การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิด

ภาพจาก www.pixabay.com

ในปัจจุบันการที่จะเข้าถึงการศึกษาในระดับปริญญาโทไม่ใช่เรื่องยาก ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้ง่าย เมื่อคุณมีความพร้อมในด้านเวลา และมีทุนทรัพย์สำหรับการเรียนที่เพียงพอต่อการศึกษา คุณก็สามารถเลือกแผนการศึกษาได้ตามความสนใจทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ ซึ่งสถาบันการศึกษาทุกหลักสูตรจะมีการกำหนดให้ตัวผู้เรียนต้องสร้างผลงานทางวิชาการอย่างน้อยๆ 1 ชิ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปพัฒนาประเทศ และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่หลายๆ คนก็ต้องเสียน้ำตาให้กับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท อาจเป็นเพราะระยะเวลาที่จำกัดในการทำวิทยานิพนธ์ ติดภาระจากงานที่รับผิดชอบอยู่ หรือแม้กระทั่งปัญหาที่กวนใจหลายๆ คนไม่ว่าจะเป็นชื่อเรื่องวิจัยที่ไม่ชัดเจน การตั้งคำถามการวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัยที่ไม่ตรงประเด็น การทบทวนวรรณกรรมที่ปีเก่าเกินไป แบบสอบถามที่ยังไม่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย จนต้องรื้อเล่มวิทยานิพนธ์ทำใหม่ ทำให้เราเสียเวลาไปกับการทำวิทยานิพนธ์ จนไม่เสร็จทันเวลาที่กำหนดไว้ ผู้เขียนจึงมีเคล็ดลับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ที่ไม่ยากอย่างที่คิดมาสรุปให้อ่านดังนี้

ภาพจาก www.pixabay.com

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าวิทยานิพนธ์นั้นประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ส่วนนำของเรื่อง ส่วนของเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบท้ายเรื่อง ซึ่งแต่ละองค์ประกอบผู้เขียนจะสรุปและให้เคล็ดลับแทรกเข้าไปเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ นะคะ

ภาพจาก canva.com

1. ส่วนนำของเรื่อง (Preliminary Section) 

จะมีองค์ประกอบได้แก่ ปกนอก ใบรองปก และปกใน และมีส่วนที่สำคัญในส่วนนำ คือ บทคัดย่อจะเป็นส่วนที่สรุปของวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะกล่าวถึงสาเหตุของปัญหา วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการวิจัย ผลของการวิจัย และข้อเสนอแนะแบบย่อ จะทำการจัดพิมพ์ในรูปแบบภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ควรที่จะทำแบบแยกหน้ากัน ต่อมาจะตามด้วยสารบัญเนื้อหา สารบัญตาราง และสารบัญภาพ ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนท้ายสุดที่เราจะทำเมื่อส่วนของเนื้อความเสร็จแล้ว

บทที่ 1 บทนำ (Introduction) ควรเขียนให้เห็นถึงประเด็นที่สำคัญของเนื้อเรื่องว่าเรื่องที่คุณสนใจนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้ก่อเกิดปัญหาจนทำให้นำมาทำการวิจัยพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งส่วนประกอบของบทนำความที่จะมีเนื้อหาในการนำเสนอดังนี้

ที่มาและความสำคัญ เป็นการกล่าวถึงสาเหตุ หรือที่มาของการศึกษาค้นคว้าวิจัย บอกถึงปัญหาที่ต้องจะทำ 

คำถามของการวิจัย กำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบของคำถาม ซึ่งนำไปสู่การหาวิธีแก้ไขปัญหา กำหนดคำถามให้ชัดเจนไม่กำกวมเขียนจากสภาพความเป็นจริง และสื่อถึงปัญหาโดยตรง

วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะต้องมีความเป็นไปได้ มีการวัดประเมินระบุสิ่งที่ต้องกดำเนินการให้ชัดเจนมีความเป็นเหตุเป็นผล มีขอบเขตในเรื่องของเวลาที่แน่นอน

สมมุติฐานการวิจัย  บรรยายสรุปโดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่คุณจะทำการศึกษาพร้อมนำเสนอประเภทของงานออกแบบที่สามารถนำมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา ต้องมีความสอดคล้อง หรือเหมาะสมที่จะใช้ทฤษฏีเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหาอย่างไร

