อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหา_อาจารย์ที่ปรึกวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_การทำ Thesis (ธีสิส) _การทำธีสิส_การทำทีสิส_การสืบค้นข้อมูลงานวิจัย_งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การตั้งหัวข้อวิจัย_เทคนิคตั้งหัวข้อวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย

เทคนิค 3 ข้อ ในการตั้งหัวข้อวิจัยให้ถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษา

ในการตั้งหัวข้อวิจัยก็ต้องมีเทคนิคเพื่อให้หัวข้อวิจัยดึงดูดความสนใจและถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษาเช่นกัน 

ในบทความนี้จะแนะนำ 3 เทคนิคในการตั้งหัวข้อวิจัยที่จะช่วยให้หัวข้องานวิจัยให้น่าดึงดูด และถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้วิจัยมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงานวิจัย

1. ถามอาจารย์ที่ปรึกษาว่าควรใช้การวิจัยรูปแบบใด

การถามกับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าควรใช้การวิจัยรูปแบบใด ก็ถือว่าเป็นหนึ่งแนวทางการเปิดหัวข้อการพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อที่จะฟังความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อที่จะนำรูปแบบวิธีการวิจัยดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการตั้งข้อการวิจัยของท่าน 

อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหา_อาจารย์ที่ปรึกวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_การทำ Thesis (ธีสิส) _การทำธีสิส_การทำทีสิส_การสืบค้นข้อมูลงานวิจัย_งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การตั้งหัวข้อวิจัย_เทคนิคตั้งหัวข้อวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย

เนื่องจากว่าสิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากหัวข้อของการวิจัยแล้ว การทราบถึงประเภทหรือรูปแบบงานวิจัยก็ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะความถนัดในงานวิจัยเชิงปริมาณหรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยแต่ละท่านมีความถนัดไม่เหมือนกัน การเปิดหัวข้อสนทนาโดยให้อาจารย์ที่ปรึกษาแสดงความคิดเห็นหรือคำแนะนำรูปแบบของการวิจัยนั้นถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยกำหนดหัวข้อวิจัยทางอ้อมว่าควรเป็นไปในรูปแบบใด

2. ปัญหาการวิจัยที่ควรจะพัฒนาต่อยอดจากรุ่นพี่มีบ้างหรือไม่

การพูดคุยเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาแนะนำหัวข้อวิจัยให้ท่านนั้นสามารถพูดคุยไปในเชิงว่ารุ่นพี่ที่เพิ่งสอบเล่มวิจัยผ่านไปนั้นเขาสอบผ่านด้วยหัวข้อวิจัยรูปแบบใด ใช้การวิจัยประเภทใด เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดมาจากเล่มรุ่นพี่ดังกล่าวได้ ท่านสามารถอาศัยข้อมูลดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการดัดแปลงหัวข้อวิจัยจากรุ่นพี่ เพื่อนำมาใช้เป็นการศึกษาวิจัยของตนเองได้ 

อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหา_อาจารย์ที่ปรึกวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_การทำ Thesis (ธีสิส) _การทำธีสิส_การทำทีสิส_การสืบค้นข้อมูลงานวิจัย_งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การตั้งหัวข้อวิจัย_เทคนิคตั้งหัวข้อวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย

ในการที่จะดัดแปลงหัวข้อวิจัยของรุ่นพี่นั้นท่านต้องทราบก่อนว่าเขาศึกษาเกี่ยวกับประเด็นใด อย่างไร ตัวแปรใด หรือมีปัญหาอย่างไร เพื่อที่จะนำมาพัฒนาต่อยอดในการประยุกต์ใช้เป็นหัวข้อการวิจัยของท่าน โดยข้อมูลดังกล่าวนี้ควรมาจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะว่าหัวข้อที่รุ่นพี่ทำนั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษารับรู้ และเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาโดยตรงในงานวิจัยของรุ่นพี่ดังกล่าว

 3. ปัจจุบันควรจะนำประเด็นใดมาพัฒนาแก้ไขดี

การถามกับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าควรจะนำประเด็นใดมาพัฒนาแก้ไขดี เป็นเหมือนการสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาว่า ความคิดเห็นในปัจจุบันของอาจารย์ที่ปรึกษานั้นมีความสนใจในประเด็นใดอยู่ 

อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญหา_อาจารย์ที่ปรึกวิจัย_ปัญหางานวิจัย_ข้อผิดพลาดในการทำวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา_บริการรับทำวิจัย.com_การทำ Thesis (ธีสิส) _การทำธีสิส_การทำทีสิส_การสืบค้นข้อมูลงานวิจัย_งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การตั้งหัวข้อวิจัย_เทคนิคตั้งหัวข้อวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย

เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละท่านนั้นต้องสร้างผลงานวิชาการปีละหลายชิ้นงาน ดังนั้นหากทราบข้อมูลในประเด็นที่อาจารย์ที่ปรึกษากำลังสนใจติดตามศึกษาอยู่ ท่านก็สามารถนำประเด็นดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในการตั้งหัวข้องานวิจัยของท่านให้ถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษาได้เช่นกัน

การตั้งหัวข้อวิจัยนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างฝ่ายผู้วิจัยกับฝ่ายอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเฉพาะฝ่ายอาจารย์ที่ปรึกษานั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่จะพัฒนาหัวข้อวิจัยใดนั้นอยู่ในดุลยพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะให้คำแนะนำได้อย่างชัดเจน มีประสบการณ์ และมีความสอดคล้องกับความสามารถหรือความถนัดของผู้วิจัย 

หากท่านสามารถนำเทคนิคดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในการตั้งหัวข้อวิจัยให้ถูกใจอาจารย์ที่ปรึกษาได้ ก็จะทำให้ท่านสามารถทำงานวิจัยนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยง่าย

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *