หลายครั้งที่นักศึกษาหรือผู้วิจัยที่มีเพื่อนที่ร่วมเรียนในสาขาด้วยกัน และส่วนใหญ่แล้วก็มักจะทำหัวข้อวิจัยที่คล้ายคลึงกัน หรือมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัยท่านเดียวกัน ปัญหาที่มักจะพบตามมา คือ แต่ละท่านนั้นไม่ได้เก่งการทำงานวิจัยเท่ากัน
ดังนั้นสิ่งที่ท่านจะได้พบเจอคือ เพื่อนแก้น้อยกว่า หรือแก้เยอะกว่า หรือตนเองรู้สึกว่าเพื่อนจบง่ายกว่า ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้โดยเทคนิคที่จะทำให้ท่านจบได้พร้อมเพื่อนดังต่อไปนี้
1. ทำการศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีตัวแปรชัดเจนแล้ว
การที่ท่านสามารถศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีตัวแปรชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยในเชิงปริมาณที่ท่านสามารถประยุกต์ใช้ตัวแปรจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ที่มีการสอบรูปเล่มจบและตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้ว ก็จะทำให้ท่านทราบเนื้อหาขอบเขตงานที่เกี่ยวกับตัวแปรดังกล่าว และจะทำให้ท่านไม่จำเป็นต้องไปสืบค้นข้อมูลใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ต้นอย่างไม่มีทิศทาง
2. หางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีการสร้างแบบสอบถามเอาไว้แล้ว
ท่านสามารถหางานวิจัยเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องและมีการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเอาไว้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย และผ่านการหาคุณภาพที่ใช้ในการวิจัยเรียบร้อยแล้ว จะทำให้ท่านสามารถหยิบยกข้อมูลดังกล่าว หรือแบบสอบถามดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ได้
โดยที่ท่านอาจจะเปลี่ยนแค่บริบทบางอย่าง เช่น สถานที่หรือองค์กร เพื่อที่จะประยุกต์ใช้แบบสอบถามไม่ให้ซ้ำกับการวิจัยที่เกี่ยวข้องเล่มดังกล่าวได้โดยทันที
การนำแบบสอบถามจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีการหาคุณภาพ IOC หรือผ่านการทดลองใช้มาแล้วเป็นสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ถูกต้องตามหลักจริยธรรมทางวิชาการ เพราะการที่ท่านนำแบบสอบถามจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ หรือนำมาบูรณาการ แล้วมีการให้เครดิตเจ้าของที่พัฒนาแบบสอบถามดังกล่าวขึ้นมานั้นเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้ ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถประหยัดระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยหรือแบบสอบถามของท่านได้
3. การวางแผนการทำงานร่วมกันกับเพื่อน
การวางแผนการทำงานร่วมกันกับเพื่อนจะช่วยในการทำงานวิจัยให้สำเร็จพร้อมกันได้ เนื่องจากหลายครั้งด้วยการเป็นเพื่อนกันจึงมักจะตั้งหัวข้องานวิจัยที่ใกล้เคียงและมีตัวแปรที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน
หากท่านสามารถตั้งตัวแปรที่เกี่ยวข้องคล้ายคลึงกันได้ ท่านก็จะสามารถประหยัดระยะเวลาในการสืบค้นข้อมูล และสามารถที่จะแบ่งงานในหัวข้อที่เกี่ยวกับตัวแปรดังกล่าวที่คล้ายคลึงกันนี้ได้ โดยแต่ละคนนั้นศึกษาในส่วนที่เนื้อหาที่แตกต่างกันแต่อยู่ภายใต้ขอบเขตหัวข้อตัวแปรเดียวกัน ก็จะทำให้การทำงานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วงได้เร็วขึ้น
และเมื่อท่านนำส่งเนื้อหาดังกล่าวให้อาจารย์ที่ปรึกษาท่านเดียวกันตรวจสอบได้แล้ว ก็จะได้รับคำแนะนำในการแก้ไขที่คล้ายคลึงกัน จึงเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการแก้ไขเท่าๆ กัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบกว่าใคร
หากท่านอยากจะจบพร้อมเพื่อนแล้ว สิ่งที่ท่านควรนำไปใช้คือ การวางแผนทำงานร่วมกันกับเพื่อนโดยใช้ขอบเขตตัวแปรหรือหัวข้อที่ใกล้เคียงกัน แต่เปลี่ยนบริบทด้านพื้นที่ หรือองค์กร หรือผลิตภัณฑ์ เพียงเท่านี้ก็อาจจะทำให้ท่านสำเร็จในการทำงานวิจัยของท่านได้อย่างรวดเร็ว และจบไปพร้อมกับเพื่อนได้
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)