ขอบเขตของการวิจัย ให้พิจารณาจากปัญหา และวัตถุประสงค์ที่ทำการศึกษาเรื่องนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องกำหนดจำนวนเรื่องที่จะทำเป็นสิ่งอ้างอิงหรือยืนยันได้ว่าผลของการศึกษาเรื่องนั้นมีความน่าเชื่อถือ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การเขียนในเรื่องนี้ให้พิจารณาจากการเขียนวัตถุประสงค์เป็นข้อๆ หรือเขียนพรรณนาไม่ต้องแบ่งเป็นข้อก็ได้

นิยามศัพท์เฉพาะ เป็นการกำหนดคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคยขึ้นมา ให้ความหมายเฉพาะเจาะจงกับประเด็นของงานที่ทำ และเกี่ยวข้องกับการทำวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัย ผลจากการสรุปการศึกษา และทดลองทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับปัญหา

บทที่ 2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Review of Literature) เป็นการที่ผู้เขียนสรุปผลการศึกษาของงานวิจัยที่คล้ายกับเรื่องที่จะศึกษามาสอดคล้องให้เห็นถึงปัญหา และวิธีพัฒนาในแต่ละแบบของงานวิจัย ซึ่งแต่ละงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะมีประเด็นการศึกษา และพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถหยิบยกเนื้อหาที่สอดคล้องกับงานวิจัยของเรามาวิเคราะห์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการที่จะเขียนบทที่ 2 นั้นมีอยู่ 3 ส่วนดังนี้

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะทำประวัติของเรื่องนั้นๆ ข้อมูลของประเด็นปัญหาที่เกี่ยวของกับระบบงานที่จะศึกษา

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง คือกลุ่มของความสัมพันธ์ของแนวคิดนิยาม และองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้อธิบายลักษณะของปรากฏการณ์หนึ่ง ทฤษฎีช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรต่างๆ โดยจะเจาะจงไปว่าตัวแปรใดสัมพันธ์กับตัวแปรใด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิจัยเป็นงานที่สำคัญของผู้วิจัยที่มีประสบการณ์จะทำเป็นสิ่งแรกเมื่อได้ปัญหาวิจัยมาผลจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบว่านักวิจัยท่านอื่นๆ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับปัญหาวิจัยของตนไว้อย่างไรบ้าง งานที่นักวิจัยท่านอื่นเคยทำมาก่อนนำมาอ้างอิงกับการศึกษาของตนเอง

บทที่ 3 วิธีการวิจัย (Research Methodology) เป็นการอธิบายวิธีขั้นตอนในการทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดว่าต้องใช้เครื่องมืออย่างไร รวมไปถึงการอธิบายถึงขั้นตอนการคำนวณต่างๆ  ในส่วนของบทที่ 3 จะเป็นขั้นตอน การกำหนดปัญหา วางแผนออกแบบ กำหนดกลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลสรุป และรายงาน ตีความหมาย แล้วจึงจะทำการเขียนรายงานการวิจัยถือว่าเป็นการเสร็จงานในขั้นตอนของบทที่ 3 อย่างสมบูรณ์

บทที่ 4 ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลการวิจัยให้ชัดเจนโดยอาจจะใช้ กราฟ ตาราง หรืออื่นๆ ที่เหมาะสม การเขียนบทที่ 4 ให้กำหนดหัวข้อตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ใบบทที่ 1 โดยจะต้องเสนอผลไปตามลำดับของวัตถุประสงค์ โดยการเขียนจะเป็นแบบบรรยายให้เข้าใจง่าย การเขียนข้อมูลในบทนี้จะเป็นการนำไปใช้สำหรับการสร้างสรรค์การออกแบบเพื่อเป็นการแก้ปัญหาตามโจทย์ของการวิจัย

บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ (Conclusions Discussion and Recommendations) ในส่วนนี้จะเป็นการสรุปเนื้อหาสาระที่ได้ศึกษามาทั้งหมดโดยจะต้องอ้างอิงถึงวัตถุประสงค์ อ้างอิงทฤษฏีที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ไปจนถึงเสนอแนะแนวทางเพื่อการศึกษาวิจัยในเรื่องเดียวกันนี้ต่อไป

3. ส่วนประกอบท้ายเรื่อง (Reference Section) ประกอบไปด้วย 3 ส่วน  ได้แก่ 

รายการอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงถึงชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่นำมาประกอบการในการเขียนวิทยานิพนธ์

ภาคผนวก (Appendix) เป็นส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อช่วยเสริมความเข้าใจในเนื้อหาสาระของเรื่องนั้นๆ อาจมีหรือไม่มีก็ได้ตามความเหมาะสม

ประวัติผู้เขียน (Biography) เป็นประวัติโดยย่อของผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์

