การเขียน Research Proposal หรือ โครงร่างงานวิจัย อย่างไรให้ดูมีความเชี่ยวชาญ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของผู้เขียนงานวิจัยได้นั้น
เทคนิค 3 ขั้นตอนง่ายๆ ที่ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโครงร่างงานวิจัยของท่านได้ ดังนี้
1. ค้นหาตัวอย่างงานวิจัยที่มีผู้ทำวิจัยไว้แล้ว
ในการที่จะเขียน Proposal นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นงานวิจัยที่แปลกใหม่ที่สุดแต่อย่างใด เนื่องจากงานวิจัยที่ดีจำเป็นจะต้องมีตัวแปร หรือแนวคิดทฤษฎีที่สนับสนุนตัวแปรที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยได้
ดังนั้นหากท่านย้อนกลับกระบวนการคิดดังกล่าวก็หมายความว่า การที่ท่านไปสืบค้นงานวิจัยหรืองานวิทยานิพนธ์ที่มีคนเคยทำการศึกษาเอาไว้แล้ว และนำมาต่อยอดดัดแปลงเนื้อหาเป็นบริบทพื้นที่อื่น หรือกลุ่มตัวอย่างอื่น ก็จะทำให้ท่านได้รับแนวคิดในการเขียนโครงร่างจากการดัดแปลงหัวข้อที่เคยมีผู้ทำการศึกษาค้นคว้าเอาไว้ก่อนแล้วได้เช่นกัน
2. เขียนรายละเอียดคร่าวๆ ตามแบบฟอร์มที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ในแต่ละมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดแบบฟอร์ม Proposal ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ว่าจะต้องมีหัวข้อหรือองค์ประกอบใดบ้างในการเขียนโครงร่างอย่างไรบ้าง
ดังนั้นท่านควรจะศึกษาแบบฟอร์มมาก่อนว่ามีหัวข้อที่จะต้องเขียนแบบใด อย่างไรบ้าง แล้วจึงกำหนดข้อมูลเพียงคร่าวๆ ลงไปในหัวข้อที่ทางมหาวิทยาลัยได้กำหนดเอาไว้
และเมื่อท่านนำเสนอ Proposal ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย ท่านก็จะได้รับคำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไขโครงร่างงานวิจัยของท่านกลับมา ฉะนั้น การเขียนโครงร่างในเบื้องต้นนั้น จึงเป็นการเขียนนำเสนอแบบร่างความคิดเพียงคร่าวๆ เท่านั้น ยังไม่จำเป็นที่จะต้องลงรายละเอียดในโครงร่างงานวิจัยของท่านให้มากแต่ประการใด
3. นำส่งอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำในการเพิ่มเติมข้อมูล
หลังจากที่ท่านเขียนโครงร่างงานวิจัยที่ลงรายละเอียดไว้อย่างคร่าวๆ แล้ว การนำรายละเอียดโครงร่างดังกล่าว ไปเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษาก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ท่านได้รับคำแนะนำ เพื่อนำมาต่อยอด หรือปรับปรุงโครงร่างของท่านให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
หลังจากที่ท่านได้รับข้อเสนอแนะในการแก้ไขโครงร่างนั้นมาแล้วว่าจำเป็นที่จะต้องเขียนเนื้อหาประเภทใด อย่างไรบ้าง ท่านจึงค่อยขยายประเด็นดังกล่าวเหล่านั้น เพื่อให้งานวิจัยของท่านสมบูรณ์หรือชัดเจนมากขึ้นในภายหลัง
การที่จะเขียน Proposal ที่ดีได้นั้น จะต้องมีความชัดเจน และมีการนำเสนอพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาถึงแนวคิดในการจัดทำโครงร่างดังกล่าวอย่างชัดเจน
“ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือท่านจะต้องพูดคุย หรือตอบข้อซักถามจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้ได้ด้วยเช่นกัน”
เทคนิคในการเขียน Proposal 3 ข้อที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ เป็นเทคนิคที่ผู้มีประสบการณ์งานวิจัยส่วนใหญ่มักจะใช้ในการเขียนโครงร่างเพื่อไปนำเสนอกับอาจารย์ที่ปรึกษา หากท่านสามารถนำสาระส่วนใดส่วนหนึ่งไปประยุกต์ใช้ในการเขียนโครงร่างงานวิจัยของท่านได้ ก็จะทำให้งานวิจัยของท่านนั้นสำเร็จได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)