“บทคัดย่องานวิจัย คือ ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสาร หรือรายงานวิจัยแบบย่อ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อเรื่องในงานวิจัยนั้นๆ โดยเฉพาะสำหรับรายงานการวิจัย ต้องเขียนบทคัดย่อทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ”
หลายครั้งเมื่อการทำงานวิจัยดำเนินมาถึงบทสรุปเรียบร้อยแล้ว แต่ยังติดที่ว่ายังไม่สามารถเขียนสรุปเนื้อหา บทคัดย่องานวิจัย หรือ Abtract งานวิจัยให้กระชับ ชัดเจนได้อย่างไร
ซึ่งการเขียนบทคัดย่อผลงานวิจัยนั้นเป็นส่วนสำคัญที่เปรียบเสมือนภาพหน้าปกของเล่มงานวิจัยว่าเนื้อหาเล่มงานวิจัยดังกล่าวนี้ มีบทสรุปเนื้อหาอย่างไร หรือมีของเนื้อหาน่าสนใจน่าติดตามในการที่จะอ่านผลการวิจัยเนื้อหาแต่ละบทของผู้วิจัยหรือไม่
เคล็ดลับ 5 ขั้นตอนในการเขียนบทคัดย่องานวิจัย หรือ Abtract งานวิจัยที่ดี ให้ครอบคลุมและมีเนื้อหาที่ชัดเจนได้อย่างไร
“เขียนตามวัตถุประสงค์การวิจัย ที่ระบุไว้ในบทที่ 1 ให้ครบถ้วนและมีความชัดเจน”
ลำดับแรกในการเขียนบทคัดย่อผลงานวิจัยนั้น ควรเขียนเรียบเรียงตามวัตถุประสงค์การวิจัยที่ได้มีการระบุไว้ในบทที่ 1 ให้ครบถ้วนและชัดเจน
เช่น หากงานวัตถุประสงค์การวิจัยของท่านมี 4 ข้อ ที่ได้ทำการระบุไว้ ให้ทำการเขียนทั้งหมด 4 ข้อ โดยทำการเรียบเรียงให้มีความสอดคล้องกัน ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่างานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์อย่างไรบ้าง
และถ้าหากว่าวัตถุประสงค์ข้อไหนสามารถที่จะเขียนรวบรวมเรียบเรียงให้เป็นข้อเดียวกันได้ ก็สามารถที่จะดำเนินการเรียบเรียงให้อยู่ในวรรคตอนเดียวกัน เพื่อให้มีเนื้อหาที่สั้นกระชับชัดเจนที่สุดได้ ซึ่งไม่ถือว่าผิดหลักการการทำวิจัยแต่อย่างใด
“ทำการเขียนจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ให้ชัดเจน”
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบุอย่างชัดเจนว่ากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งหมดเท่าไร และที่สำคัญ กลุ่มตัวอย่าง กับ กลุ่มประชากร เป็นข้อมูลคนละอย่างกัน
ดังนั้นจึงจะต้องแยกให้ชัดเจนว่ากลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งหมดเท่าไร เพื่อที่จะสามารถระบุได้อย่างชัดเจน
ซึ่งการเขียนระบุในบทคัดย่อเขียนอย่างไรก็ตาม การเขียนโดยระบุกลุ่มตัวอย่างไฟนอล คือตัวอย่าง 400 คน และให้ยึดตามจำนวนดังกล่าวนี้เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด
“เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ระบุอย่างชัดเจน”
สมมุติว่างานวิจัยของท่านนั้นเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ควรระบุอย่างชัดเจนว่าใช้อะไรบ้าง เช่น แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม หรือแบบบันทึกสนทนากลุ่มต่างๆ หรือถ้างานวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ก็จะมีเพียงอย่างเดียว เช่น แบบสำรวจหรือว่าแบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัย
“การระบุเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องแจกแจงรายละเอียด”
ไม่จำเป็นต้องแจกแจงรายละเอียดเขียนเพียงสั้นๆ และเข้าใจง่าย ว่าเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยอะไรบ้าง เพียงอย่างเดียวแค่นี้พอ
“สถิติที่ใช้ในการวิจัยที่แจกแจงอย่างครบถ้วน”
ผู้วิจัยหลายท่านที่ทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ อาจจะสับสนว่างานวิจัยเชิงคุณภาพมีสถิติที่ใช้ในการวิจัยด้วยหรือไม่ สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่แล้วจะให้ดำเนินการแจกแจงกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นรับความถี่ ร้อยละ หรือจำแนกด้วยค่าเฉลี่ย บางครั้งก็มีการใช้ Content Analysis (การวิเคราะห์เนื้อหา) เข้ามาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องแจกแจงว่าใช้สถิติใดบ้างในการที่จะแจกแจงข้อมูลหรือว่านำเสนอข้อมูลในบทที่ 4 และเขียนไว้ในบทที่ 3 จึงจำเป็นที่จะต้องเขียนอย่างชัดเจน และครอบคลุม
ส่วนงานวิจัยที่เป็นเชิงปริมาณแน่นอนว่าท่านต้องเขียนสถิติที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมดรวมถึงสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย
“ผลการวิจัยที่ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย”
ผลการวิจัยเป็นสิ่งที่ยากที่สุดที่จะเขียนให้อยู่ภายในหนึ่งย่อหน้า เพราะว่าผลการวิจัยอย่างบทที่ 4 หรือบทที่ 5 นั้นมีจำนวนรวมกันมากกว่า 20 หน้า เป็นเรื่องลำบากอย่างยิ่งที่จะเขียนให้อยู่ภายในหนึ่งย่อหน้าเดียว
เคล็ดลับ คือ การเขียนผลการวิจัยจำเป็นที่จะต้องเขียนให้ตอบกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ท่านจะจำเป็นที่จะต้องเขียนเรียบเรียงว่าผลการวิจัยดังกล่าวในภาพรวมแล้ว สิ่งใดที่เป็นประเด็นหลัก หรือคีย์พอยท์สำคัญของผลการวิจัยดังกล่าว ให้ท่านเขียนระบุเพียงสั้นๆ และชัดเจนเพียงบรรทัดถึงสองบรรทัดเท่านั้นครับ ไม่จำเป็นต้องแจกแจง เพียงแต่ว่าดึงคีย์พอยท์ที่เป็นข้อมูลสำคัญหลักมานำเสนอ
ดังนั้นแล้วการเขียน บทคัดย่องานวิจัย หรือ Abtract งานวิจัยนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนครบถ้วนตามองค์ประกอบที่กล่าวไปในเคล็ดลับทั้ง 5 ข้อ จะส่งผลให้การเขียนบทคัดย่อของท่านชัดเจน ได้สาระตามหลักวิชาการ และมีความน่าสนใจที่จะศึกษาเนื้อหาในงานวิจัยของท่านต่อไป
ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)