ซึ่งเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทไม่ยากอย่างที่คิดหากคุณนำเคล็ดลับที่เราได้ให้ในบทความนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการทำวิทยานิพนธ์ของคุณ ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะสามารถทำให้งานวิทยานิพนธ์ของคุณมีความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับได้จนนำออกตีพิมพ์วารสารต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ไม่มากก็น้อย

ช่องทางติดต่อ
Tel: 0924766638 คุณอาจุ้ย
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท_การทำงานวิทยานิพนธ์_ดุษฎีนิพนธ์_การทำดุษฎีนิพนธ์_งานดุษฎีนิพนธ์_หัวข้อวิจัย_งานวิทยานิพนธ์_จ้างทําวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_หัวข้อวิจัย_ตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย_การเขียน Proposal งานวิจัย_การเขียนโครงร่างงานวิจัย_กำหนดปัญหางานวิจัย_การเลือกหัวข้องานวิจัย_บริการรับทำวิจัย_รับทำวิจัย_บริการรับทำวิจัย_การทำงานวิจัย_งานวิจัย_ข้อมูลงานวิจัย_จ้างทำวิจัย 5 บท_รับทำวิทยานิพนธ์_รับทำวิทยานิพนธ์ ราคา

การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ไม่ยากอย่างที่คุณคิด

“คุณกำลังเป็นกังวลกับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของคุณอยู่หรือเปล่า?”
“คุณจะเริ่มต้นในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของคุณได้อย่างไร?” 
“การทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโททำให้คุณรู้สึกยุ่งยากใจใช่ไหม?”

“คุณกำลังเดินมาถูกทางแล้ว!!!”

คุณสามารถหาคำตอบให้กับคำถามเหล่านี้ เพื่อที่จะช่วยให้คุณลดความกังวล และมองเห็นหลักการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่เรารับรองว่าคุณจะสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ ที่นี่

การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) เป็นเหมือนกับเครื่องพิสูจน์ หรือยืนยันว่าคุณมีคุณสมบัติ และมีความรู้ความสามารถเพียงพอในสาขาที่เรียน 

แน่นอนว่าการทำวิทยานิพนธ์  นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนปริญาโท หรือการศึกษาระดับมหาบัณฑิต สำหรับการจบการศึกษาด้วยเช่นกัน และถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย และมักสร้างความกังวลให้กับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทเป็นอย่างมาก

เพราะนั่นหมายถึงการที่ผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้จากที่เรียนมาทั้งหมด ในการค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่มีแบบแผนชัดเจน มีกระบวนการในการพิสูจน์ จากนั้นจะต้องมีการประมวลผลเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ รวมถึงจะต้องได้รับการรับรองจากงานวิจัยต่างๆ ออกมาในรูปแบบของเอกสาร

ซึ่งหากมองจากภาพรวมเราจะสามารถแบ่งวิธีการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ กระบวนการการทำวิทยานิพนธ์ และการตรวจสอบวิทยานิพนธ์

ฉะนั้น เราจะทำการอธิบายภาพรวมของขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโททั้ง 3 ส่วนให้คุณเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้

1. การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ (Thesis Title)

การเลือกหัวข้องวิทยานิพนธ์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท เพราะคุณจะต้องใช้เวลาอยู่กับหัวข้อที่คุณเลือกไปอีกนาน

และหัวข้อวิทยานิพนธ์จะสามารถบ่งบอก หรือวัดผลความรู้ทั้งหมดที่คุณได้รับจากการเรียนมาจนตลอดหลักสูตร หรืออาจจะใช้ไปต่อยอดการเรียนต่อ หรือการทำงานในสายงานที่คุณได้ศึกษามาได้

ซึ่งคุณควรมีการคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้การทำวิทยานิพนธ์ของคุณประสบความสำเร็จได้

1.1 สิ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องคำนึงถึงในการเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ สิ่งแรกคือ “ความสนใจ” ซึ่งคุณจะต้องมีความสนใจในหัวข้อ และหัวข้อที่คุณสนใจจะต้องมีความน่าสนใจและสอดคล้องกับนโยบายขอสถานศึกษา รวมถึงสาขาวิชาที่คุณเรียนด้วย

1.2  บทสรุปของวิทยานิพนธ์ จะต้องมีประโยชน์และสร้างสรรค์ต่อสังคม หรือสามารถเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นและองค์กรอื่นๆ ได้

1.3 หัวข้อวิทยานิพนธ์ของคุณจะต้องมีความเป็นไปได้ รวมถึงมีแนวทางเพื่อที่จะสามารถไปสู่ความสำเร็จ โดยการพิสูจน์ และการทดลองตามแบบแผนของกระบวนการในการทำวิทยานิพนธ์ได้

