สถิติ T-test เป็นสถิตที่ใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน และสัมพันธ์กัน ซึ่ง สถิติ T-test ที่ใช้ในงานวิจัยมี 3 แบบ แต่ละแบบใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. One sample T-test
ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่น้อยกว่า 30 คน ส่วนใหญ่ใช้ในงานวิจัย สายวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างเช่น ต้องการทราบสารประกอบที่อยู่ในทองคำน้ำหนัก 1 บาท จากการวัดทั้ง 10 ครั้ง พบว่า ผู้วิจัยสามารถวัดได้ดังนี้
จากตามทฤษฎีสารประกอบที่อยู่ในทองคำ เมื่อรวมกันแล้วทองคำ 1 บาท ต้องมีน้ำหนัก 15.2 กรัม ดังนั้น สถิติ One sample T- test จะสามารถตัดสินใจได้ว่าน้ำหนักของสารประกอบที่อยู่ในทองจะแตกต่างไปจาก 15.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ เป็นต้น
ดังนั้นสูตรของ One sample T- test จึงสามารถเขียนได้ดังนี้
2. T-test Independent
ใช้กับงานวิจัยเชิงปริมาณที่มีกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ใช้ในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้บริโภคที่มีเพศ ต่างกัน มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสุขภาพต่างกัน ซึ่ง
เพศชาย จะแทนค่าด้วย 1
เพศหญิง จะแทนค่าด้วย 2
หากทั้ง 2 เพศที่เป็นอิสระต่อกันจะมีตัดสินใจซื้ออาหารสุขภาพที่ต่างกันหรือไม่นั้น จะทราบได้ก็ต่อเมื่อผลค่า Sig. ที่วิเคราะห์ออกมาต่ำกว่า 0.05 ถือว่า มีการซื้ออาหารสุขภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจะสามารถรู้ได้อีกว่าเพศไหนมีการตัดสินใจซื้ออาหารสุขภาพมากกว่ากัน
ดังนั้น สูตรของ T-test Independent จึงสามารถเขียนได้ดังนี้
3. Paired Sample T-test
ใช้กับงานวิจัยเชิงทดลอง ส่วนใหญ่ใช้ในงานวิจัยของครู ที่ต้องทำการทดลองผลคะแนนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งก่อนเรียน และหลังเรียน ว่ามีผลคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เมื่อได้เรียนตามแผนการเรียนที่ครูพัฒนาขึ้น
ตัวอย่างเช่น ผลคะแนนที่นักเรียนได้ทั้งก่อนและหลังการเรียน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน นักเรียนสอบได้คะแนนดังนี้
จากผลคะแนนถ้าหลังเรียน นักเรียนมีการสอบแล้วได้คะแนนดีขึ้นแสดงว่า แผนการเรียนการสอนที่ครูพัฒนาขึ้นมา ทำได้นักเรียนได้รับความรู้ สนุก จนทำให้ตั้งใจเรียนมากขึ้น ส่งผลให้ผลการเรียนดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตินั่น
ดังนั้น สูตรของ Paired Sample T-test จึงสามารถเขียนได้ดังนี้
จะเห็นได้ว่าสถิติ T-test มีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้วิจัยควรจะเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานวิจัยของคุณถึงจะได้คำตอบที่ถูกต้อง และนำผลวิจัยไปต่อยอดในงานอื่นต่อไป
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)