บทความนี้เราจะพาคุณมาพัฒนา 5 ทักษะพื้นฐานเพื่อช่วยให้การทำงานวิจัยของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญ ทักษะเหล่านี้ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานอื่นๆ ของคุณได้เป็นอย่างดี
1. การอ่านช่วยสร้างสมาธิด้วย
การอ่านนอกจากจะทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว จะช่วยพัฒนาสมาธิได้ดี ทำให้สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งต่างๆ ตรงหน้าได้นาน สิ่งที่เป็นที่ตามมาจะทำให้เป็นคนช่างสังเกต ใส่ใจรายละเอียด และสามารถจับประเด็นจากเรื่องที่อ่านได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถเชื่อมโยงประเด็นและเกาะติดกับประเด็นนั้นได้
“เพราะในการทำงานวิจัย คุณจะต้องใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อให้งานวิจัยที่ศึกษาออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด”
*ทริคง่ายๆ ที่จะทำให้คุณอ่านและจับประเด็นได้ง่าย คือ เขียนสรุปประเด็นที่อ่านใส่โน้ตย่อไว้ จะเป็นการเตือนความจำ เมื่อคุณต้องการที่จะใช้ความรู้ที่ได้จากประเด็นเหล่านั้นได้ง่าย
2. รับฟังเพื่อกลั่นกรองข้อมูล
นอกจากการอ่านแล้ว การฟังเป็นทักษะที่ควรพัฒนา เพราะการฟังจะทำให้คุณได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการสนทนาและการฟัง ทักษะการฟังที่ดี คือ ไม่ด่วนตัดสินตีความไปก่อนจนหว่าจะฟังจบ ไม่เอาความคิดเห็นตนเป็นที่ตั้งว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด คุณควรจะรับฟังเพื่อข้อมูลก่อนและค่อยๆ คิดวิเคราะห์ตาม
จะทำให้คุณสามารถรับรู้ถึงอารมณ์ได้ดี “เพราะในการทำงานวิจัยคุณไม่ได้แค่ค้นคว้าแค่ในตำราหรือเอกสารอย่างเดียว แต่คุณจะต้องออกไปทำการเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถาม ทำการสัมภาษณ์กับกลุ่มประชากร หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ในการนำมาทำการทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย”
ซึ่งจะการฟังจะเป็นผลดีต่อการเขียน ทำให้เข้าใจถึงความต้องการ ความรู้สึกที่กลุ่มตัวอย่าง หรือผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ต้องการสื่อสาร เพื่อนำวิเคราะห์ ร้อยเรียงเพิ่มเติมในงาน สามารถถ่ายทอดอารมณ์ในการเขียนได้ดี
3. คิดต่าง มองต่าง
“การพัฒนาทักษะในการคิด โดยการตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ จะทำให้คุณมองเห็นมุมมองในด้านต่างๆ ผลักดันให้อยากรู้ อยากทดลอง จนเกิดความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ตนเอง”
สำหรับการเขียนทุกประเภททักษะการคิด จะช่วยให้งานของคุณถ่ายทอดผลงานที่มีความแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร เพราะการที่คุณมีความคิดที่เป็นระบบ มีจินตนาการ และคิดนอกกรอบ สำหรับการทำงานวิจัยจะช่วยทำให้คุณสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ล่วงหน้าได้ และมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น สามารถเขียนเรียบเรียงงาน ถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างเป็นระเบียบ และเป็นขั้นตอน
ดังนั้นคุณจะเป็นที่จะต้องพัฒนาทักษะการคิดอย่าสม่ำเสมอ “จงอย่าคิดว่า สิ่งที่คุณคิดว่ารู้ดีอยู่แล้ว มันเป็นสิ่งที่ตายตัว ถูกต้อง หรือเป็นจริงเสมอไป เพราะในความเป็นจริงทุกสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ฉะนั้นเราจึงไม่ควรยึดติดกับความคิดเดิมๆ ว่ามันถูกต้องแล้ว เพราะถ้ามันถูกต้องจริง คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมานั่งเสียเวลาศึกษางานวิจัยหาความรู้เพิ่มเติมหรอกจริงไหม”
4. พูดให้เป็น โดยการแบ่งปัน…
“การพูด คือ ตัวกลางในการสื่อสารได้ดีที่สุด ในการทำงานวิจัยหากคุณพูดเป็น คุณไม่เพียงจะได้ทั้งคำตอบที่อยากรู้ คุณยังสามารถถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย”
เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยว่าการพูด จะช่วยพัฒนาการเขียนได้อย่างไร เราอยากจะบอกว่าทักษะในการพูดเป็นหัวใจหลักที่จะทำให้เราเขียนเรียบเรียงถ่ายทอดงานได้เป็นอย่างดี
จากการที่เราได้อ่าน ได้รับฟังความรู้ หรือได้สนทนากับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ สมองเราจะจดจำเรื่องราวเหล่านั้นไว้ แต่การที่เราจะกลั่นความรู้นั้นออกมาได้ดี คือ เราต้องพูดหรือบรรยายมันออกมา เพื่อที่สมองจะได้ทำการวิเคราะห์ และประติดประต่อเรื่องราวความรู้เหล่านั้น
ยิ่งเมื่อเราสามารถถ่ายทอดออกมาได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เราพัฒนาความคิดได้มากขึ้น มองเห็นไอเดียใหม่ๆ หรือมุมมองที่แตกต่างออกไป อีกทั้งยังสามารถนำมาผสมผสานหรือประยุกต์ใช้กับการทำงาน การใช้ชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น
*ทริคง่ายๆ หากคุณไม่รู้ว่าจะถ่ายทอดข้อมูลอย่างไร เราแนะนำให้คุณพูดใส่เครื่องบันทึกเสียง หรือโปรแกรมที่การพิมพ์ด้วยการเสียง แล้วปรับภาษาพูดให้เป็นภาษาเขียน มันจะทำให้งานคุณสามารถสื่อสารออกมาได้ง่ายขึ้น และการทำงานก็จะสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น
5. ฝึกอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นวินัย
ในข้อสุดท้ายหากอยากพัฒนาทักษะการทำงานวิจัยให้ดี คุณจะต้องมีวินัย เพราะจาก 4 ทักษะข้างต้นที่กล่าวมาจะไม่เกิดผลเลยถ้าคุณขาดวินัยในการฝึกฝน ฉะนั้นคุณควรที่จะฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ทำซ้ำๆ ในเวลาเดิมๆ จึงกลายเป็นวินัยขึ้นมา
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)