1.4 หัวข้อวิทยานิพนธ์ของคุณจะต้องมีแหล่งที่ชัดเจน คุณสามารถทำการค้นคว้า หรือมีงานวิจัยเพื่อใช้ในการอ้างอิงและสนับสนุนแนวคิดของคุณมากเพียงพอ

1.5 มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของคุณเป็นอย่างดี เพราะโดยส่วนใหญ่หากอาจารย์ที่ปรึกษาไม่มีความรู้ในหัวข้อที่คุณเลือกเป็นอย่างดีแล้ว อาจทำอาจารย์ที่ปรึกษาปฏิเสธหัวข้อวิทยานิพนธ์ของคุณได้

“หากคุณสามารถเลือกหัวข้อที่เหมาะสมได้แล้วเราจะไปต่อยังส่วนต่อไปกันเลย!…”

2. กระบวนการในการทำวิทยานิพนธ์

กระบวนการในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท หมายถึงกระบวนการที่เป็นแบบแผน หรือขั้นตอนในการทำงานวิจัย ที่คุณจะมีความเข้าใจในส่วนประกอบต่างๆ เป็นอย่างดี ซึ่งกระบวนการในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทแบ่งได้เป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ

2.1 การระบุปัญหาและความสำคัญของปัญหา หรือ บทนำ (Introduction) หมายถึงการระบุประเด็นของการศึกษา และวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ รวมถึงขอบเขตและคำจำกัดความต่างๆ ที่คุณใช้ในการศึกษาครั้งนี้

2.2 การค้นหางานวิจัย หรือ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Literature) หมายถึง การอ้างอิงและการทำสรุปที่มาของปัญหาจากงานวิจัย หรืองานเขียนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่คุณศึกษา

2.3 วิธีการวิจัย (Rerearch Methodology) หมายถึง การตั้งสมมุติฐาน รวมถึงการอธิบายรายละเอียดต่างๆ ของกระบวนการที่คุณจะใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณจะต้องมีระบุวิธีการที่คุณจะใช้ในการวัดผลอย่างชัดเจน

2.4 การทำสรุปผลการวิจัย และอภิปรายผล (Result and Discussion) หมายถึง การสรุปผลการวิจัยที่คุณได้มีการทดลอง วิเคราะห์ หรือทำการสำรวจ ออกมาในลักษณะของกราฟ รูปภาพ หรือแผนภูมิต่างๆ เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่คุณได้ตั้งไว้ รวมถึงคุณจะต้องมีการแสดงหลักฐาน หรืออ้างอิงทฤษฎี เพื่อในงานวิจัยของคุณน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

2.5 การทำสรุปหัวข้อ และข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recomendation) หมายถึง การสรุปสาระของวิทยานิพนธ์ของคุณ โดยต้องมีการอ้างอิงไปยังวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ รวมถึงข้อเสนอแนะในการศึกษาเพิ่มเติม หรือการต่อยอด ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกันนี้ด้วย

“และในส่วนสุดท้ายใขขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ก็คือ… การตรวจสอบวิทยานิพนธ์” 

3. การตรวจสอบวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนสุดท้ายนี้ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท นั่นก็คือการตรวจสอบความสุจริตของผลงานวิทยานิพนธ์ของคุณ 

เพื่อเป็นการยืนยันและรับรองว่าเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ของคุณไม่ได้มีการลอกเลียนแบบ หรือได้ทำการอ้างอิงอย่างถูกต้อง รวมถึงเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลงานของคุณด้วย

ซึ่งการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ในที่นี้ หมายถึง การตรวจสอบการโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) หรือ การตรวจสอบการคัดลอก คำซ้ำ หรือแม้แต่การแอบอ้างผลงานของผู้อื่นโดยไม่มีการเขียนอ้างอิง

คุณสามารถทำการตรวจสอบวิทยานิพนธ์ของคุณได้ด้วยการใช้เครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ ที่สามารถช่วยตรวจสอบเปรียบเทียบงานวิจัยของคุณจากทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ ผลงานที่กำลังถูกเผยแพร่ หรือเคยได้รับการเผยแพร่ทาง Internet รวมถึงเปรียบเทียบกับผลงานการศึกษาของผู้อื่น

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมีแนวทางในการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ แล้ว

ช่องทางติดต่อ รับทำวิจัย
Tel: 0924766638
อีเมล: ichalermlarp@gmail.com
LINE: @impressedu
(หยุดทุกวันอาทิตย์)

สแกนคิวอาร์โค้ด
เพื่อติดต่อรับทำวิจัย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *