งหัวข้อจากประเด็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ โดยกระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการศึกษาการวิจัยได้
3. จะต้องเป็นปัญหาที่สามารถหาข้อมูลมาตรวจสอบสมมติฐานได้จริง เพื่อหาข้อสรุปในการศึกษาวิจัยนั้นๆ ได้
4. สามารถกำหนดคำนิยามจากปัญหาการวิจัย ที่ทำการศึกษาได้
5. เป็นปัญหาที่สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และเห็นแนวโน้มที่จะทำได้สำเร็จ
6. ปัญหาที่จะทำการศึกษาจะต้องไม่เกินความสามารถของผู้วิจัย ในการทำงานวิจัยให้สำเร็จ ถึงแม้จะมีอุปสรรคบางอย่างแต่ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาไปได้อย่างราบรื่น
7. มีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมที่มีคุณภาพเพื่อการวิเคราะห์ผลข้อมูล ให้สอดคล้องกับวัตุประสงค์ของงานวิจัยที่ตั้งได้จริงๆ แล้ว
ปัญหาในการตั้งหัวข้อวิจัยนั้น ไม่ได้ยากหรือซับซ้อนอย่างที่หลายๆ ท่านคิด เพียงแค่เริ่มทำความเข้าใจ และเริ่มมองจากเรื่องใกล้ตัวเรา หรือสิ่งที่เราสนใจอยู่แล้ว เพื่อหาทางแก้ไขในรูปแบบกระบวนการวิจัย และเป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้จริง
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)